การเสวนาจัดการเครือข่ายความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11


ประชาสัมพันธ์งานเสวนาจัดการเครือข่ายความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11 หัวข้อ “การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน”วันที่ 23-24 สิงหาคม 2550 ณ ห้องสันตรัตน์ชื่นชม โรงแรมตักสิลา อ.เมือง จ.มหาสารคาม

อ่านกำหนดการร่างได้ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/yahoo/116604

คำสำคัญ (Tags): #ukm 11
หมายเลขบันทึก: 117134เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ขอบพระคุณมากๆๆครับผม
  • รู้สึกว่ารบกวนอาจารย์นะครับ

 

ขอให้ มรภ. มหาสารคาม เจ้าภาพ UKM 11 ช่วยออกมาชี้แจงที่มาที่ไปด้วยครับ ผมเกรงว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะงงและสับสน อย่าลืม concept ของ UKM อย่าลืม concept ของ KM ที่เน้นการมีส่วนร่วม เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เน้น interactive learning through action (ไม่เน้น teaching) การจุดประเด็น (บรรยาย) ไม่ควรเกินในภาคเช้าของวันแรก ภาคบ่ายของวันแรกและภาคเช้าของวันที่สองควรเป็นการ ลปรร. และ ถอดความรู้ฝังลึกออกมาเป็น core competence ตามหัวปลา ซึ่งอาจจะใช้ card technique หรือ mind mapping สุดท้ายควรจะเป็น AAR เพื่อหาแนวทางในการรวมตัวกันทำงานแบบ network เป็น CoP "การเชื่อมวิชาการกับชุมชน" ขอความกรุณาช่วยออกมาทำความเข้าใจเพื่อการเตรียมการเข้าร่วมโดยด่วนด้วยครับ ขอบคุณครับ

อยากไปร่วมด้วยคะ..แต่ท่าทางเจ้านายจะไม่อนุญาต..แล้วจะรออ่านในG2K นะคะ
  • ได้ M2M กับอาจารย์ ผศ. ดร. วิบูลย์แล้วครับผม
  • ขอบคุณครับที่แนะนำ

ผมขอทบทวนข้อเสนอแนะจากสมาชิก UKM ที่เกี่ยวกับ UKM 11 ดังบันทึกต่าง ๆ ข้างล่างนี้ และจะเป็นการดีมากเลยถ้าทีมเจ้าภาพ UKM 11 จะช่วยออกมาหาข้อสรุปและชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบ จะได้เตรียมการกันถูกน่ะครับ ขอบคุณครับ

ไม่มีรูป
เรื่องเล่าอาจารย์นลินรัตน์
เมื่อ พ. 13 มิ.ย. 2550 @ 23:13 [292127] [ลบ]

              ช่วงบ่ายวันนี้เรา(อ.นลินรัตน์ และทีมงาน)ได้หาลือกันว่าในการจัดงาน UKM11 ของวันที่ ๒๓  สิงหาคม ๒๕๕๐  จะจัดขึ้นที่โรงแรมตักสิลา  ในช่วงเย็นทางเราจะพาเยื่ยมชม มรภ. มหาสารคาม และนำสมาชิกมาโฮมกันเพื่อกินข้าวแลง(รับประทานอาหารเย็น)  และชมการแสดงพื้นเมืองของอีสาน
             เช้าวันที่ ๒๔  สิงหาคม ๒๕๕๐ ลปรร AAR  ณ ชุมชนเชื่อมโยงนักวิชาการในจังหวัดมหาสารคาม
 (ขอให้สมาชิก UKM  ช่วยกันแสดงความคิดเห็น)
              ชุมชน มรภ. มหาสารคาม ดร. พิสุทธา ได้นำเสนอแนวคิด UKM-11  ในประเด็น ลปรร. ช่วงบ่าย ของวันที่ ๒๓  สิงหาคม ๒๕๕๐  ว่าน่าจะใช้ประเด็นการบริการสู่ชุมชน ดังนี้
               เป้าหมาย  เพื่อได้ทราบแนวทางหรือรูปแบบกระบวนการบริการวิชาการสู่ชุมชนของแต่ละมหาวิทยาลัยว่าเป็นอย่างไร
การจัดกลุ่ม  ควรจัดตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย  โดยให้สอดคล้องกับหน่วยงาน/คณะ/ศูนย์/สำนัก  เช่น
                1.  จัดตามคณะ  เช่น  คณะวิทยาศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์  คณะเกษตรศาสตร์  และคณะวิทยาการจัดการ  เป็นต้น  เนื่องจากแต่ละคณะก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกันไป
                 2.  จัดตามหน่วยงานที่ให้บริการในแต่ละด้าน  เช่น  สำนักศิลปวัฒธรรม  สำนักวิจัย  สำนักวิทยบริการ  สำนักคอมพิวเตอร์และภาษา  และสำนักกิจการนักศึกษา  เป็นต้น
                 ทั้งนี้แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีแนวทางการให้บริการของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน  หรือในแต่ละพันธกิจ
                                   

P
Panda
เมื่อ พฤ. 14 มิ.ย. 2550 @ 22:37 [293237] [ลบ]
  • ผมขอให้ความคิดเห็นเรื่องการแบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง “ชมรม (CoP) นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน” โดยเน้นที่ learning mode ระหว่างนักวิชาการจาก UKM หรือ สถาบันฯ กับ ชุมชน โดยอาจจะแยกกลุ่มตาม แนวที่มีการร่วมมือระหว่างสถาบัน (การศึกษา) ต่าง ๆ กับชุมชนอยู่แล้ว เช่น
  • กลุ่ม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • กลุ่ม การเกษตรผสมประสาน หรือ เกษตรทฤษกีใหม่  หรือ เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
  • กลุ่ม หมอชุมชน หมอพื้นบ้าน สมุนไพร หรือ สุขภาพ ฯลฯ
  • แทนการแยกตามคณะ  ศูนย์ สถาบัน เพราะแต่ละที่แบ่งแตกต่างกันพอสมควร
  • เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ
ไม่มีรูป
วิจารณ์ พานิช
เมื่อ ส. 16 มิ.ย. 2550 @ 05:37 [294409] [ลบ]

คมมีความเห็นว่าไม่ควรนำเสนอเป็นรายคณะครับ     ควรนำเสนอแบบเอาชุมชน / ท้องถิ่น เป็นฐาน     คือเสนอว่าไป ลปรร. กับชุมชนไหน    เรื่องอะไร  ใครไปบ้าง  ไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง  กิจกรรมนั้นชาวบ้านทำอะไร  นักวิชาการทำอะไร  เกิดผลอะไรต่อชาวบ้าน  เกิดผลอะไรต่อนักวิชาการ / มหาวิทยาลัย     ควรทำอะไรต่อไปอีก      ถ้าจะไปทำกิจกรรมทำนองนี้อีก ควรปรับปรุงอย่างไร    

เรื่องที่นำมาเล่า ถ้ามีนักวิชาการจากหลายคณะ/หน่วยงาน ไปร่วมกัน จะงดงามมาก     การบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ดีจริงๆ ไม่ใช่กิจกรรมเฉพาะสาขาวิชาเดียว      จึงไม่ควรนำเสนอเป็นรายคณะ

การนำเสนอเป็นรายคณะเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมต่อ KM     เพราะมันจะทำให้ความรู้เป็นส่วนเสี้ยว (fragmented)

วิจารณ์ พานิช

ไม่มีรูป
อนุชาติ
เมื่อ จ. 18 มิ.ย. 2550 @ 23:03 [296967] [ลบ]

test

ไม่มีรูป
อนุชาติ พวงสำลี
เมื่อ จ. 18 มิ.ย. 2550 @ 23:20 [296984] [ลบ]

ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณหมอวิจารณ์ว่าเราควรเอาประเด็นชุมชนหรือพื้นที่เป็นตัวตั้งในการจัดกลุ่มครับ โดยผมเห็นว่าในการแบ่งกลุ่มนั้น ควรนำกระบวนการที่ดำเนินการจริงในพื้นที่ที่เราได้เรียนรู้มาเป็นตัวกำหนดกลุ่มหรือแนวทางในการพูดคุย ลองยกตัวอย่างที่พอนึกได้เร็วๆ เช่น 1) โจทย์ร่วมของพื้นที่คืออะไร อะไรคือประเด็นปัญหาของชุมชนในมุมของชาวบ้านและอะไรคือประเด็นในมุมของนักวิชาการ 2) กระบวนการที่เราใช้หรือ approach หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน เครื่องมือ วิธีการ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 4) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านของชุมชน 5) การเปลี่ยนแปลงหรือการเรียนรู้ในด้านของนักวิชาการ 6)ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่เป็นรูปธรรม การเรียนรู้ร่วม และ outcome ที่สืบเนื่อง เช่น ผลต่อการเรียนรู้ ผู้คนที่เกี่ยวข้อง (นศ. stakeholders อื่นๆ)

ทั้งนี้ เห็นว่า เราควรให้แต่ละมหาวิทยาลัยจัดทำเป็นเอกสารสรุปย่อส่งให้ผู้จัดก่อน เพื่อให้ facilitator ได้วิเคราะห์ล่วงหน้า และสามารถในการอำนวยการประชุมได้อย่างชัดเจนขึ้น ด้วยวิธีนี้ จะเป็นการบังคับโดยอ้อมให้แต่ละมหาวิทยาลัยเตรียมคน (BAR) มาก่อนอย่างแท้จริง จะได้ทราบบทบาทของตนเองในการเข้าร่วม

 อนึ่ง หากมีคนที่อยากจะให้เข้ามาเรียนรู้ คนให้เป็นผู้สังเกตการณ์ไปก่อนครับ

 อนุชาติ  พวงสำลี

เห็นด้วยกับทุกท่านครับ  น่าจะเป็นไปตามที่คุยกันไว้  ตามที่ท่าน ดร.วิบูลย์ เสนอ  คือ  ภาคเช้าน่าจะเสร็จสิ้น กระบวนการบรรยายทั้งหมด  ภาคบ่ายเป็นเรื่อง "ลปรร" ทางแต่ละมหาวิทยาลัยจะได้เตรียมผู้เข้าร่วมประชุมได้ตรงวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกันไว้  มิฉะนั้นแล้ว เรื่องเล่า  กว่าจะเริ่มได้น่าจะไม่เร็วกว่า 16.00 น. ซึ่งบรรยากาศคงไม่เอื้อ 

ขอขอบคุณทีมเจ้าภาพ UKM 11 ครับที่กรุณาออกมาชี้แจงทำให้ทุกอย่างมันชัดเจนขึ้น เชื่อว่าจะมีประโยชน์กับสมาชิกเป็นอย่างมากในการเตรียมตัวเข้าร่วม ผมขอชื่นชมในความพยายามที่จะปรับกำหนดการให้ดีที่สุดตามที่ตัวเองตั้งใจ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้เข้าร่วมควรที่จะเข้าใจตรงกันด้วย เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูก สมาชิกทุกท่านมีสิทธิเสนอความคิดเห็น แต่ว่าสุดท้ายแล้วกำหนดการจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าภาพครับ ผมเชื่อว่าสมาชิกทุกท่านจะเคารพในการตัดสินใจและความตั้งใจของเจ้าภาพ เท่าที่ผ่านมา UKM ทุกครั้งก็เป็นไปในแนวทางนี้ ครั้งไหนที่เจ้าภาพ idea บรรเจิด ปรับกำหนดการบ่อย ก็จะต้องมีการถามไถ่ทำความเข้าใจกันมากกว่าปกติ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็วัตถุประสงค์เดียวกันครับ คือให้งานมันออกมาดีที่สุด เป็นประโยชน์กับทุกท่านทุกฝ่ายให้มากที่สุด ขอชื่นชมและขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ท่านอาจารย์ Panda ท่านอาจารย์อนุชาติ ท่านอาจารย์วิบูลย์มากครับ
  • สำหรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากๆๆ
  • ขอบพระคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท