วิจิตร คุณาวุฒิ เศรษฐีตุ๊กตาทอง


บันทึกเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ เกียรติยศที่มอบให้แก่นักหนังสือพิมพ์ ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และศิลปินแห่งชาติที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย วิจิตร คุณาวุฒิ

วิจิตร คุณาวุฒิ

เศรษฐีตุ๊กตาทอง   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เส้นทางและบทพิสูจน์ของคน บางคนอาจสั้นเพียงชั่วข้ามคืน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บางคนยาวไกลและยาวนานจนชั่วชีวิต กว่าจะพิสูจน์ผลงานแห่งความฝัน หรือผลจากความพยายาม เพื่อบอกกล่าวตัวตนโดยไร้เสียง </p>  แต่เป็นคำพูดจากบทพิสูจน์แห่งชีวิต ด้วยการกระทำ   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฝากนามแห่งผู้กำกับผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย ให้แผ่นดินนี้ได้รับรู้ </p>  ในนาม “คุณาวุฒิ”    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คุณาวุฒิ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วิจิตร คุณาวุฒิ เจ้าของฉายาเศรษฐีตุ๊กตาทองแห่งวงการภาพยนตร์ไทย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยจบการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังเรียนจบ ได้ประกอบอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ “ชีวิตไทยรายสัปดาห์” ผ่านการโลดแล่นด้วยข้อเขียนบทความบทข่าว และการเจาะลึกข่าวหน้าหนึ่งหลายต่อหลายชิ้น โดยหลังจากสนุกกับอาชีพนักเขียน และนักข่าวอยู่กว่า 10 ปี จึงพบว่า อาชีพนี้หาได้เป็นอาชีพ ที่จะสามารถสร้างหลักฐานให้แก่ครอบครัวได้</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เส้นทางสายอาชีพใหม่ของเขาจึงเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง โดยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 เมื่อ ประทีป โกมลภิส ชักชวนให้ร่วมเล่นบทผู้ร้ายในภาพยนตร์เรื่อง “ฟ้ากำหนด” ซึ่งถือเป็นก้าวย่างแรกในวงการภาพยนตร์</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นับเป็นก้าวแรกที่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากนั้น ครูมารุด - ทวี ณ บางช้าง ผู้กำกับและนักเขียนบทชั้นนำในขณะนั้น ได้ชักชวนให้ช่วยเขียนบทภาพยนตร์ เรื่อง “สันติ-วีณา” การทำงานร่วมกับครูมารุดในครั้งนั้น ทำให้ วิจิตร คุณาวุฒิ ได้เรียนรู้การเขียนบทภาพยนตร์ตามหลักวิชา รวมทั้งค้นพบกับเส้นทางสายใหม่ของชีวิต</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา”  วิจิตร คุณาวุฒิ ได้หันหลังให้กับงานหนังสือพิมพ์ เพื่อเข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างเต็มตัว โดยมีงานกำกับ และเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก คือ “ผาลีซอ” ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งภายหลังการออกฉาย เขาได้รับการยอมรับในฝึมือจากคนร่วมอาชีพเดียวกันอย่างมากมาย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต่อมา วิจิตร คุณาวุฒิ ลงทุนทำภาพยนตร์ด้วยเงินลงทุนของตนเอง เรื่อง “มือโจร” ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับรางวัลหนังยอดเยี่ยม รางวัลดาราสมทบฝ่ายชายจาก ประจวบ ฤกษ์ยามดี และรางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม จากการประกวดรางวัลตุ๊กตาทอง ในปีนั้น</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปีถัดมา ปี พ.ศ. 2504 วิจิตร คุณาวุฒิ ก็ยังคงเป็นพระเอกในเวทีการประกวดตุ๊กตาทอง โดยได้รับ 4 รางวัล จากการกำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - เขียนบท - เขียนเรื่อง - และลำดับภาพยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง “สายเลือดสายรัก”</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากนั้นในเวทีการประกวดตุ๊กตาทองทุกปี จะต้องมีชื่อของ วิจิตร คุณาวุฒิ ขึ้นรับรางวัลในทุกครั้งของเวทีเกียรติยศแห่งนี้ จนกระทั่งในการประกวดผลรางวัลตุ๊กตาทอง ปี พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะหยุดพักการจัดงาน วิจิตร คุณาวุฒิ ก็ได้เป็นเจ้าของรางวัลแห่งเกียรติยศตุ๊กตาทอง ถึง 14 รางวัล จนเป็นที่มาของฉายาว่า เศรษฐีตุ๊กตาทองแห่งเมืองไทย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในปี พ.ศ. 2521 วิจิตร คุณาวุฒิ เริ่มต้นทำงานกับบริษัทไฟว์สตาร์ ด้วยภาพยนตร์เรื่อง “เมียหลวง” หลังจากนั้น เขาได้เปลี่ยนแนวในการทำงานภาพยนตร์จากเรื่องราวหนังชีวิต สู่หนังกึ่งสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่อง “คนภูเขา” หลังจากนั้น วิจิตร คุณาวุฒิ ก็ได้ตอกย้ำความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการกำกับภาพยนตร์กึ่งสารคดีชีวิตชาวอีสาน เรื่อง “ลูกอีสาน” </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โดยภาพยนตร์เรื่อง “ลูกอีสาน” ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2525 จะไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ แต่ในด้านรางวัล ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับกวาดรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมากมาย ทั้งตุ๊กตาทอง สุพรรณหงส์ทองคำ และได้รับเกียรติเข้าร่วมการประกวดในระดับนานาชาติอีกมากมาย นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง “ลูกอีสาน” ยังได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ทุกยุคทุกสมัย ว่าเป็นหนังไทยที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในวงการภาพยนตร์ไทย และเป็นหนังที่ดีที่สุดในชีวิตการทำงานภาพยนตร์ของ วิจิตร คุณาวุฒิ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังการทำภาพยนตร์เรื่อง “ลูกอีสาน” วิจิตร คุณาวุฒิ ยังผลิตผลงานการกำกับภาพยนตร์ อีกสองเรื่อง คือ “ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด” และ “เรือนแพ” ก่อนที่จะหยุดพักการทำงานในวัย 67 ปี</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากประสบการณ์การทำงานภาพยนตร์ และผลงานที่ผ่านการพิสูจน์มาตลอดชีวิต ชีวิตการทำงานของ วิจิตร คุณาวุฒิ ได้วนกลับมาสู่เกียรติยศครั้งยิ่งใหญ่อีกนับไม่ถ้วน โดยในปี พ.ศ. 2526 เขาได้รับการยกย่องจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เป็นรายแรกของประเทศไทย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และในปี พ.ศ. 2530 เขาได้รับเกียรติยศครั้งสำคัญในแผ่นดินแม่ ด้วยได้รับเกียรติเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนแรกที่ได้รับการยกย่อง จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จนกระทั่งความจริงของชีวิตได้มาเยือนวงการภาพยนตร์ไทย โดยในปี พ.ศ. 2540 วิจิตร คุณาวุฒิ ได้เสียชีวิต ด้วยวัย 75 ปี นับเป็นหน้าหนึ่งในการสูญเสียบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ ของวงการศิลปะการแสดงของไทย  </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และอีกครั้งสำคัญเกียรติยศครั้งสำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2548 งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ได้ประกาศความยิ่งใหญ่ โดยจัดงานคารวะต่ออดีตผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับการแสดงที่นับเป็นหนึ่งในปรมาจารย์ด้านภาพยนตร์ของไทย โดยนำผลงานภาพยนตร์ระดับอมตะ มานำเสนอ 4 เรื่อง ได้แก่ คนภูเขา ลูกอีสาน เมียหลวง และผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นับเป็นเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ของนักหนังสือพิมพ์ ผู้กำกับการแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ที่ได้เดินทางสู่จุดยิ่งใหญ่ ด้วยหยาดเหงื่อการทำงานและความใฝ่ฝันในชีวิต</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ้างอิง - ข้อมูล </p>  Lifetime Achievement Award 2005 - Vichit Kounavudhi The National Artist - Bangkok International Film Festival - January 13 - 24   2005    

หมายเลขบันทึก: 116280เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท