เลี้ยงน้องหมา ดีกับสุขภาพหรือไม่


พวกเราคงจะชื่นชอบเจ้าโฮ่งโฮ่ง หรือน้องบ๊อกบ๊อกไม่มากก็น้อย... วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมาฝากคนรักน้องหมาครับ...

<p>พวกเราคงจะชื่นชอบเจ้าโฮ่งโฮ่ง หรือน้องบ๊อกบ๊อกไม่มากก็น้อย... วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมาฝากคนรักน้องหมาครับ...</p>

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์เดบอราห์ เวลลส์ ได้ทำการทบทวนการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการเลี้ยงน้องหมา

ผลการศึกษาพบว่า คนที่เลี้ยงน้องหมามีข้อดีกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยงน้องหมาดังต่อไปนี้...

  • ความดันเลือดสูงต่ำกว่า หรือเป็นโรคความดันเลือดสูงน้อยกว่า
  • มีระดับไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)ต่ำกว่า
  • มีอาการเจ็บป่วยน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ หรือปัญหาสุขภาพอย่างแรง

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลียศึกษาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงน้องหมากับการออกแรง-ออกกำลังพบว่า

  • คนที่เลี้ยงน้องหมาออกแรง-ออกกำลัง (อย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที) มากกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยง 68%
  • บ้านที่มีคอก(บ้าน)น้องหมาออกแรง-ออกกำลังเพิ่มขึ้น 55 นาทีต่อสัปดาห์ เมื่อเทียบกับบ้านที่ไม่ได้เลี้ยงน้องหมา

ธรรมดาของโลกเรานั้น... ข่าวดีกับข่าวร้ายมักจะมาคู่กันแบบหยินกับหยางเสมอ การเลี้ยงน้องหมาก็มีข้อควรระวังมากมายได้แก่

  • การเลี้ยงน้องหมาในบ้านทำให้เสียเวลาในการอาบน้ำ เช็ดตัว ทำความสะอาดขนที่ร่วงไปทั่วบ้าน เช่น ดูดฝุ่น ถูพื้น ฯลฯ
  • การเลี้ยงน้องหมาไว้นอกบ้านน่าจะดี โดยเฉพาะถ้ามีที่ให้น้องหมาได้เดินหรือวิ่งมากหน่อย เพราะน้องหมาที่ขุนจนอ้วนพี และไม่มีโอกาสออกกำลังก็มีโรคข้อเสื่อม โรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุงได้

  • การเลี้ยงน้องหมาไว้นอกบ้านควรมีคอกใหญ่หน่อยที่กันยุงให้น้องหมาได้ เนื่องจากมีโรคติดต่อผ่านยุง เช่น พยาธิปอด-หัวใจ(ของน้องหมา) ฯลฯ
  • ควรมีการฝึกอบรมน้องหมาให้มีระเบียบวินัย เช่น ไม่กัดคนนอกบ้าน ไม่เห่าหรือหอนรบกวนเพื่อนบ้าน ฯลฯ

  • ค่าอาหาร-ค่ายาน้องหมาอาจจะบานปลายได้ในระยะยาว จึงควรพิจารณาว่า คุ้มหรือไม่ในระยะยาว
  • ต้องระวังไม่ให้น้องหมาไปกัดคนนอกบ้าน โดยเฉพาะกัดเด็ก ซึ่งอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนับแสนหรือนับล้านบาทได้ (ถ้าน้องหมากัดหน้าเด็กจนเสียโฉม) เนื่องจากน้องหมาดุๆ มีแนวโน้มจะกัดเด็กมากกว่ากัดผู้ใหญ่ (ทำไมมีนิสัยชอบรังแกผู้น้อยคล้ายผู้บริหารบางคนก็ไม่ทราบ)

  • น้องหมาจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ฯลฯ จึงควรพิจารณาก่อนเลี้ยงว่า มีแรงมีกำลังพอที่จะพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำทุกปีหรือไม่
  • น้องหมามีลักษณะเป็นสัตว์ “ชอบเข้าสังคม(กับน้องหมาหรือคน)” มากกว่าสัตว์ประเภท “ชอบวิเวก”... การปล่อยน้องหมาให้อยู่บ้านตัวเดียวนานๆ อาจทำให้น้องหมาเหงา ซึมเศร้า เครียด หรือเป็นโรคประสาทได้

  • น้องหมาเป็นสัตว์อายุสั้น ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 8-14 ปี... ก่อนเลี้ยงน้องหมาควรทำใจไว้ล่วงหน้า เวลาน้องหมาจากไปจะได้ไม่เศร้าสร้อยเกินเหตุ เรื่องนี้ควรสอนเด็กๆ ในบ้าน(ถ้ามี)ให้เข้าใจธรรมชาติของการเวียนว่ายตายเกิดด้วย นี่เป็นธรรมดาของชีวิต

ถ้าชอบอิสระ... การขออนุญาตเพื่อนบ้านให้อาหารน้องหมาเป็นครั้งคราวอาจจะสะดวกกว่าการเลี้ยงเอง

ถ้าชอบออกกำลังเป็นประจำ... การเดิน เดินขึ้นลงบันได ทำงานบ้าน หรือซื้อเครื่องออกกำลังชนิดลู่วิ่ง-เดินไฟฟ้า (treadmill) อาจจะสะดวกกว่าการเลี้ยงน้องหมาก็ได้

พวกเราที่ชอบวิ่งออกกำลังผ่านบ้านที่มีน้องหมา... ควรระวังอย่าไปมองหน้าน้องหมาตรงๆ เพราะน้องหมาพันธุ์ดุมักจะเป็นโรค “ไม่ชอบให้ใครมองหน้า”

เรื่องนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไมหมาพันธุ์ดุกับคนพันธุ์ดุถึงไม่ชอบให้คนอื่นมองหน้า

การมองหน้าหมาพันธุ์ดุตรงๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกหมากัด ส่วนการมองหน้าคนพันธุ์ดุก็อาจมีอันตรายปางตายหรือตายได้คล้ายๆ กัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี มีโอกาสอยู่รอดปลอดภัยจากคนพันธุ์ดุ หรือหมาพันธุ์ดุไปนานๆ ครับ

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "สัตว์เลี้ยง"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "คลายเครียด"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "โคเลสเตอรอล / ไขมันในเลือด"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ความดันเลือด / ความดันโลหิต"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

</span><ul>

  • Many thanks to Reuters > Diet Blog > Buy a dog to get healthy? > [ Click ] , [ Click ] , [ Click ] > August 2, 2007. // source: British Journal of Health Psychology > [ Click ] & [ Click ]
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 4 สิงหาคม 2550.
  • </ul></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 116749เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท