การประเมินเพื่อพัฒนา


ให้โอกาสทุกคน
           นักเรียนบางคนเรียนอ่อน และติด "0" หลายวิชา    บางวิชาบางคนติด "0" แก้ตัวกี่ครั้งก็ไม่ผ่าน  จนต้องลาออกกลางคัน   การลดจำนวนนักเรียนที่ติด "0"   วิธีการประเมินเพื่อพัฒนาช่วยแก้ปัญหาได้   โดยในการจัดการเรียนการสอนแต่ละหน่วย   ครูกำหนดคะแนนและเกณฑ์ผ่านประจำหน่วย    เมื่อดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้แล้วก็ประเมินผล     แจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบ     ให้โอกาสนักเรียนที่ไม่ผ่านพัฒนาผลการเรียนของตนเอง  และให้โอกาสนักเรียนที่ผ่านแต่ยังไม่พอใจได้พัฒนาให้ได้มากขึ้น  แต่ต้องมีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาไว้ควบคุม เช่น ให้โอกาสนักเรียนพัฒนาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์   อาจเป็นการเพิ่มภาระงานมากขึ้น  แต่ช่วยได้จริง ๆ   ค่ะ   ถ้าในแต่ละหน่วยนักเรียนผ่านเกณฑ์แล้วเมื่อสิ้นภาคเรียนก็จะไม่มีนักเรียนติด "0"  และผลการเรียนโดยภาพรวมก็จะสูงขึ้น
หมายเลขบันทึก: 117447เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เห็นด้วยครับ กับ การพัฒนาผู้เรียน เป็น หัวใจสำคัญของครูที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน มากกว่า การเป็นผู้กำหนดตัดสิน(ได้-ตก)ผู้เรียน

ใช่ค่ะ  ถ้าครูให้โอกาสแก่นักเรียน และคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่าง   ระยะเวลาในการเรียนรู้ที่แตกต่าง  จะไม่มีนักเรียนที่ติด ๐ ค่ะ   ซึ่งการให้โอกาสนี้ครูต้องเสียสละเวลาในการตรวจงานครั้งแล้วครั้งเล่า

สละเวลาในการติดตาม  ประกบ    เขาและเธอก็จะมีงานส่ง  จะได้สอบ  จนกว่าเขาจะผ่าน

น่าจะเป็นวิธีการประเมินตามสภาพจริงอย่างที่หลักสูตรโรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม 2546 ต้องการ..เยี่ยมครับ

 

เห็นด้วยครับ เป็นวิธีการที่น่าสนใจครับ

               

               การประเมินเพื่อพัฒนานี้เป็นภาระงานของครู   แต่เป็นการเปิดโอกาสการพัฒนาตนเองให้กับนักเรียน  ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของครูโดยตรงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท