จิต : อำนาจของกลุ่มกับพฤติกรรมคล้อยตาม


บางทีเราเดินไปพบกลุ่มคนขนาดสองคนยืนดูอะไรอย่างหนึ่งข้างถนน  เราอาจะรู้สึกเฉยๆ  และเดินผ่านไปอย่างไม่ได้คิดอะไร   แต่ต่อมา เราเดินมาพบคนอีกกลุ่มหนึ่ง  มีขนาด ๑๐ คน ยืนมุงดูอะไรอย่างหนึ่ง  คราวนี้เราอาจจะรู้สึกสนใจบ้าง  และเดินเร่เข้าไปดูกับเขาด้วย  เหตุการณ์เช่นนี้เราจะพบบ่อยๆ  แต่เราไม่ค่อยได้คิดมากนัก

แต่บางคน "คิด" ครับ

คือคิดว่า ---  ทำไมเราไม่สนใจกลุ่มนาดสองคน ----  แต่เรามาสนใจเมื่อกลุ่มมีขนาดโตขึ้น ?

และคิดต่อไปว่า  --  เอ  เมื่อตะกี้นี้ เราเดินเข้าไปหากลุ่มใหญ่ ! ---  แสดงว่า  "กลุ่มมี อำนาจ" นะซี !  --  อำนาจของกลุ่ม ไงละ  เพราะว่า  กลุ่มขนาดเล็กมี "อำนาจ" ดูดน้อยกว่ากลุ่มใหญ่ !!

และ "การเดินเข้าไปหากลุ่มนั้น" ของเรา ก็เป็น "พฤติกรรมคล้อยตามนะซี?"

ความคิดสองประการนี้เป็น "สมมุติฐาน" ครับ  ถ้าเราคิดเช่นนี้  เราก็ "เป็นนักวิจัย"ได้ ครับ !!

ได้มีผู้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วครับ  และนานมาแล้วด้วย  คือ เขาจัดกลุ่มขนาดต่างๆขึ้นมา  เช่น  ขนาดสองคน  ห้าคน  สิบคน  สิบห้าคน เป็นต้น  กลุ่มเหล่านี้เรียกว่า "กลุมหน้าม้า"  คือรู้กันกับผู้วิจัย  จากนั้นจึงให้กลุมขนาด สองคน  เดินไปแบบไมได้ตั้งใจ  ไปยืนดูที่หน้าต่างตึกสมมุติว่าเป็นชั้นที่ห้า  แล้วนักวิจัยก็บันทึกภาพอยู่ห่างๆ  เมื่อคนเดินไปมา "หยุดยืนดูด้วยครู่หนึ่งแล้วผ่านไป"  และ"หยุดยืนดูด้วยนาน"  จากนั้นไม่นาน  กลุ่มนั้นก็สลายไป  ต่อมาเขาให้กลุ่มขนาดห้าคนไปยืนดูหน้าต่างตึกชั้นที่ห้านั้นอีกเช่นกัน  แล้วบันทึกภาพไว้เช่นเดียวกัน  เขาทำเช่นเดียวกันกับกลุ่มขนาดสิบคน  และขนาดสิบห้าคน

ผลการวิเคราะห์เขาพบอย่างน่าทึ่งว่า  "เมื่อกลุ่มมีขนาดโตชึ้น  คนที่ผ่านมาและหยุดยืนดูดูครู่หนึ่งแล้วผ่านไป  ก็มีขนาดเพิ่มขึ้นตามขนาดของกลุ่ม"  และเช่นเดียวกัน " ผู้ที่ผ่านไปมาและหยุดยืนดูดูอยู่นานทำให้กลุ่มโตขึ้นๆ ไปตามขนาดของกลุ่มหน้าม้าเช่นกัน"

เขาจึงสรุปว่า  "กลุ่มมีอิทธิพล" (Influnce) หรือ "มีอำนาจ"(Power) ด้วย   และประการที่สอง  "กลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่ามีอิทธิพลหรืออำนาจสูงกว่ากลุ่มที่เล็กกว่า"

ผลอันี้ลือลั่นมาก  ได้มีการนำเทคนิคนี้ไปใช้ในวงการต่างๆ  เช่น  วงการธุรกิจ  วงการเมือง  วงการทหาร   การเดินขบวน  การก่อม็อบต่างๆ การแข่งขันต่างๆ  การโฆษณาชวนเชื่อ  เป็นต้น

และแน่นอนทีเดียวครับ  ผู้ไปร่วมมุงดูด้วยนั้นก็คือ "พวกที่มีพฤติกรรคล้อยตาม" ครับ

คำสำคัญ (Tags): #influence power conformity
หมายเลขบันทึก: 116393เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เรื่องนี้เป็นจิตวิทยาที่ใช้ได้ดีมากค่ะ

ดิฉันชอบติดต่อห้าง ขอพื้นที่หัวshelves ให้เด็กนำของไปทำpromotion

คนจะมาดู บางทีมีหน้าม้าบ้าง คนจะเริ่มมากๆเข้า ตานี้ คนมาเองจริงๆเลย มีโอกาสขายดีค่ะ

พื้นที่ตรงนี้ ถ้าใครทำยอดไม่ได้ ทางห้างจะขอคืนค่ะ เป็นทำเลที่ดีมากค่ะ

ยิ่งคนมุงมาก ยิ่งขายดี

ครับ บางคนบางร้านใช้หน้าม้าในรูปแบบที่แปลกครับ  เช่น  ร้านมินิมาร์ท  หรือห้างสรรพสิค้า  เชาใช้รถจักรยานยนต์มาจอดเต็มหน้าร้าน (อันที่จริงเป็นรถของลูกจ้างในห้างนั้นนั่นเองครับ)  ทำให้ดูว่า  คนเข้าร้านมาก  ทำให้คนผ่านไปมาเกิด "พฤติกรรมคล้อยตามกลุ่ม" เดินเข้าไปด้วย  และต่อยเพิ่มขึ้น ๆ

ผมเองเคยทดลองเรื่องนี้ครับ  คือ  เมื่อเข้าไปเที่ยวตามห้างสรรสินค้า  ผมเห็นบล็อกไหนไม่มีคนเข้า  ผมก็จะเข้าไป  ทำทียืนดูสินค้านั่นนี่  สักครู่ผมสังเกตเห็นคนที่ผ่านไปมาค่อยๆทะยอยเข้าไปชมบ้าง และไม่นาน บล็อกนั้นก็มีคนเต็ม  ผมอดขำไม่ได้  และเดินจากไป

ถึงแม้ว่าเป็นร้านอื่นที่ไม่ใช่ร้านแบบอาจารย์ว่า  ถ้าอาจารย์ให้ลูกศิษย์สัก ๑๐ คน  ให้แต่งกายแบบคนทั่วไป  คอยเดินเข้าๆออกๆ ไม่นานหรอกครับ  คนอื่นๆ จะคล้อยตามกันเป็นแถวแหละครับ

หลักการนี้มีประโยน์ต่อธุรกิจมากทีเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท