ดาบหนอง
ดาบ สนองชาติ ดาบหนอง มะโฮงคำ

การประกันตัวผู้ต้องหา


ใช้บุคคลประกัน และการถอนหลักประกัน


การประกันตัวผู้ต้องหา
การใช้บุคคลเป็นประกัน
การขอถอนหลักทรัพย์
การประกันตัวผู้ต้องหา
          ในกรณีที่ท่านต้องการประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวนท่านควรมีหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้ติดตัวไปด้วย  คือ
1.
บัตรประจำตัวประชาชน
2.
หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่ 2.1 เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
2.2
โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงิน ที่ระบุ ไว้ในสัญญาประกัน
2.3
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก ) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ไว้ในสัญญาประกัน 2.4 พันธบัตรรัฐบาล 2.5 สลากออมสินและสมุดฝากเงินธนาคารประเภทประจำ 2.6 ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร 2.7 ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว 2.8 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว 2.9 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง 2.10 หนังสือรับรองของธนาคาร เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน 3. ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัวแล้วจะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามีหรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย

วิธีการปฏิบัติ
1. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหา พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฎิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
2.
หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
3.
เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่ง ต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4.
เจ้าพนักงานจะพิจารณา แจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาที่รับคำร้อง
5.
หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตร หรือสารวัตร หัวหน้างานคนใดคนหนึ่งทราบทันที
6.
ในการยื่นและขอประกันตัวผู้ต้องหานี้ เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนัก งานตำรวจที่ จะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง 6.1 ความหนักเบาแห่งข้อหา  6.2 พยานหลักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด 6.3 พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด 6.4 เชื่อถือผู้ร้องขอประกันได้เพียงใด 6.5 ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว มีเพียงใด หรือไม่ ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
7.
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ ก็จะนำ สัญญาประกันและผู้ยื่นประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็น
หลักฐาน
8. หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสืบเนื่องจากเหตุใน ข้อ 6 ก็จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์ไป  
การใช้บุคคลเป็นประกัน
คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 622/2536 ลงวันที่ 15 เมษายน 2536 เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
กระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจ มีนโยบายอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือ หลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 110 และมาตรา 114 วรรคสอง
บุคคล วงเงินประกันทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 ถึง 5
  
หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
-
ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ
  
ตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
  
หรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี
  
นาวาอากาศตรีหรือพันตำรวจตรี
-
ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6
  
หรือเทียบเท่าขึ้นไป
-
พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว
  
กับข้าราชการประจำ
-
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
-
สมาชิกสภาจังหวัด
-
สมาชิกสภาเทศบาล
-
สมาชิกสภาเมืองพัทยา
-
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
-
กรรมการสุขาภิบาล
-
กำนัน
 
บุคคล วงเงินประกัน
- ผู้ใหญ่บ้าน
-
ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8
  
หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
-
ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ
  
ตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
  
หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาเอก
  
นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจเอก
-
ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่
  
ชั้น 1 ถึง 2
-
พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว
  
กับข้าราชการประจำ
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
 
บุคคล วงเงินประกัน
- ผู้ใหญ่บ้าน
-
ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10
  
หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
-
ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ
  
ตั้งแต่พันเอก นาวาเอก
  
นาวาอากาศเอกหรือ
  
พันตำรวจเอกที่ได้รับ
  
อัตราเงินเดือนพันเอก(พิเศษ)
  
นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก-
  (
พิเศษ)หรือพันตำรวจเอก(พิเศษ)
-
ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่
  
ชั้น 1 ถึง 2
-
พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว
  
กับข้าราชการประจำ
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
 
บุคคล วงเงินประกัน
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11
  
หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
-
ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ
 
ตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
 
หรือพลตำรวจโท
-
ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่
  
ชั้น 5 ขึ้นไป
-
พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว
  
กับข้าราชการประจำ
-
สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง
หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
 
- ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันแสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน
  
ผู้รับผิดชอบ พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า

-
ในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือนหรือ

  
ภาระผูกพัน อื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจาก

  
ต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้

  
รับอนุญาตให้ประกัน

-
กรณีบุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก

  
ประกันยังไม่เป็นการ เพียงพอ ให้ใช้บุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติตาม

  
ที่กำหนดไว้หรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้
การขอถอนหลักทรัพย์
นายประกันจะต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือสำเนาสัญญาประกันตัว
ผู้ต้องหามาตรวจสอบผลคดีเสียก่อน ถ้าผลคดีเสร็จสิ้นก็มอบให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการถอนโดยนำบัตร
ประจำตัวประชาชนของนายประกันมาแสดงด้วย กรณีนายประกันไม่สามารถมาขอถอนหรือรับหลักฐานด้วยตนเอง
ได้ ก็ให้ทำใบมอบฉันทะแล้ว นำมาแสดงด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน

หมายเหตุ เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการกับหน่วยราชการต่างๆท่าน
ควรมีหลักฐานดังต่อไปนี้ ติดประจำตัวไว้เสมอ คือ
(1)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(2)
สำเนาทะเบียนบ้าน  
 http://203.147.61.20/police_
หมายเลขบันทึก: 117779เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เอาให้พอ  10 คดีนะพี่......เดี๋ยวน้องจะเข้าไปประกันตัวให้......หลักทรัพย์จะหามาให้เพียบเลย......แลกเปลี่ยนกันตั๊วเรา

แล้วประกันตัวผู้ต้องหาย จะทำอย่างไร คะเพ่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท