R & D : ลองทำดู (๓)


(๔) "ลักษณะของกะทง(Item)มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของแบบสอบถาม"

ก็เป็นคำถามการวิจัย  ตัวแปรก็คือ  "ลักษณะของกะทง"  กับ "คุณสมบัติของแบบสอบถาม"  โดยที่       

          ลักษณะของกะทง   แปรค่าออกเป็น

                 (๑) คำถามยาว --  คำถามสั้น

                 (๒) คำถามชัดเจน -- คำถามคลุมเคลือ

                  (๓) ใช้คำที่เข้าใจง่าย -- ใช้คำที่เข้าไจยาก

                  (๓) จำนวนกะทงมาก -- จำนวนกะทงน้อย

                                ฯลฯ

          คุณสมบัติของแบบสอบถาม แปรค่าเป็น

                ค่าความเที่ยง -- ค่าความตรง

(๕) "ความสัมพันธ์ระหว่างกะทงกับคุณสมบัติของแบบสอบถาม"

ก็ถือว่าเป็นคำถาม หรือ ปัญหาการวิจัย  แม้ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าก็ตาม  เพราะว่า  ข้อความนั้น "มีนัย" เป็นปัญหาอยู่ในตัว  เนื่องจาก "ผู้วิจัยอยากรู้"  การอยากรู้แสดงว่าเขายัง "ไม่รู้"  ถ้ายังไม่รู้ก็แสดงว่า "เขามีปัญหากับสิ่งนั้น"

นี่คือ ขั้นตอนขั้นที่ ๑ ของกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์

ขั้นตอนขั้นที่ ๑ เท่านั้น นะครับ

หมายเลขบันทึก: 118209เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท