ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง .....2


ศูนย์เรียนรู้มักมีหลักสูตรของตัวเอง...หนองกลางดงก็เช่นกัน

ชุมชนบ้านหนองกลางดง ดำเนินกิจกรรมเอาตัวรอดจาก ชุมชนที่มีปัญหาอย่างรุนแรง เป็นแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง เมื่อกลับมาคิดว่าตัวเองพร้อม....เราก็ต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนอื่น ต่อไป .ไม่ว่า เรื่องสภาผู้นำชุมชน (ชาวบ้านควรทำเอง รัฐไม่ควรเข้ายุ่ง แต่ควรจะสนับสนุนงบฯ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องของกิจกรรมในชุมชนได้)   เรื่องแผนชุมชน(แผนแม่บทชุมชน)  เรื่องวิสาหกิจชุมชน  เป็นต้น สำหรับเรื่องระบบการเรียนรู้ของชุมชน บ้านหนองกลางดงก็ มี 3 หลักสูตร ......

ได้แก่ หลักสูตร แรก  เป็นหลักสูตรการมาศึกษาดูงาน ระยะสั้น หนึ่งวัน มาเช้า เย็นกลับ......ก็จะมีการดูวิดีทัศน์  การให้ความรู้  จาก ผู้นำของสภาผู้นำฯ  และผู้ใหญ่โชคชัย   ลิ้มประดิษฐ์  จบไปหนึ่งหลักสูตร

หลักสูตรที่สอง  เป็นการเข้ามาทัศนศึกษา และเก็บเกี่ยวความรู้ ระดับกลาง  พักค้างคืน หนึ่งคืน สองวัน  จะให้ความรู้ วิดีทัศน์  เล่าเรื่องการทำงานของสภาผู้นำ ฯ  พาดูงาน เกษตรปลอดสารพิษ เกษตรพึ่งตนเอง กลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ ทั้งหมู่บ้านใกล้เคียง กลุ่มแม่บ้านกวนสัปประรด  และสรุปบทเรียน ก่อนกลับภูมิลำเนา เป็นต้น

หลักสูตรที่สาม เป็นการเข้ามาเรียนรู้ แบบเข้าใจ ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน  โดยนำเอาการทำงานของแผนชุมชน มาเป็นแบบฝึกหัดด้วย ประมาณ 1 วัน 1 คืน (ตั้งแต่ รวบคนดี คนเก่ง ถึงการออแบบสอบถาม ออกเก็บข้อมูล ,นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำจริงในพื้นที่เลย ) อย่างอื่นก็บรรยายสรุป เรื่องของพื้นที่ และศึกษาดูงานในเวลาที่เหลือครับ ..

นี้คือระบบการเรียนรู้ในชุมชนบ้านหนองกลางดง ผู้นำตัวจริงเสียงจริง ยังทำหน้าที่นี้ตลอดเวลาครับ........

หมายเลขบันทึก: 116286เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

                          วิสาหกิจชุมชน

        ก่อนอื่นพวกเราต้องขอขอบคุณที่ท่านแสดงความคิดเห็น

         พอดีท่านอยู่ในสถาบันวิสาหกิจชุมชน  ตอนนี้กลุ่มของพวงเรากำลังเรียนเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน  และในวันที่  30  กรกฎาคมที่ผ่านมาอาจารย์ได้พาไปดูงานเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนบ้านแคว  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่  แล้วต้องนำมาเขียนเป็นรายงานให้ได้  3  วิชาคือ

       วิชา  วิสาหกิจชุมชน, การบริหารจักการองค์กรการเงิน ,  การจัดการสวัสดิการชุมชน

       พอดีกลุ่มเราไปฟังกันทั้งกลุ่มแต่ก็ไม่รู้ว่าจะนำมาเขียนอย่างไร  เพราะว่าวิทยากรที่อธิบายนั้น  อธิบายวกไปวนมาทำให้จับใจความไม่

       ขอท่านช่วยแนะนำกลุ่มของพวกเราด้วย    ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ!!!!!

สวัสดีครับ.....คุณนักศึกษาม.ชีวิต ของศูนย์ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่  คงไม่ช้าไปครับ.......ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ถ้าเราลงชุมชนไปแล้วเห็นกิจกรรมของชุมชนเป็นหลายอย่าง ก็จะมีเรื่องให้ติดตามว่า  กิจกรรมของชุมชนนั้น......

 มีเรื่องวิสาหกิจชุมชน หรือเปล่า หนึ่ง มีเรื่องการจัดการการเงินของชุมชน หรือเปล่า  สอง และมีเรื่องการจัดการสวัสดิการภายในชุมชน เป็นเรื่องที่สาม และอีกมากมายครับ นักศึกษาหาอ่านได้ที่ www.phongphit.com  ครับ ถ้าไม่เข้าใจ

ผมจะแยกเป็น 3 ตอน ตอนแรก จะอธิบายเรื่องของวิสาหกิจชุมชนก่อนครับ.....วิสาหกิจชุมชน อ.เสรี ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นการประกอบการขนาดย่อม -จิ๋วของชุมชน (การรวมตัวกันหรือแยกกันทำก็ได้) โดยมีการจัดการ  "ทุน"  ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนอง การพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชน

ความเป็นวิสาหกิจชุมชนนั้นมีองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการคือ 1. ชุมชนเป็นเจ้าของ 2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน 3.เป็นการริเริ่ม(นวัตกรรม)ของชุมชน 4. ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล 5. ดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมกันเป็นระบบ 6. หัวใจอยู่ที่การเรียนรู้ 7. เป้าหมายที่การพึ่งตนเอง

และมักจะเป็น 2 ประเภท คือ 1.วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน เพื่อทำกินทำใช้กันเองในชุมชน ทุกครอบครัวพึ่งพาตนเองได้ พอกิจพอใช้  ไม่ต้องซื้อก็เท่ากับลดรายจ่าย  รายได้ที่ได้มาก็หมดเปลืองน้อยลง(ใช้น้อย)  2.วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า เป็นอีกขั้นตอนการผลิตที่เหลือจากการบริโภคกันเองในชุมชนแล้ว นำเข้าสู่ตลาดบริโภค หรือขายชุมชนอื่น ๆ

นั่นคือ เป้าหมายแรกคือ อยู่รอด  ส่วนรวยค่อยว่ากันในขั้น วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า  หรือต่อไปเป็นธุรกิจชุมชน.....เอาหลักการแค่นี้ก่อนครับ

แต่ส่วนใหญ่ ชุมชนหลังปี 2540 มา มักจะได้จัดทำแผนแม่บทชุมชน กันขึ้นมาก่อนทำวิสาหกิจชุมชน เพราะวิสาหกิจชุมชน (ยกเว้นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ) มักจะเริ่มคิดจากฐานค่าใช้จ่ายในชุมชนก่อนว่า ปีละเท่าไหร่ เช่น ครอบครัวนี้ต้องใช้ผงซักฟอกวัน ละ 1 ซอง (10 บาท) คูณไป 365 วัน เท่ากับ 3,650 บาท ถ้าทำน้ำยาซักผ้าเอง ลงทุน 130 บาทใช้ได้ 3 เดือน(90 วัน) ถ้าหนึ่งปี ประมาณ 780 บาท ลดค่าใช้จ่ายไปได้  2,870 บาท(1 บ้าน 1ปี เรื่องเดียว) อย่างนี้ ถ้าทั้งหมู่บ้านจะลดได้เท่าไหร่

 

 

สวัสดีครับ.....คุณนักศึกษาที่รักที่ท่านครับ ....ผมได้ไปเปิดดูวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมแล้วครับ บ้านแควที่ว่าไปดูงานกันมาเป็นลักษณะคล้าย บ้านหนองกลางดง มาก การเขียนรายงานเรื่องวิสาหกิจชุมชน คงต้องอธิบายใหม่ครับ ที่ตอบไปแล้ว เป็นหลักการส่วนใหญ่ ซึ่งบางครั้งใช้ไม่ได้กับโรงงานอบลำไยแห้งที่คุณนักศึกษาไปดูมาครับ.........

หนึ่งตอบได้ว่า ลักษณะที่เข้าประเภทของวิสาหกิจชุมชนคือ ประเภทก้าวหน้าครับ แต่มีที่มาไม่เหมือนกับหนองกลางดง ........ครับ ...จะเล่าให้ฟัง

หนองกลางดง ก่อนหน้าปี 2545 ชาวบ้านปลูกสัปรดขายโรงงานอย่างเดียว ยังดีที่มีข้าวที่ปลูกเองไว้กิน ไม่อย่างนั้นชาวบ้านบ้านหนองกลางดง ต้องจำนำที่ดินของตนเองไปจนหมดแน่ครับ .....ปี 2543 หนองกลางดง ได้จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ของตนเองขึ้น เพื่อปรึกษาหารือปรับทุกข์ของหมู่บ้านชุมชน ว่าปัญหามีอย่างนี้ เราจะทำกันอย่างไร?  เริ่มด้วยทำแผนแม่บทชุมชนขึ้นมาเพื่อได้ข้อมูลที่จริงขึ้นมา ปีที่สามเกิดเรื่องว่า ราคาสัปรดตกมากที่ราคาลูก 2.75 บาท ซึ่ง ต้นทุนการปลูกอยู่ที่ 4 บาท เพราะฉะนั้นชาวบ้านหลายที่ผ่านมา ทน.....ครับ หวังว่าปีหน้าที่ราคาสูงขึ้น

แต่บ้านหนองกลางดงไม่คิดอย่างนั้น เพราะมีตัวอย่างเช่นไปดูที่ไม้เรียงมาแล้ว เครือข่ายเกษตรกรรมธรรมชาติของภาคตะวันตกก็มีตัวอย่างให้แล้ว ก็ไปดูกัน...กลับมาส่วนหนึ่งไปทำไร่สัปรดด้วยเกษตรอินทรีย์ ลดต้นทุนในปีถัดมาถึงขนาดว่า ลูก 1.75 ก็ขายได้ ไม่ขาดทุน ครับ นอกเหนือจากนั้น สัปรดที่ไม่ได้ขนาดก็ขายไม่ได้ เพราะโรงงานไม่เอา ปล่อยทิ้งในไร่ไม่เก็บ เน่าไปเท่านั้นเอง .....มีกลุ่มแม่บ้านก็ทำเรื่องอื่นไม่คิดทำสัปรดกวน เพราะเบื่อ ทำอาหารหลายอย่างแล้วจากสัปรดเพื่อไม่ต้องซื้อจากข้างนอก นานไปก็เบื่อครับ...

....วันหนึ่งมีพ่อค้าใจดีมาถามว่า หนองกลางดงนี้ไม่ทำสัปรดกวนเหรอ ....แม่บ้านตอบว่า ทำไปทำไม่เพื่อทุกหมู่บ้านก็ทำกันเหมือนกันหมด สิ้นเปลืองเงินไปซื้อ แบแซ ซื้อน้ำตาล เปล่า ๆ ทำแล้วขายไม่ได้...ไม่คิดทำกันหรอก ไปถามหมู่บ้านอื่นเถอะ......

แต่สภาผู้นำบอกว่าน่าทำ เพราะเรามี "ทุน" ครับ สัปรดก็ไม่ได้ซื้อ ไปเก็บจากไร่ของแต่ละคนมา กลุ่มออมทรัพย์ให้กู้เงินไปซื้ออุปกรณ์  เครื่องมือ เครื่องใช้น้ำตาล แบะแซ กระดาษแก้วห่อ และถุงพลาสติด ทำครั้งแรกพ่อค้า สั่ง 1 ล้านบาทครับ ให้เสร็จภายใน 4 เดือน ส่งขายทุกปั้มบางจาก สมัยนั้น.....กลุ่มแม่บ้านทำงานกันทั้งวันทั้งคืน...เสร็จตามเป้าที่วางเอาไว้ ..พัฒนาการที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มแม่บ้านต้องไปเรียนรู้วิธีทำสัปรดไม่ใส่น้ำตาลมาก่อน ให้ได้สูตรก่อน แล้วไปสอนกลุ่มรอบ ๆ ตำบล เพื่อทันกำหนดเวลา ....ปัจจุบัน กลุ่มแม่บ้านกวนสัปรด มีรายได้แน่นอน เดือนหลายหมื่น สามารถประกันราคาสัปรดทิ้งในราคาลูก 2 บาท ถ้าปอกเปลือกมาแล้ว คิด 5 บาท ชาวบ้านยิ้มได้ เพราะราคานี้ประกันทั้งปี .....นี่คือวิสาหกิจชุมชนครับ ตอนนี้ถ้าไปชิมสัปรดกวนของหนองกลางดงแล้วอาจจะไม่คิดซื้อของที่อื่นก็เป็นได้ครับ.....

นอกเหนือจากนั้น ชาวบ้านจากเพชรบุรีมาซื้อสัปรด ลูกละ 2 บาทเหมือนกันไปให้วัวกิน เพราะว่าได้ทั้งน้ำและเนื้อ วัวตัวอ้วนพีครับ นอกจากนั้นอีก ประเทศตะวันออกกลางก็มารับซื้อ เนื้อที่หันเป็นชิ้น ในราคากิโล ละหลายบายครับ จากสัปรดที่ถูกกดราคา กลายเป็นสินค้าที่น่าสนใจของทุกฝ่ายไปแล้วครับ....ตอนหน้าตอบเรื่อง การจัดการการเงินของชุมชนครับ (ออมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ครับ).........

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท