ด้วยจิตผูกพัน


สุภาษิตบอกว่า “รักวัวให้ผูก”

       ในการดูแลวัวที่เป็นสมาชิกในห้อง  ¾   ในช่วงระยะเวลานี้  ไม่ได้ทำการแบ่งหน้าที่กันที่ชัดเจน  แต่จะมีนักเรียนที่ว่างจากภารกิจที่มากล้นในแต่ละวัน  เช่น  นักกีฬาทุกประเภท  ที่ต้องฝึกซ้อมกันเป็นประจำ 


      แต่เจ้าวัวน้อย  2  ตัว  จะมีนักเรียนที่ผลัดเปลี่ยนกันไปทำหน้าที่  โดยอัตโนมัติ  คงเป็นเพราะความผูกพันที่เริ่มมีต่อกัน   โดยเริ่มตั้งแต่เช้า  เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียน  ใครมาถึงก่อนจะไปนำวัวมาผูกที่สนาม  (ก็สุภาษิตบอกว่า  “รักวัวให้ผูก” )  โดยผูกเฉพาะตัวขาว  ส่วนเจ้าแดง  หากินแบบบุฟเฟ่  แถมได้ความรัก ความเอ็นดูจากนักเรียน  ครูเป็นกอง   ก็แก (มัน) เล่นเข้าเยี่ยมครูถึงห้อง เข้านอกออกในได้ทุกห้อง


     ในช่วงพักกลางวัน  เมื่อนักเรียนกินข้างปลาอาหารอิ่มหนำสำราญ  เขาจะช่วยกันนำวัวไปดื่มน้ำ  ที่สระน้ำหน้าโรงเรียน    ความเต็มใจที่นักเรียนได้ทำ  ที่เขาเอื้ออาทรต่อสัตว์ (วัว)  เป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่ง


      เมื่อนักเรียนจะกลับบ้าน  ในช่วงนี้จะมีนักเรียนอย่างน้อย  2  ชุด   ชุดแรก  จะทำหน้าที่หาอาหารเสริม  ที่อยู่ริมรั้ว  เช่น  กระถิน  ต้นข่อย   เตรียมไว้ให้วัวในรางหญ้า


      อีกชุดหนึ่ง   ไปนำวัวมาเข้าคอก  (วัวนักเรียนต้องมีระเบียบวินัย   ออกนอกคอกเฉพาะในเวลาราชการ) <p>
      สำหรับในจุดมุ่งหมายของครู  คงไม่ให้นักเรียนเลี้ยงวัวเล่นไป    วัน ๆ เป็นแน่  คงต้องเอาวัวนี่แหละเป็นสื่อ  เป็นตัวตั้งในการเรียน  แล้วให้เขาเรียนรู้ออกไปสู่สาระการเรียนรู้อื่น ๆ   ที่สัมพันธ์  เกี่ยวโยงกัน  หรือที่เห็นนักวิชาการ เรียกว่า  การบูรณาการ</p><p>
      เชิญท่านผู้รู้ทุกท่าน  ลปรร  เราจะเรียนรู้อะไรจากวัวได้บ้าง
ขอบคุณครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 118207เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท