ข้าวสุก ปลาตาย


ข้าวสุก ปลาตาย หมายถึงอะไร พ่อใหญ่ บอกว่า ทุกอย่างสำเร็จรูปหมด พร้อมใช้ พร้อมกิน มีคนทำให้ มีคนเอามาให้ บ้านก็สำเร็จรูป เป็นบ้านจัดสรร เสื้อผ้าก็สำเร็จรูป อาหารก็สำเร็จรูป ยารักษาโรคก็สำเร็จรูป แม้กระทั่งการจัดการศึกษาก็สำเร็จรูป

       วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้เฒ่าชาวเม็กดำ   พ่อใหญ่ดา    จริยามา    เจ้าของวลี  KM คือ ปุ๋ย   ที่ชวนให้หลายคนคิดแบบคิ้วขมวด       พ่อใหญ่บอกว่าถ้าสิ่งที่ทำมาแล้วคือ KM     ดังนั้น   KM  จึงเปรียบเป็น  ปุ๋ยใส่คนให้เจริญงอกงาม                                    

        ผมตั้งคำถามว่า ทำไมเด็กๆสมัยนี้ โดยทั่วไปจึงไม่ใส่ใจในไร่นา  ทั้งที่สิ่งเหล่านี้คืออาชีพที่แท้ของชุมชนคนไทย    พ่อใหญ่ตอบว่า  เด็กๆสมัยนี้ข้าวสุก  ปลาตาย   ผมเริ่มสงสัย และดูเหมือนพ่อใหญ่จะรู้ทัน  ท่านจึงพูดต่อว่า  ถ้าจะโทษกันว่าสาเหตุมาจากใคร  พ่อใหญ่บอกว่า ให้โทษครอบครัวก่อน   เพราะทุกคนออกจากบ้านและเข้าบ้านทุกวัน  เด็กๆอยู่บ้านมากกว่าโรงเรียน  อย่าโทษโรงเรียน   ถ้าใครโทษโรงเรียน ให้ลองมาเป็นครูสอนเหมือนที่พ่อใหญ่กำลังทำขณะนี้                                    

        ผมตั้งคำถามต่อว่า แล้วข้าวสุก ปลาตาย  หมายถึงอะไร   พ่อใหญ่ บอกว่า ทุกอย่างสำเร็จรูปหมด  พร้อมใช้ พร้อมกิน  มีคนทำให้  มีคนเอามาให้  บ้านก็สำเร็จรูป เป็นบ้านจัดสรร  เสื้อผ้าก็สำเร็จรูป   อาหารก็สำเร็จรูป   ยารักษาโรคก็สำเร็จรูป  แม้กระทั่งการจัดการศึกษาก็สำเร็จรูป    ผมได้จังหวะดี เลยบอกว่า ไหนพ่อใหญ่บอกให้อย่าโทษโรงเรียน   พ่อใหญ่มองหน้าผมแล้วยิ้มๆ แต่เป็นรอยยิ้มที่ผมคุ้นเคยและอบอุ่น เสมอมา                               

         พ่อใหญ่ดา  จริยามา   อายุ   70   ปี   แต่ยังแข็งแรง  ชอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่น    กลุ่มช้างน้าว  ของพวกเราชาวเม็กดำ     ท่านเมตตาพวกเราด้วยการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง  KM    ในทุกเวทีทั้งในและนอกพื้นที่   และในเวที  U km   ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  เป็นเจ้าภาพ  ระหว่าง  23-24   สิงหาคม   2550      พ่อใหญ่ดา  รับปากว่าจะเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ทิ้งท้ายวันนี้ ท่านตั้งข้อสงสัยว่า  นักวิชาการกับการบริการวิชาการแก่ชุมชน ฟังดูแล้วน่าสนใจและน่าเรียนรู้           

หมายเลขบันทึก: 116400เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันชอบที่จะรู้ว่า ที่ในแต่ละท้องถิ่น มีคลังสมองแบบนี้ค่ะ

พ่อใหญ่ดา  จริยามา   อายุ   70   ปี   แต่ยังแข็งแรง  ชอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่น    กลุ่มช้างน้าว  ของพวกเรา

ชื่นชมคะท่านมืออาชีพจริง ๆ ได้มีโอกาสฟังท่านบรรยายการบริหารจัดการศึกษา

(20 ก.ค.50) บ้านพ่อครูบา   มีโอกาสอยากไปเยี่ยมชมโรงเรียนคะ
  • แวะมาทักทายค่ะอาจารย์  ไม่เจอกันซะนาน
  • หว้าเข้าใจคำว่า "ข้าวสุก  ปลาตาย"แล้วค่ะ
  • เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับทั้งครอบครัว  ตลอดจนสถานศึกษาค่ะ
  • เดี๋ยวนี้อาจารย์หลายท่านก็สอนแต่จะให้นักศึกษาเข้าไปทำงานในเมืองหลวง  แทนที่จะปลูกฝังให้เด็กรักชุมชน  รักบ้านเกิด
  • อุ๊ย. ขอโทษค่ะ  บ่นไปนิดนึง   เรื่องนี้ต้องช่วยกันทุกฝ่ายค่ะ
  • เห็นโปรแกรม UKM11 จากblog อ.ขจิต แล้ว แสดงว่าทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คงเชิญท่านเป็นวิทยากร แล้วใช่ไหม ครับ ?
  • .http://gotoknow.org/blog/yahoo/116604

เยี่ยมมากครับจารย์

ขอนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท