จาก UKM 10 สู่การเตรียมการ UKM 11


Output สำคัญของ UKM 11 คือ “ชมรม (CoP) นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน” ดังนั้นวิทยากร และผู้เข้าร่วมการสัมมนาจึงควรเป็น “คุณกิจตัวจริง” ทางด้านนี้

         UKM 10 “Good governance” ที่มี ม.วลัยลักษณ์เป็นเจ้าภาพ (27 – 28 พ.ค. 50 ณ โรงแรมแกรนด์ ปาร์ค จ.นครศรีธรรมราช) สำเร็จลุล่วงด้วยดี ระหว่างที่ทำ AAR มีผู้เข้าร่วมสัมมนาชื่นชมและขอบคุณเจ้าภาพกันอย่างล้นหลาม ต่างประทับใจในการประสานงานและการเตรียมการตั้งแต่ก่อนเข้าร่วม ประทับใจในการต้อนรับจนกระทั่งส่งขึ้นเครื่องกลับ

         ในนามของผู้ประสานงานหลัก UKM และผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมดขอถือโอกาสนี้ชื่นชมและขอขอบคุณเจ้าภาพ ม.วลัยลักษณ์อีกครั้งหนึ่ง

         UKM11 "การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน" (เชื่อมโยงภูมิปัญญาสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น) ที่จะมี ม.ราชภัฏมหาสารคามเป็นเจ้าภาพ (23 – 24 ส.ค. 50 ซึ่งอาจต้องเดินทางกันตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 50 ณ โรงแรมตักศิลา จ.มหาสารคาม) คาดว่าจะเป็นการสัมมนาที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

         จากการประชุม business meeting (ระหว่าง UKM 10) และจากการปรึกษาหารือกันหลังจากนั้น ผมขอสรุปแนวโน้มลักษณะการสัมมนาใน UKM 11 เพื่อสมาชิกทุกสถาบันจะได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมและเตรียมตัวเข้าร่วมแต่เนิ่นๆ ดังนี้

         1. Output สำคัญของ UKM 11 คือ “ชมรม (CoP) นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน” ดังนั้นวิทยากร และผู้เข้าร่วมการสัมมนาจึงควรเป็น “คุณกิจตัวจริง” ทางด้านนี้

         2. เน้นการเชื่อมโยง (บริการวิชาการ) โดยใช้ Learning mode (ไม่ใช่ Training หรือว่า Teaching mode)

         3. วิทยากรที่จะมาช่วย “จุดประเด็น” ในช่วงเช้าวันแรกอาจจะมี ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ และ คุณเดชา ศิริภัทร

         4. ในช่วงบ่ายของวันแรกจะมีผู้เข้าร่วม ลปรร. (storytelling) สถาบันละ 10 คน เช่นเคย ภายใน 10 คนนี้ อาจแบ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 5 คน นิสิต (ป.ตรี โท เอก) 2 คน และ ผู้แทนจากชุมชน 3 คน (อัตราส่วนนี้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นมากๆ ด้วยครับว่าเหมาะสมหรือไม่ ?)

         5. ผู้ประสานงาน UKM และผู้สนใจของแต่ละมหาวิทยาลัยสามารถเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ หรือบางท่านอาจเข้ากลุ่ม ลปรร. ด้วยก็ได้โดยใช้กติกาเดิมครับ

         6. ภายในบ่ายวันแรกจะมีการสกัด KSF และ KA และ Core competence "การเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน" ออกมาให้เสร็จเรียบร้อยเลย

         7. เช้าวันที่สองตั้งใจว่าจะจัดสรรเวลาให้ผู้แทนแต่ละกลุ่มที่จะมาเล่าเรื่องที่เป็น Best practice อย่างเต็มที่ โดยตัดการเล่าภาพรวมของแต่ละกลุ่มออก (นำเสนอใน blog แทน)

         8. AAR เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง “ชมรม (CoP) นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน” และความเป็นไปได้ของเวทีจริงและเวทีเสมือนที่สมาชิกชมรมจะได้มีโอกาสพบปะ ลปรร. กันเป็นระยะๆ และเพื่อเปิดโอกาสให้มีสมาชิกใหม่เข้ามาสมทบเพิ่มเติมด้วย ที่สำคัญคือ น่าจะได้ประธานชมรม หรือผู้ประสานงานชมรมด้วย ผมมองว่าชมรม หรือ CoP ที่ก่อเกิดในลักษณะนี้น่าจะเป็น "ทายาท" ที่จะช่วยสืบสานเจตนารมณ์ของ UKM ในยุคหรือก้าวต่อๆ ไป ให้ดียิ่งๆ ขึ้น (ในรอบปีที่ 4 เป็นต้นไป)

         9. ทั้งหมดนี้เป็นแนวความคิดเบื้องต้น อยากให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุดเพื่อทางเจ้าภาพ ม.ราชภัฏมหาสารคามจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมการให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกท่านทุกฝ่าย ผมขอขอบคุณล่วงหน้าในทุกข้อเสนอแนะครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 99941เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียน  อ.วิบูลย์ 

ผมส่งชื่อ และเบอร์โทรของพี่ทรงพล  และคุณเดชา  ให้ทางอีเมล์ นะครับ

อาจารย์นลินรัตน์ อภิชาติ

เรียน อ.วิบูรย์

     ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ให้คำแนะนำและติดตามงาน UKM ครั้งที่  11  อย่างต่อเนื่องและขอบคุณ น้องเจนจิต  รังคะอุไร  ที่น่ารักได้ส่ง Fax  รายระเอียดเกี่ยวกับข้อมูลเบื่องต้นเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรจากสถาบันสมาชิกเครือข่าย UKM  ระหว่างมหาวิทยาลัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ UKM 11  พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพย์ของคุณเดชา  ศิริภัทร และคุณทรงพล  เจตนาวณิชย์
       ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามได้ประชุมคณะผู้บริหารและทีมงานเพื่อเตรียมการต้อนรับและอยู่ระหว่างการวางแผนเตรียมกำหนดการ
       อาจารย์นลิรัตน์และทีมงานเห็นดีด้วยว่าน่าจะได้จัดตั้ง "ชมรม (CoP) นักเชื่อมวิชาการกับชุมชน"  ควบคู่ไปกับ  UKM 11    ตามคำแนะนำของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์       พานิช  และอยากขอคำแนะนำจากท่านอย่างต่อเนื่องเพือให้งาน UKM 11  ออกมาได้สมบูรณ์ที่สุด

                       ดร. ทองม้วน อ. นลินรัตน์ และทีมงาน
                                              ๑๓  มิถุนายน  ๒๕๕๐

 

เรื่องเล่าอาจารย์นลินรัตน์

              ช่วงบ่ายวันนี้เรา(อ.นลินรัตน์ และทีมงาน)ได้หาลือกันว่าในการจัดงาน UKM11 ของวันที่ ๒๓  สิงหาคม ๒๕๕๐  จะจัดขึ้นที่โรงแรมตักสิลา  ในช่วงเย็นทางเราจะพาเยื่ยมชม มรภ. มหาสารคาม และนำสมาชิกมาโฮมกันเพื่อกินข้าวแลง(รับประทานอาหารเย็น)  และชมการแสดงพื้นเมืองของอีสาน
             เช้าวันที่ ๒๔  สิงหาคม ๒๕๕๐ ลปรร AAR  ณ ชุมชนเชื่อมโยงนักวิชาการในจังหวัดมหาสารคาม
 (ขอให้สมาชิก UKM  ช่วยกันแสดงความคิดเห็น)
              ชุมชน มรภ. มหาสารคาม ดร. พิสุทธา ได้นำเสนอแนวคิด UKM-11  ในประเด็น ลปรร. ช่วงบ่าย ของวันที่ ๒๓  สิงหาคม ๒๕๕๐  ว่าน่าจะใช้ประเด็นการบริการสู่ชุมชน ดังนี้
               เป้าหมาย  เพื่อได้ทราบแนวทางหรือรูปแบบกระบวนการบริการวิชาการสู่ชุมชนของแต่ละมหาวิทยาลัยว่าเป็นอย่างไร
การจัดกลุ่ม  ควรจัดตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย  โดยให้สอดคล้องกับหน่วยงาน/คณะ/ศูนย์/สำนัก  เช่น
                1.  จัดตามคณะ  เช่น  คณะวิทยาศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์  คณะเกษตรศาสตร์  และคณะวิทยาการจัดการ  เป็นต้น  เนื่องจากแต่ละคณะก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกันไป
                 2.  จัดตามหน่วยงานที่ให้บริการในแต่ละด้าน  เช่น  สำนักศิลปวัฒธรรม  สำนักวิจัย  สำนักวิทยบริการ  สำนักคอมพิวเตอร์และภาษา  และสำนักกิจการนักศึกษา  เป็นต้น
                 ทั้งนี้แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีแนวทางการให้บริการของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน  หรือในแต่ละพันธกิจ
                                   

  • ผมขอให้ความคิดเห็นเรื่องการแบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง “ชมรม (CoP) นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน” โดยเน้นที่ learning mode ระหว่างนักวิชาการจาก UKM หรือ สถาบันฯ กับ ชุมชน โดยอาจจะแยกกลุ่มตาม แนวที่มีการร่วมมือระหว่างสถาบัน (การศึกษา) ต่าง ๆ กับชุมชนอยู่แล้ว เช่น
  • กลุ่ม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • กลุ่ม การเกษตรผสมประสาน หรือ เกษตรทฤษกีใหม่  หรือ เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
  • กลุ่ม หมอชุมชน หมอพื้นบ้าน สมุนไพร หรือ สุขภาพ ฯลฯ
  • แทนการแยกตามคณะ  ศูนย์ สถาบัน เพราะแต่ละที่แบ่งแตกต่างกันพอสมควร
  • เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ

คมมีความเห็นว่าไม่ควรนำเสนอเป็นรายคณะครับ     ควรนำเสนอแบบเอาชุมชน / ท้องถิ่น เป็นฐาน     คือเสนอว่าไป ลปรร. กับชุมชนไหน    เรื่องอะไร  ใครไปบ้าง  ไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง  กิจกรรมนั้นชาวบ้านทำอะไร  นักวิชาการทำอะไร  เกิดผลอะไรต่อชาวบ้าน  เกิดผลอะไรต่อนักวิชาการ / มหาวิทยาลัย     ควรทำอะไรต่อไปอีก      ถ้าจะไปทำกิจกรรมทำนองนี้อีก ควรปรับปรุงอย่างไร    

เรื่องที่นำมาเล่า ถ้ามีนักวิชาการจากหลายคณะ/หน่วยงาน ไปร่วมกัน จะงดงามมาก     การบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ดีจริงๆ ไม่ใช่กิจกรรมเฉพาะสาขาวิชาเดียว      จึงไม่ควรนำเสนอเป็นรายคณะ

การนำเสนอเป็นรายคณะเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมต่อ KM     เพราะมันจะทำให้ความรู้เป็นส่วนเสี้ยว (fragmented)

วิจารณ์ พานิช

ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณหมอวิจารณ์ว่าเราควรเอาประเด็นชุมชนหรือพื้นที่เป็นตัวตั้งในการจัดกลุ่มครับ โดยผมเห็นว่าในการแบ่งกลุ่มนั้น ควรนำกระบวนการที่ดำเนินการจริงในพื้นที่ที่เราได้เรียนรู้มาเป็นตัวกำหนดกลุ่มหรือแนวทางในการพูดคุย ลองยกตัวอย่างที่พอนึกได้เร็วๆ เช่น 1) โจทย์ร่วมของพื้นที่คืออะไร อะไรคือประเด็นปัญหาของชุมชนในมุมของชาวบ้านและอะไรคือประเด็นในมุมของนักวิชาการ 2) กระบวนการที่เราใช้หรือ approach หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน เครื่องมือ วิธีการ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 4) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านของชุมชน 5) การเปลี่ยนแปลงหรือการเรียนรู้ในด้านของนักวิชาการ 6)ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่เป็นรูปธรรม การเรียนรู้ร่วม และ outcome ที่สืบเนื่อง เช่น ผลต่อการเรียนรู้ ผู้คนที่เกี่ยวข้อง (นศ. stakeholders อื่นๆ)

ทั้งนี้ เห็นว่า เราควรให้แต่ละมหาวิทยาลัยจัดทำเป็นเอกสารสรุปย่อส่งให้ผู้จัดก่อน เพื่อให้ facilitator ได้วิเคราะห์ล่วงหน้า และสามารถในการอำนวยการประชุมได้อย่างชัดเจนขึ้น ด้วยวิธีนี้ จะเป็นการบังคับโดยอ้อมให้แต่ละมหาวิทยาลัยเตรียมคน (BAR) มาก่อนอย่างแท้จริง จะได้ทราบบทบาทของตนเองในการเข้าร่วม

 อนึ่ง หากมีคนที่อยากจะให้เข้ามาเรียนรู้ คนให้เป็นผู้สังเกตการณ์ไปก่อนครับ

 อนุชาติ  พวงสำลี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท