โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน (Dedication) กับการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ


ทุกวันนี้บริษัทบอกว่าอยากให้ทุกคนทุ่มเทในการทำงาน แล้วพฤติกรรมอะไรล่ะ ที่จะบอกได้ว่าคนนี้ทุ่มเทแล้วหรือยัง 555...

 

     เมื่อหลายวันก่อน มีนัดกับทีมที่จะช่วยกันกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร ที่ชื่อว่า ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน หรือ Dedication โดยมีคำหลัก (keywords) ที่ผสมผสานระหว่างนิยามเดิมที่เคยกำหนดไว้ กับ คุณลักษณะของ Brand (Brand Attributes) โดยดึงตัวที่คิดว่าไปด้วยกันได้  ทั้งนี้เพื่อให้สิ่งที่คาดหวังให้คนในองค์กรทำจนเกิดเป็นนิสัยในการทำงานที่ดีนั้น สะท้อนออกไปเป็นภาพให้คนนอกรับรู้เอกลักษณ์องค์กรของเรา

      แม้จะยุ่งวุ่นวายมากแค่ไหนก็ตาม ถ้าหากต้องเข้าประชุมที่ระดมความคิดแล้ว ตัวเองจะต้องเตรียมหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (คิดเองว่าเป็น) ต่อที่ประชุมไว้เสมอ เรียกง่ายๆ ว่าต้องทำการบ้าน ไม่ยอมเข้าไปนั่งในที่ประชุมโดยไม่มีไอเดียเด็ดขาด  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวเองมีนิสัยแบบนี้มาตั้งแต่เมื่อไร จำได้ว่า เคยเขียนบทเรียน e-learning เรื่อง การประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ  กว่าจะเขียนได้ต้องใช้แหล่งข้อมูลเยอะมาก  และหลักการหนึ่งที่จำได้คือ เมื่อเราเป็นผู้เข้าร่วมประชุม สิ่งที่ควรปฏิบัติล่วงหน้า ก็คือ... 
  • อ่านบันทึกการประชุมครั้งที่แล้ว
  • ศึกษากำหนดการที่จะประชุม พร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • เตรียมความพร้อม โดยจัดเตรียมรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องใช้ประกอบการประชุมในวาระต่างๆ หรือคิดวิเคราะห์ตามวาระต่างๆ เตรียมไว้ล่วงหน้า
  •       ในครั้งนี้ก็เช่นกัน คืนก่อนวันประชุม เราก็ได้คิดถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ภายใต้คำสำคัญ อันได้แก่   การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานเชิงรุก การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือทีมงานให้บรรลุเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ เพื่อเตรียมมานำเสนอในที่ประชุม      
     เมื่อถึงตอนประชุม... ก็มีการพูดถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เราอยากให้พนักงานทำในที่ทำงานเพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทุ่มเท  มีพฤติกรรมหนึ่งที่เราเสนอไปว่า  เตรียมข้อมูลมาล่วงหน้าเพื่อนำเสนอให้เป็นประโยชน์ในที่ประชุม   มีการถกเถียงกันอย่างมากว่า ไม่เข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่ตรงไหน  เพราะไม่ใช่พฤติกรรมที่คนไทยทั่วไปเขาทำกัน  งงครับ ??? งานนี้ เหมือนถูกชก (แต่วววว..)  
     มิน่าล่ะ เวลาประชุมที่ต้องการสร้างสิ่งใหม่ๆ มักจะนานเกินเหตุ เพราะคนที่จะเตรียมข้อมูลมา มักจะเป็นเลขาในที่ประชุม หรือคนชงข้อมูล  คนที่มาร่วมประชุม ก็อาจจะมากันแบบว่างเปล่า มาคิดกันสดๆ ร้อนๆ ในห้องสี่เหลี่ยม แล้วมันจะคิดกันออกได้ยังไง ไม่ทำการบ้านมาก่อน 
     อยากทราบเหมือนกันว่า ผู้อ่านท่านอื่นๆ มีความเห็นเป็นประการใด ถ้าหากมีข้อเสนอยินดีมากเลยค่ะ 

  

    "พฤติกรรมอะไรที่จะแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานได้ "  

ยังอยู่ในช่วงต้องกลับมาคิดต่อค่ะ เพราะต้องเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกให้สังเกตเห็นได้ด้วย    ตัวเองอาจจะคิดผิดก็ได้  พฤติกรรมที่เสนอไปแล้วก็มีอีกหลายอย่าง ที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นเองค่ะ เรื่องเล่านี้มีเป้าหมาย 2 อย่างคือ  
  • อยากได้ตัวช่วยจากผู้อ่านใน G2K ค่ะ  (ความเห็นเพิ่มเติมเรื่องความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน)
  • อยากช่วยกันรณรงค์ลดเวลาที่ใช้ในการประชุม เพราะเหมือนเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงช่วงรถติดค่ะ เสียเงิน เสียเวลา แล้วไม่ได้อะไร หรือได้ก็ไม่คุ้มค่า (ซีเรียสไปหรือเปล่าเนี่ย...ขอโทษค่ะไม่ได้ตั้งใจ)
หมายเลขบันทึก: 116831เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีพี่ส้ม

  • ก่อนอื่นคงต้องดูเป้าหมายที่ต้องการก่อนครับ "ทั้งนี้เพื่อให้สิ่งที่คาดหวังให้คนในองค์กรทำจนเกิดเป็นนิสัยในการทำงานที่ดีนั้น สะท้อนออกไปเป็นภาพให้คนนอกรับรู้เอกลักษณ์องค์กรของเรา"
  • "เตรียมข้อมูลล่วงหน้าเพื่อนำเสนอให้เป็นประโยชน์ในที่ประชุม" มีการถกเถียงกันอย่างมากว่า ไม่เข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่ตรงไหน  เพราะไม่ใช่พฤติกรรมที่คนไทยทั่วไปเขาทำกัน
  • จากที่เขียนมาข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าผู้พูดเองยังอาจจะหลงประเด็นได้ครับ
  • การที่จะให้เกิดเอกลักษณ์ที่จำได้ดีนั้น ผมว่าความแตกต่างจากสิ่งทั่วไป สามารถทำให้คนภายนอกรับรู้ได้ดีที่เดียว
  • แต่ก็ต้องยอมรับครับว่าบางที่ประชุมเยอะจริงๆ ครับ จนทำให้บางครั้งการเตรียมข้อมูลค่อนข้างยากเหลือทน เช้าประชุม เย็นประชุม อาจมีต่อดึก
  • ดังนั้นถ้าสามารถลดเวลาลงได้ เน้นสาระสำคัญจะช่วยได้มากครับ
  • ครั้งแรกอาจเหนื่อยหน่อย แต่เมื่อเข้าที่น่าจะเร็วขึ้นครับ
  • สำหรับพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความทุ่มเทในการทำงานนั้น (ตอบยากเหมือนกันครับ) เช่น มาเร็ว กลับดึก หรือว่ากินข้าวเสร็จมาทำงานต่อเลย ดูแล้วมันอาจจะไม่น่าจะใช่นะครับ สำหรับตอนนี้ที่คิดออกก็คิดแบบเดียวกับตัวอย่างที่พี่ส้มยกมา คนอื่นไม่ทำ แต่เราทำ และเป็นสิ่งที่ดี ลดเวลา ลดเรื่องไร้สาระที่ต้องมาเถียงกันกับข้อมูลที่ตัวเองไม่รู้ และเพิ่งมาได้ยิน
  • สำหรับผมเองคงอยู่ที่ใจมากกว่าครับ และความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองรับมา
  • แต่สำหรับองค์กรแล้ว ก็คงต้องให้ความเชื่อมั่น มีใจให้กับผู้ปฏิบัติงานก่อน ก่อนที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานมีใจทุ่มเทให้ครับ
  • เขียนมากเดี๋ยวจิตเกิดอีก พอก่อนดีกว่า
  • อาทิตย์หน้าไป Project Base ที่อัมพวา ถ้ามีเรื่องเด็ดๆ จะเอามาฝากครับ
  • เดือนหน้าย้ายกลับเข้าบ้านแล้ว อาจจะได้เขียน blog มาขึ้นครับ (หมดโควต้าห้องพักฟรีแล้ว ฮิฮิฮิ) เป็นคนกรุงเทพก็แบบนี้แหละครับ ทำงานปริมณฑล ถึงแม้บ้านจะไกล 40 50 km ก็ถือว่าอยู่ในที่เจริญ ค่าที่พักไม่มี สำหรับคนจังหวัด ก. ทำงานที่จังหวัด ก. บ้านห่างบริษัท 40 50 km ก็ถือว่าทำงานในที่ทุรกันดาร  มีเงินพิเศษเพิ่มให้ เทียบเวลาแล้วจากบ้านไปทำงานที่จังหวัด ก. ยังเร็วกว่ามาบริษัทเลย ต้องทำใจครับอยู่ในที่เจริญ รถมาก ก็ต้องช้าเป็นธรรมดา เสียดายอย่างเดียวเวลาที่จะทุ่มเทให้คงเสียไปกลับการเดินทาง ฮิฮิฮิ (ไม่มีอีกแล้วที่จะกลับหลัง 2 ทุ่ม) ตายแล้ว! จิตเกิดจนได้ ฮิฮิฮิ

 

P
ขอบคุณนะคะกวงมาเป็นคนแรกเลย

ขอให้ไปทำ project ให้สนุก เรียนรู้อย่างเพลินๆ

 
  • เรื่องการเดินทาง พี่ก็ไม่ชอบเหมือนกัน ที่ต้องนั่งในรถติดๆ เลยซื้อคอนโดไว้ใกล้บริษัทแล้ว ยังไม่รู้จะได้ไปอยู่เมื่อไร เพราะยังเลี้ยงสุนัขอีกหนึ่งตัว
    (เมื่อวานปล่อยไปวิ่งเล่น โดนหมาหน้าตาน่าเกลียดบ้านตรงข้ามขย้ำคอ สู้เขาไม่ได้ เพราะสายพันธุ์ไม่ใช่นักสู้แบบหมาไทย)
  • นิสัยเสีย รักสบาย แต่ก็ได้ช่วยชาติประหยัดน้ำมันด้วยไง ดีไหม
  • เรื่องความทุ่มเท เราคงเลิกพูดเรื่องเวลาในการทำงาน เพราะมันก็วัดไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป คงต้องหาพฤติกรรมอื่นที่ตอบโจทย์บริษัทโดยตรง

เห็นเรื่องที่พี่ส้มเล่าให้ฟัง ผมได้ไอเดียในการเสนอระดับการคุยกันว่าน่าจะแบ่งระดับได้ว่า

  • คุยกันระดับรับรู้(ปริยัติ) อันนี้น่าจะเป็นพวกรายงาน แจ้งเพื่อทราบ
  • คุยกันระดับนักปฏิบัติ(เรียนรู้) อันนี้น่าจะเป็นวง Dialogue และเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ จริงๆน่าจะเป็นวง Show&Share ครับ แต่ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มันเป็นวงแจ้งเพื่อทราบ สำหรับวัฒนธรรมเราอาจจะตั้งระดับรับรู้เป็น Show&Share ไปซะก็ได้ วงระดับปฏิบัติ ก็มาทำDialogue ไปซะก็น่าจะได้ครับ
  • วงสุดท้ายเป็นการคุยระดับDiscussion(สร้างองค์ความรู้ใหม่) งานนี้ต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือในการตัดสินใจ

จริงๆมันก็มาจาก Data ==> Information ==> Knowldege หรือ ปริยัติ ==> ปฏิบัติ ==> ปฏิเวธ

ไอเดียมาจริง ไปอ่านPhase ของ Dialogue ผสมกับเรื่องความน่าเบื่อในการประชุม แบ่งมั่วๆ ซ้ำซาก เห็นไหมครับ ว่าหากคุยกันภายหลังไปปฏิบัติกันมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะเข้าใจชัดเจน จ่ำแจ้ง แต่หากมีระดับรับรู้มา ก็จะพาวงป่วน เพราะแกไม่เข้า.. ใจ คิดเอง เออเอง เป็นส่วนใหญ่ในระดับรับรู้มาเท่านั้น

P
Boy
  • ขอโทษนะคะ ที่ไม่ทราบว่า มาให้ความเห็นตั้งนานแล้ว ไม่เห็นมี mail ไปเตือน เลยไม่ได้เข้ามาตอบ รู้สึกละอายจังค่ะ ช่วงนี้เดินสายบ่อย ย้ายบ้านด้วยค่ะ วันนี้เพิ่งไปจัดบ้านใหม่ อ้อ หมายถึง office น่ะค่ะ คิดว่าเป็นบ้านตัวเองไปแล้ว เพราะ วันหนึ่งๆ ใช้เวลามากกว่าอยู่บ้านจริงๆ อีกค่ะ

 

  • ขอบคุณ ก๊อบ ที่ช่วยคิดเรื่องนี้เชื่อมโยงไปกับเรื่องการเรียนรู้ กับ วงเล่า ได้

 

  • ให้ข้อคิดที่ดีมากค่ะ พี่จะลองกลับไปทำ (ใจ) โดยแยกแยะวัตถุประสงค์การประชุมให้ชัดขึ้น

 

  • พี่คิดว่าในวง show and share บางวง ไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะบางทีมากันแบบ กลวง กลวง ค่ะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท