E-learning


E-learning หนทางสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ควรให้ความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง

เรียบเรียงโดย นายพงศ์ทร วงศ์พุธ  (นุ้ย) 507 8290038

 E-learning               

     ขณะนี้กระผม นายพงศ์ทร วงศ์พุธ (นุ้ย) ทำงานการขายทางโทรศัพท์ ด้านแพ็คเก็จโรงแรมในเครือของเชอราตั้น ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่างานขายทางโทรศัพท์ เป็นงานที่ต้องการลดต้นทุนไม่ว่าจะค่าเดินทาง เงินเดือนพนักงาน ในบางที่ไม่มีเงินเดือนให้พนักงาน ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะตัวของพนักงาน การเรียนรู้ก็จะเป็นการจำรูปแบบของคนเก่า ๆ ในองค์กรนั้น ๆ ยกเว้นในองค์กรใหญ่ ๆ ที่ทำการขายอย่างเป็นระบบ เช่น บริษัทประกันภัยรถยนต์ บริษัทช่วยเหลือฉุกเฉินรถเสีย เป็นต้น ทำให้พนักงานขาดทักษะการเรียนรู้ที่เป็นปัจจุบัน               

     ดังนั้นหากนำความรู้ที่เป็นตัวแบบ หรือการตอบข้อโต้แย้ง ที่สามารถเรียนรู้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะเป็นการพัฒนาพนักงานใหม่ ๆ ที่ไม่มีพรสวรรค์แต่ต้องการเรียนรู้และต้องการเป็นพนักงานขายที่สามารถรอบรู้และทันเหตุการณ์ ประกอบกับหนังสือเทคนิคงานขายทางโทรศัพท์หาได้ยากมาก ๆ จึงเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาเรื่องนี้ 

นิยามและทฤษฏีของ E-learning (Electronic Learning)               

     การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรับการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้ระบบบริหารการจัดการหลักสูตร (Learning Content Management System) โดยผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสาร 

ตัวอย่างหน่วยงานที่ใช้ E-learning                

จริง ๆ แล้ว E-learning เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในเมืองไทย ตั้งแต่ยุคแรก ๆ คือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม ยุคเว็บเริ่มต้น ยุคมัลติมีเดียและยุคปัจจุบันคือยุคเว็บใหม่ที่มีการนำสื่อต่าง ๆ มาประยุกต์ในการนำเสนอข้อมูลมากขึ้น บริษัทที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

Ø     ปูนซีเมนต์ไทยที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของบุคลากรเป็นลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย  ตัวอย่างระบบที่ใช้ Computer Base Training  เป็นการ Training พนักงาน , Knowledge Management เป็นการรวบรวมฐานความรู้ของพนักงานในองค์กร เช่น Blog ต่าง ๆ , E-Library ห้องสมุดบนเว็บ และ Innovation เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความเห็นเพื่อนการพัฒนา เป็นต้น

Ø     บริษัทบ้านปู ที่มีการใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในการซื้อซอฟต์แวร์ที่มีการพัฒนาจากต่างประเทศในช่วงก่อนหน้านี้  เช่น ขณะนี้ก็มีระบบ Computer Base Training และ Knowledge Management เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ไทยเช่นกัน               

Ø   TT&T ให้พนักงานทุกคนเรียนรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ผ่าน Internet และประสบความสำเร็จอย่างสูง มีผู้ให้ความสนใจกว่า 90% เพราะมีการจูงใจ และทำเป็นระบบ มีทีมงานดูแลโปรเจ็ค สามารถตรวจสอบ Log in เช็คสถานะผู้เข้าใช้ได้ จึงเป็นบริษัทที่น่าให้ความสนใจมากทีเดียว

          ส่วนบริษัทอื่น ๆ นั้นมีการสนับสนุนเพียงช่วงแรกแล้วหายไป ประกอบกับบุคลากรด้านงานบุคคล ของบริษัทเหล่านั้น ขาดทักษะและทัศนคติกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เน้นการฝึกอบรมช่วงแรกก็ถือว่าได้ให้ความรู้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ลืมตระหนักถึงการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่อง อย่างบริษัทที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านี้ได้ทำกันในปัจจุบัน

ข้อดีของการเรียนรู้ผ่าน e-learning

·        เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล ·        ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน

·        ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน

·        ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

·        ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

·        เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

·        สนับสนุนการเรียนการสอน

·        เกิดเครือข่ายความรู้

·        เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

·        ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น

·        การรักษาความรู้ด้านต่างๆของบริษัทและนำไปพัฒนาเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

·        เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ข้อเสีย

·       ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ความคิดเห็น ข้อโต้แย้งหรือปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน ได้ในขณะนั้น ๆ ได้ (ในบางครั้ง)

·       ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

·       ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน

·       ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

การจูงใจเพื่อการเรียนรู้

     สาเหตุหนึ่งที่ E-learning ในเมืองไทยไม่สำเร็จก็เพราะ ผู้ศึกษาไม่ได้ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง เพราะขาดแรงจูงใจจากหลายสาเหตุ เช่น องค์กรขาดสื่อ ขาดงบประมาณ เรียนแล้วได้อะไร และที่สำคัญนิสัยของคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ชอบรูปแบบการเรียนรู้เป็นทุนเดิม ถ้าทราบว่าเป็นการเรียนรู้ก็จะไม่ให้ความใส่ใจ นอกจากจะได้ประโยชน์กลับมา ดังนั้น จึงต้องมีกระตุ้นด้วย 5 วิธีการดังต่อไปนี้

     1. สร้างความสนใจให้เกิดขึ้น ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความอยาก และผลประโยชน์

     2. ดำเนินการให้เกิดความรู้อย่างแจ่มแจ้ง

     3. สร้างทัศนคติเชิงบวก ให้ยอมรับความรู้ใหม่ ๆ

     4. ให้ผู้เรียนยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ สอดคล้องกับเป้าหมายการจูงใจ

     5. ให้ความสนใจ ติดตามช่วยเหลือ หน่วยงานมีระบบประเมินสนับสนุน

การนำมาประยุกต์ใช้ในงาน               

      บริษัทที่เลือกใช้ E-learning นั้นสาเหตุหลักน่าจะคล้าย ๆ กัน คือเน้นให้ผู้เรียน เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ข้อมูลข่าวสาร สามารถอัพเดทได้อย่างไม่หยุดนิ่ง มีฐานความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร มีการนำเสนอปัญหาในองค์กรเป็นฐานไว้                

     อยากนำมาใช้ในบริษัทที่ทำอยู่ ก็เพราะขณะนี้ราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงจากแต่ก่อนมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นฐานความรู้เป็นทฤษฏีตำรา แต่เป็นการแชร์ประสบการณ์กันก็ได้ เพราะเวลาส่วนใหญ่แทบจะไม่ว่างจริงๆ  เพราะต้องโทรศัพท์อย่างเดียว เวลาที่สามารถศึกษาในเวลางานได้จึงเป็นไปได้ยากมาก แต่ข้อดีก็คือเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามจุดประสงค์ของ E-learning นั่นเอง แต่ส่วนหนึ่งพนักงานก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย

     โดยส่วนตัวแล้วการจะทำให้ E-learning ให้ได้ผล จะต้องมีการประเมินผลด้วย มิใช่เพียงเป็นแหล่งให้ความรู้ที่ตั้งไว้เพียงอย่างเดียว หรือการติดตามผลงานจากผู้ที่ดูแลโปรเจคเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

Ref : www.nectec.com

       http://gotoknow.org/blog/bonlight/44042

      

หมายเลขบันทึก: 116755เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบรายงาน e-learning ของนุ้ย บ้านปูฯมีระบบนี้อยู่ใน PortalของLotus Noteสามารถเข้าสู่ระบบผ่านInternetจึงไม่มีความจำกัดด้านสถานที่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงาน ในนั้นมีห้วข้อหลายหัวข้อที่น่าสนใจเช่น eKnowledge, eAnnouncement, eNews และ Engineering Standard เป็นต้น ประสบการณ์ที่มีประโยชน์คือ เป็นที่ค้นหาความรู้ประกอบการเรียนวิชา HRM, HRD เห็นว่าการบริหารข้อมูลให้ทันสมัย และเป็นหมวดหมู่อยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เกิดความสนใจ และง่ายในการหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้

พี่บุป

อยากให้แนะนำว่าหล้กสูตรใดบ้างที่เหมาะกับการเรียนโดยใช้ e-learning ค่ะ เพราะว่าการเรียนผ่าน e-learning ไม่น่าจะใช้ได้กับทุกหลักสูตร น่าจะเหมาะสำหรับการทบทวนความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปมากกว่าค่ะ

เปิดในinternetมีตัวอย่างการเรียนรู้ค่อนข้างเยอะ นุ้ยลองlinkมาใส่ให้เพื่อนๆดูเป็นตัวอย่างสิจ๊ะ พัฑว่าบางหลักสูตรหน้าเรียนรู้มากๆ

พัฑ

สุโรจน์ สุทธิตันตยาภรณ์ ( บอย )
นุ้ย ช่วยแนะนำวิธีการจูงใจให้พนักงานเข้ามาใช้งาน ระบบ E-learning ให้หน่อยครับ เพราะเท่าที่เจอมากับตัวเอง พนักงานจะไม่ค่อยใช้กัน ทั้งๆที่มีประโยชน์มาก ( ข้อมูลดีครับ มีตัวอย่างให้ดูด้วย )
ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

เห็นด้วยกับพี่บอยนะครับที่น่าจะช่วยแนะนำวิธีการจูงใจต่างๆให้พนักงานเข้ามาใช้ระบบ E-learning หรือช่วยแนะนำวิธีการปลูกฝังค่านิยมที่ให้พนักงานสนใจหาความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านทาง E-learning (แบบไม่ต้องไปบังคับเค้า.....ให้เค้าเต็มใจเองอะครับ)    และไม่ทราบว่าพวกพนักงานที่ต้องทำงานในโรงงาน เช่นพวกฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง พวกที่อยู่กับเครื่องจักรห่างไกลคอมพิวเตอร์ เราจะให้เค้าเข้าถึง ระบบ E-learning ได้อย่างไรครับ เพราะการผลิตบางอย่างอาจต้องศึกษาหาเทคนิคใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้กับงาน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะหาความรู้ด้วยตัวเองยากนอกจากจะเปนคนที่รักการเรียนรู้จิงๆ  ซึ่งตรงนี้ขอให้พี่นุ้ยช่วยแนะนำไอเดียให้หน่อยนะครับ

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

โบว์ขอเพิ่มข้อดีที่คิดว่าระบบ E-Learning มีอึกซักข้อแล้วกันนะคะ คือโบว์คิดว่าระบบนี้จะมีความรู้ที่จำเป็นในการทำงานขององค์กรนั้นๆอยู่ค่อนข้างครบถ้วนทีเดียว เช่น อย่างองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ก็จะมีข่าวสารทางด้านนี้มา Update ให้พนักงานในบริษัททราบตลอดโดยที่พนักงานเองไม่ต้องไปหาความรู้ทางนี้จากที่อื่น และก็จะมีเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับ IT ที่บริษัทคิดว่าพนักงานควรรู้เพิ่มเติมอยู่ในนี้อีกด้วย พูดง่ายๆคือมี 2 อย่างรวมอยู่ในนี้คือ สิ่งที่อยากรู้ และสิ่งที่ควรรู้ นั่นเอง

ส่วนเรื่องที่โบว์อยากถามก็คือ โดยส่วนตัวพี่นุ้ยเองพี่ เคยได้ใช้ E-Learning ของบริษัทที่พี่ทำงานอยู่บ้างรึเปล่าคะ ถ้าเคยโบว์อยากรู้ว่าพี่เข้าไปศึกษาเรื่องอะไรเพิ่มเติม แล้วทำไมพี่ถึงสนใจที่จะหาความรู้เรื่องนี้จากระบบ E-Learning คะ

สวัสดีค่ะ สนใจอยากรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของ E-Learn พอเพิ่มเติมให้ได้บ้างไหมคะ เพราะอยากรู้แนวทฤษฎี จะได้มีแนวทางให้องค์การ เผื่อว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ให้พนักงานเกิดการเรียนรู้มากกว่านี้ เพราะตอนนี้ที่ทำงานก็ถือว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แต่ผลที่ได้ไม่ค่อยสัมฤทธิ์ดังที่ต้องการกัน หรือว่ามีแนวทางหรือไอเดียอื่น ๆ นอกจากทฤษฎีก็ได้นะคะ สนใจค่ะ

นางสาวบุษบงค์ จงจิตเจริญ (ยิน)

IO ปี 2

 

ทำออกมาได้ดีนะครับทั้งเนื้อหาและตัวอย่าง ที่อ่านดูถ้าทำออกมาดี ๆ ก็จะเป็นฐานความรู้ขององค์กรได้เลยทีเดียวนะครับ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเรื่องเวลาที่จะต้องสูญเสียไปจากการเทรนในห้องเรียนด้วย และนอกจากนี้เรายังสามารถเอาเรื่องพื้นฐานมาลงให้พนักงานเรียน e-learning จากนั้นจึงดูว่าหลักสูตรพื้นฐานใดมีพนักงานเรียนเยอะก็แสดงว่ามีพนักงานสนใจเยอะ และพนักงานเหล่านั้นก็มีพื้นฐานจากการเรียน e-learning แล้ว จากนั้นเราก็สามารถจัดเทรนเรื่องนั้นทาง advance ได้เลยด้วย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการจัด train ได้อีกด้วยนะครับ

ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ดีรูปแบบหนึ่งนะคะ โดยส่วนตัวแล้วก็ชอบเรียนรู้โดยวิธีนี้เช่นกัน เพราะสะดวกและสามารถเรียนรู้โดยไม่จำกัดเวลา สามารถกำหนดสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง หากไม่เข้าใจสามารถทวนซ้ำได้เรื่อยๆ ได้มีเวลาในการคิด ตัดสินใจ ประมวลความรู้ต่างๆในการตั้งคำถาม โต้ตอบผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น Webboard ทำให้ได้สาระที่ครบถ้วนกว่าการแลกเปลี่ยนความรู้แบบต่อหน้า แต่ก็มีข้อเสียเพิ่มเติมคือ ทำให้การใช้ไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การกล้าแสดงออก ความสามารถในการสื่อสารการมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นน้อยลง หรืออยู่ในโลกส่วนตัวของตนเองมากเกินไป  แต่ทั้งนี้การเรียนรู้แบบนี้ก็พบข้อดีมากกว่าข้อเสียแน่นอน อยู่ที่ว่า ผู้เรียนจะปฎิบัติและนำระบบมาใช้อย่างไรให้เหมาะสมและได้ประโยชน์ที่สุด แต่ปัญหาก็คงจะเหมือนๆกับที่หลายๆคนสงสัยคือ จะมีวิธีจูงใจอย่างไร ให้พนักงานเข้ามาใช้งาน เพราะบางคน ไม่มีนิสัยรักการเรียนรู้ แม้กระทั่งป้อนความรู้ให้ถึงที่ก็ยังไม่อยากที่จะรับ ยิ่งกรณีนี้ที่ต้องช่วยเหลือ เรียนรู้ด้วยตัวเอง จะมีทางออกสำหรับคนประเภทนี้ได้อย่างไรคะ

สวัสดีค่ะ  การทำสื่อการเรียนรู้แบบนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย  แต่ก็คงยากเหมือนกันที่จะทำให้คนอยากใช้จริงๆ  ที่พี่นุ้ยเขียนมาข้างบนหมายถึงการทำ E-training  ให้กับพนักงานใหม่ใช่มั้ยคะ  น่าสนใจดีค่ะ   ถ้ามีการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงกัน  อยากทราบว่าโดยปกติแล้วที่บริษัทเมื่อรับพนักงานใหม่มีการอบรมในรูปแบบไหน  แล้วถ้าจะทำในรูปแบบE-Learning หรือ E-training  ฝ่ายที่สามารถเป็นสื่อกลางและประชาสัมพันธ์ในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้นี้จะมีอุปสรรคมั้ยคะ  เพราะคิดว่าช่วงเวลาการทำงานของพนักงานคงไม่พร้อมกัน  แต่ถ้าสามารถเริ่มได้แล้ว  คงจะมีประโยชน์อย่างมากมายเลยทีเดียวค่ะ

นันทน์

สวัสดีค่ะ

ปัจจุบันนี้องค์กรต่าง ๆ ได้นำ E-learning มาประยุกต์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร อาจนำ E-learning ไปใช้ได้ในระดับต่าง ๆ ดังนี้

1.สื่อเสริม (Supplementary) หมายถึงการนำE-learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม บุคลากรในองค์กรยังสามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสาร (Sheet) การอบรมโดยวิทยากร เป็นต้น ในลักษณะนี้จึงเป็นเพียงการจัดประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่บุคลากรในองค์กรเท่านั้น

2.สื่อเติม (Complementary) หมายถึงการนำเอา E-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น นอกเหนือจากการบรรยายอบรมโดยวิทยากร ยังออกแบบเนื้อหาให้บุคลากรในองค์กรเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก E-learning

3.สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึงการนำเอา E-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายฝึกอบรม บุคลากรในองค์กรต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์

จบแค่นี้ก่อนนะคะ

พงศ์ทร วงศ์พุธ (นุ้ย)

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ

   คำถามของพี่บอยและปิ๊ก ได้เพิ่มเติมในเนื้อหาแล้วครับ

   ส่วนที่น้องโบว์ถามเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ ก็เพราะสองสาเหตุด้วยกัน คือ

1. โดนเร่งงานที่นอกเหนือจากการฝึกฝนของบริษัท ดังนั้นต้องศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว และปัจจุบัน ก็สามารถทำเป็นอ้างอิงได้อย่างเต็มรูปแบบ

2. เนื่องจากแต่ก่อนทำงานเป็นกะ ไม่มีเวลาที่จะไปเรียนพิเศษด้านภาษากับใครเลย ต้องเรียนผ่านสื่อซีดี ซึ่งก็สามารถเรียนหลังเลิกงาน ช่วงเบรค และช่วงเดินทางได้ด้วยครับ

นุ้ย

พี่บุปดพิ่มอีกเรื่องนะ คือwwwของSheratonไม่ค่อยมีรายละเอียดเกี่ยวกับโรงแรม และบัตรที่นุ้ยขายเท่าไหร่http://www.at-bangkok.com/preview_royal-orchid-sheraton.php

พี่เลยอยากทราบว่านุ้นได้รับข้อมูลเพื่อสนับสนุนการขายทางอื่นด้วยมั๊ยนอกจาก e-learning

พี่บุป

นุ้ย พงศ์ทร วงศ์พุธ

ถึงพี่บุป

    เนื่องจากบัตร Starwood Priviledge ไม่สามารถเอารายละเอียดขึ้นบน website ได้ เป็นการนำเสนอทางโทรศัพท์เท่านั้น เพราะบัตรนี้เป็นบัตรลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับบัตรโรงแรมอื่น ๆ โรงแรมจะระวังตัวเรื่องสิทธิประโยชน์มาก เพราะถ้าโปรแกรมไหนเป็นแบบ worldwide ยิ่งต้องระวัง เพราะราคา member ในแต่ละประเทศจะไม่เท่ากัน มิเช่นนั้น ชาวต่างชาติจะแห่เข้ามาซื้อในเมืองไทยกัน ต่างประเทศก็จะขายไม่ได้ และด้วยสาเหตุต้องนำเสนอทางโทรศัพท์ ต้องใช้ทักษะค่อนข้างมาก เรื่องการวิเคราะห์คนด้วยเวลาที่จำกัด พลังการสื่อสาร พลังการโน้มน้าว นอกจาก skill แล้ว ยังต้องเรียนรู้ผ่านฐานข้อมูลอื่นๆ  ด้วยครับ ดังนั้น e-learning จึงเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะ ระบบ Telemarketer ไม่ค่อยลงทุนเรื่องการสอนงานมากน่ะครับ และพนักงานที่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาใฝ่หาความรู้ ก็จะมีฐานข้อมูลนำไปเสนอกับลูกค้าได้ผลดีพอสมควรครับ

อาฟ ภิรดี เหรียญทอง

อยากรู้ว่าการประเมินที่ใช้ในการทำ E learning มีปัญหาในการปรับปรุงการทำงานบ้างรึเปล่าคะ แล้วการที่นุ้ยใช้ระบบนี้ในการ presentงานลูกค้า มีผลมั้ยในการปิดยอดให้มากขึ้นหรือเปล่า อยากทราบเพื่อเป็นประโยชน์มาใช้ในงานตัวเองบ้าง แล้วระบบท E learning สามารถที่จะพัฒนาระบบเพิ่มได้อีกในแง่ไหนบ้าง  แต่ที่นุ้ยเขียนมาก็เข้าใจในเรื่องนี้พิ่มขึ้นมากเลยนะ ก็จะมีแค่ข้อสงสัยเล็กน้อยนี่แหละ ขอบคุณคะ

เรื่องที่ตัวเองเขียน (CoP) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีเวปไซต์เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆ คิดว่าก็เป็น e-learning ทางหนึ่งเช่นกันค่ะ  ปัญหาก็เห็นด้วยกับที่หลายคนให้ความเห็นไว้ คือตัวความรู้ที่จัดทำไว้น่ะดีอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้คนสนใจเข้าไปดูไปอ่าน

แป๋ม

PS ขอนับถือในความตั้งใจทำงานของน้องนุ้ยด้วยนะคะ พี่แป๋มคิดว่างานนี้มันไม่ง่ายเลยที่จะดึงให้คนที่ไม่รู้จัก มาฟังเราทางโทรศัพท์ได้ แถมให้มาซื้อของกับเราอีก  ขอให้พลังการสื่อสาร และพลังการโน้มน้าวที่น้องนุ้ยบอกนั้นอยู่คู่กับน้องนุ้ยตลอดไป May the force be with you (เอ๊ะ คุ้นๆ) ^^

น่าสนใจค่ะ เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมาก และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น เป็นข้อได้เปรียบขององค์การ

โดยส่วนตัวคิดว่า ไม่ว่าการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีก็ควรควบคู่ไปกับการสอนงาน และเรียนรู้ผ่านตัวบุคคลจริงๆด้วย จะทำให้มีประสิทธิภาพและเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์การมากยิ่งขึ้น

เห็นด้วยกับทุกๆคนนะคะ คิดว่าเดี๋ยวนี้มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในเรื่องๆต่างๆเพิ่มมากขึ้นเยอะ คิดว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่นี่ ก็น่าจะถือเป็น e-learning เหมือนกันนะคะ

หวัดดีค่ะน้องนุ้ย

เรื่องE-Learningเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกองค์กรค่ะ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าข้อดีที่ดีมากๆคือพนักงานทุกคนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลาในบางองค์กรก็นำวิธีนี้มาใช้ในส่วนของCareer Development เช่น กลุ่มHRMของพี่ทำบริษัทของโน้ต พบว่า ในหลักสูตรการฝึกอบรมของฝ่ายAuditใช้วิธีE-Learningควบคู่กับInstructor-ledเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง(Assessent)ค่ะ

ถึง  น้องนุ้ย

พูดได้คำเดียวว่าเก่งมาก  เพราะการให้ใครมาฟังเราทางโทรศัพท์มันท้าทายสุดๆค่ะ

พี่เอ๋/ฐิติมนต์

สวัสดีค่ะพี่นุ้ย

นี่เรื่องแรกที่นุกเข้ามาอ่านเลยนะเนี่ย

 E-Learning เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่มีการพัฒนามาหลายปี

 เวลาผ่านไปการใช้  E-Learning จะมีสัดส่วนที่มากขึ้นในองค์กรต่างๆ  และเชื่อว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆเมือ่เวลาผ่านไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้มากขึ้น

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

อันความรู้นั้นมีกระจายอยู่ทั่วทุกที่ ซึ่งบางอย่างก็เเทบจะฟรีเลยด้วยซ้ำ แต่คนส่วนใหญ่นั้นขาดแรงจูงใจ

 

ฉะนั้นเราต้องสร้างเป็นค่านิยมให้ได้ บางคนมีมากองตรงหน้าแล้วก็ยังไม่อยากจะเรียนรู้เลยก็มี ฉะนั้นจึงอยากรู้บ้างว่า จะมีวิธีจูงใจอย่างไร ให้คนส่วนใหญ่หันมามีส่วนร่วมใน e-Learning กันมากขึ้น

นะครับ พี่นุ้ย

ที่บริษัทเน้นเรื่องนี้มากค่ะ เพราะบางครั้งการจัดห้องอบรมมันมีเรื่องเวลาที่ไม่ตงกันเป็ฯข้อจำกัด อย่างจะจัดอบรม call centerที่มีเป็นหลายร้อยคนซึ่งเข้างานคนละเวลา การมีแหล่งความรู้อยู่บนหน้าจอคอมฯจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุดค่ะ

แล้วสิ่งทีจะป้องกันคือรหัสผ่าน กับระยะเวลาการเรียนรู้ค่ะ เพราะบางทีคนนึงสอบแล้วก็เอาไปบอกเพื่อน การจับเวลาการเรียนรู้จึงเป็ฯสิ่งที่ทำให้เรารูได้ว่า เค้าได้เรียน ได้อ่านความรู้หรือไม่ค่ะ

ดีค่ะพี่ ชัดดีค่ะ ชัดๆเลยค่ะพี่ ว่าเป็น E-learning ไม่ใช่ไอ้เลินนิ่ง เหอๆๆๆ

ขอบคุณพี่นุ้ยค่ะ ที่แนะนำเรื่องแหล่งความรู้ออนไลน์ ว่าแต่ ออมว่าพวกเราน่าจัดแหล่งความรูออนทัวร์ของพวกเราชาวIO3บ้างนะคะ อิอิ เนอะ พี่เนอะ ไปภูเก็ตก็ได้ ไมงั้นก็สวยสยามมะ มีทะเลเหมือนกัน555

น้องนุ้ย...มีตัวอย่างหลายบริษัทดีจ้ะ 

สำหรับ e- Lerning ที่ไม่ใช่องค์กรบริษัท ก็มีนะ เป็นของจุฬาฯ นี่เอง   น่าสนใจดีเหมือนกัน เลยขอแชร์กะนุ้ยและหลายๆคนที่สนใจดูตัวอย่างหลักสูตร   

เข้าไปที่

http://www.chulaonline.com / ลงทะเบียนใหม่ / กรอกข้อมูล และเลือกหลักสูตรที่สนใจ (หลักสูตรที่เหมาะกับพวกเรา เช่น ภาษาอังกฤษ  ธุรกิจ )คอมพิวเตอร์

การใช้งาน 

ให้เข้า log-in, password ที่สมัครไว้  เพื่อใช้ E-learning online ระบบให้ใช้ได้ 90 วัน ค่ะ

 พี่เกด

นุ้ย พงศ์ทร วงศ์พุธ

     ต้องขอขอบพระคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกท่านที่ให้ comment ไว้ กระผมคิดว่า น่าจะครบถ้วนในส่วนของทฤษฎีและแนวคิด แต่การจะให้ได้ผลดีนั้น ทางบริษัทก็ต้องมีผู้ดูแลติดตาม ประเมินผล เพื่อให้ครบกระบวนการ การเรียนรู้ โดยกำหนดเป็นช่วงเวลา และ/หรือ มีการ update ข้อมูลเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบัน อยู่เสมอ ๆ ด้วย จึงจะบรรลุผลสูงสุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท