บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ระบำม้ง


ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในอดีต

ระบำม้ง

            ชนเผ่าม้ง  เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์  โดยเฉพาะหมู่บ้านเข็กน้อย  อำเภอเขาค้อ มีประชากรมากที่สุด  ที่เหลือจะอยู่ในหมู่บ้านต่างๆในเขตอำเภอเขาค้อ และหมู่บ้านทักเบิก หมู่บ้านดอยน้ำเพียงดิน ตำบลวังบาล  อำเภอหล่มเก่า โดยมีวัฒนธรรมและภาษาเป็นของตนเองที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในอดีต   จังหวัดเพชรบูรณ์มีชาวเขาหลายเผ่าอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น เผ่าเย้า  เผ่าลีซอ มูเซอ และเผ่าม้ง   โดยชาวเขาเผ่าม้งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าหนึ่ง  ที่มีจำนวนประชากรมากกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ

 

 

            แต่เนื่องจากชาวเขาเผ่าม้ง ได้อพยพมาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลายาวนานและได้รับอิทธิพลจากสังคมเมือง   จึงทำให้วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ดั้งเดิมเปลี่ยนไป

 

            เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมอันดีงามของชนเผ่าม้งนี้ไว้  ภาควิชานาฏศิลป์   วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์   โดยนักศึกษาวิชาเอกนาฏศิลป์รุ่นที่2 นางสาวมัลลิกา  สารอินทร์ และนางสาวสมถวิล อารีย์ ร่วมกับคณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์  ได้คิดประดิษฐ์ท่าระบำม้ง  ประกอบกับดนตรีที่เลียนแบบเสียงและทำนองมาจากเครื่องดนตรีของชนเผ่าม้ง  ท่ารำจะแสดงให้เห็นถึงความรื่นเริงสนุกสนานหญิงสาวและชายหนุ่มเผ่าม้ง  ที่ออกมาเต้นประกอบกับทำนองเพลงอันไพเราะ  ประดิษฐ์ทำนองเพลง โดยอาจารย์ช่วงวิทย์  เทียนศรี  อาจารย์ภาควิชาดนตรี  วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์

 

 

              ในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าม้ง   ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่าง ขึ้น 1 ค่ำ 3 ค่ำ เดือน 12 หรือราวกลางเดือนธันวาคมของทุกปี  ชนเผ่าม้งที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ และที่ไปอยู่ต่างประเทศ  จะถือโอกาสเป็นวันพิเศษนำลูกหลานมาไหว้บรรพบุรุษและพบปะญาติๆของตน

             การแสดงชุด ระบำม้ง ได้นำไปเผยแพร่ ในงานมหกรรมพื้นบ้านโลกในหลายประเทศ อาทิเช่น เกาหลีใต้  ตุรกี  โปแลนด์  โครเอเชีย และในอีกหลายประเทศ โดยได้รับคำชมจากประเทศบรรดาสมาชิกสมาพันธ์พื้นบ้านโลก ว่าเป็นชุดการแสดงที่สนุกสนานน่ารักอีกชุดหนึ่ง

 
หมายเลขบันทึก: 117448เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มาเยี่ยมค่ะ....
  •  เคยไปเที่ยวชม ชนเผ่าม้ง ที่เข็กน้อย  วันปีใหม่ม้ง  ดูเขามีความสุขกันจังค่ะ
  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมอีกครั้งครับ
  • งานปีใหม่ม้งเป็นวันที่สำคัญมากในลำดับแรกๆของคนเผ่าม้งเลยครับ
  • ผู้ที่จะเล่าเรื่องชนเผ่าม้งได้ดี น่าจะเป็นคุณครูพยม แห่งโรงเรียนบ้านเข็กน้อยนะครับ5555555
ผู้คิดระบำม้ง(มัลลิกา อ.)

ดีใจมาก..ที่ระบำม้งเป็นที่รู้จักและถูกนำออกเผยแพร่.. และมีการนำผู้ชายมาร่วมแสดง ..บางท่ารำมีการเปลี่ยนแปลงจากท่าเดิมที่คิดขึ้นมา แต่ก็เป็นไปในทิศทางที่ดี จากภาพถ่ายด้านล่าง..ชุดกระโปรงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมดูสวยขึ้นกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในฐานะที่เป็นคนคิดระบำชุดนี้ขึ้นมา รู้สึกดีใจที่ระบำชุดนี้เป็นที่รู้จัก อยากขอบคุณอาจารย์ ปิลันธนา สงวนบุญพงษ์ที่เป็นที่ปรึกษาในการทำผลงานในครั้งนั้น อีกอย่างขอชื่นชมเวปที่จัดทำขึ้นเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการสืบค้น..เยี่ยมมาก ๆ เลย..จากผู้คิดระบำม้ง

  • สวัสดีครับพี่กา
  • เริ่มคิดท่ารำของผู้ชายในช่วงที่น้องเรียนครับคิดกับอาจารย์ชลอ และอาจารย์ปิลันธนาครับ
  • น่าจะปี 2534 ครับไปแสดงงานมหกรรมวัฒนธรรมที่นครศรีธรรมราชครับ
  • ครับอาจารย์ชลอและอาจารย์ปิลันธนา เป็นผู้ให้เรามีวันนี้ได้ครับ ยังคงระลึกถึงท่านเสมอครับ
  • ขอบคุณพี่กามากนะครับ
  • โทรหาน้องได้นะครับ 081-4444-684 ครับ

ชอบดูการเต้นและการร้องเพลงของเผ่าม้งมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท