จาก “กระต๊อบไม้ไผ่ “ถึงหอคอยงาช้าง”กับหุบเหวที่ต้องทะยานข้าม


ผมคิดว่า สิ่งสำคัญมากกว่าการอยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ นั่นก็คือ เรารู้ข้อจำกัดของมุมมองของเราหรือเปล่า เรามีวิธีคิดในการมองจากมุมของเราอย่างไร และศักยภาพของเราที่จะมองต่างมุมและเชื่อมโยงกับมุมมองต่างๆมีมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้ รวมถึง มโนสำนึกที่เรามีต่อสิ่งที่เรามองด้วย

ส่วนใหญ่  วงโคจรในการนำเสนอบทความวิชาการและบรรยายของผม  เท่าที่ผ่านมาจะเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา  และสถาบันวิจัยของรัฐเสียส่วนมาก. คือ เราทำงานในระดับท้องถิ่น ก็จริง แต่ต้องอิงกับหลักวิชาด้วย  จะช่วยให้เรามีหลักยึด และเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของคนอื่นๆได้ โดยเฉพาะบทเรียนการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ นี่หากเรารู้และสามารถนำมาปรับกับงานที่เรากำลังทำอยู่ ก็จะช่วยทุ่นแรงมหาศาลไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณไปทำผิดซ้ำรอยคนอื่น   

      เวทีหอคอยงาช้าง  มันจึงยังประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้ในประเด็นนี้ คือ มองเห็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ทำให้เราไม่สุดโต่งกับการเป็นพวกท้องถิ่นนิยม(Localism)หรือปฏิบัตินิยมจนเกินไป ทำให้เรารู้จักกรอบคิดทฤษฎีในแง่เป็นเครื่องมือในการทำงานได้อย่างหลากหลาย  ด้านหนึ่ง มันช่วยให้เรามีกัลยาณมิตร ได้มองเห็นความสุข เศร้า เหงา เครียด ของการวิชาการ คือ มองว่าคนใน หอคอยงาช้างก็เป็นคนเหมือนกันกับเราๆท่าน            

 ผมรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักในฐานะนักวิจัยที่ต้องร่วมงานกับคนหลายระดับเวลาไปเวทีงานวิจัย ที่มีปฏิบัติการหรือนักท้องถิ่นนิยมมากๆ ก็จะพูดเชิงดูหมิ่น หรือเกทับนักวิชาการ มหาวิทยาลัย ในขณะที่ พอผมไปเวทีงานวิจัยในงานวิทยาลัยบางครั้งก็พบว่ามีเกทับนักวิชาการท้องถิ่น         

อยู่บนหอคอย สายตาก็จะมองเห็นภาพรวมของเมืองได้ เกิดเหตุร้ายเช่นไฟไหม้ รถชนกันขึ้นที่ไหน ก็มองเห็น แต่ถ้ามีผู้หญิงถูกทำร้ายในบ้าน อันนี้ก็มองไม่เห็น ไม่ได้ยินเสียง ต้องอาศัยคนที่อยู่พื้นล่าง ช่วยกันพังประตูเข้าไปช่วย           

ส่วนตัวผมคิดว่า ทำอย่างไรเราจึงจะก้าวข้าม หุบเหวแห่งการแบ่งแยก ดังกล่าวร่วมกัน ทำอย่างไรเราจะใช้จุดดีของทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการฟากหอคอยงาช้าง หรือนักวิชาการกระต๊อบไม้ไผ่ ทั้งสองล้วนมีจุดแข็งของตน  และมีจุดร่วมในบางเรื่อง อย่างหนึ่งก็คือ ล้วนเป็นคนในสังคมประเทศเดียวกันลึกไปกว่านั้นคือ มีความเป็นมนุษย์ที่รู้สึกรู้สม ต้องการการยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งนั้น             

ผมคิดว่า สิ่งสำคัญมากกว่าการอยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ นั่นก็คือ เรารู้ข้อจำกัดของมุมมองของเราหรือเปล่า เรามีวิธีคิดในการมองจากมุมของเราอย่างไร และศักยภาพของเราที่จะมองต่างมุมและเชื่อมโยงกับมุมมองต่างๆมีมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้ รวมถึง มโนสำนึกที่เรามีต่อสิ่งที่เรามองด้วย           

อยู่หอคอย แต่สายตาสั้น ซ้ำยังไม่อินังขังขอบจะช่วยเหลือใคร เทียบกับอยู่เหยียบดิน แต่สายตายาว รังเกียจกลิ่นหญ้ากลิ่นฟาง เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ มันก็ไร้ประโยชน์พอกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 116088เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตามมาอ่านตามประสาคนหัวอกเดียวกัน และคิดว่ามีนักวิชาการครึ่งๆกลางๆอย่างพวกเราอีกหลายคนที่ประสบปัญหาอย่างที่คุณยอดดอยว่า

ดิฉันยังเชื่อในความมุ่งมั่น และเชื่อว่าสิ่งที่พวกเราทำมาเป็นความพยายามลดช่องว่างบางประการ  น่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้างค่ะ   

สวัสดีครับน้องยอดดอย

  • ขอปรบมือดังๆให้กับความจริงในสิ่งที่น้องกล่าวถึง พี่ก็โดนมามากแล้วจนบางครั้งก็ไม่อยากจะร่วมวงด้วย แต่ใจก็คิดว่าวิชาการหรือทฤษฎีมันมีประโยชน์นะ เราในฐานะนักปฏิบัติ เราต้องการหลักการ ต้องการทฤษฎี ต้องการเรียนรู้และเอามาปรับใช้ในสนาม
  • แต่เมื่อเข้าเวทีกันก็ แทบแตกหักกันไปเลยก็มี อย่างที่น้องว่า หากลดอัตตาลงมาจับมือกัน เติมเต็มกันก็จะยิ่งก้าวไปข้างหน้า
  • นักวิชาการหลายคนหลุดลอยไปไกลเลย เพราะเขามีแต่ทฤษฎี  แต่ขาดข้อมูลในสนาม มีก็เก่าเต็มที ขณะที่เรามีข้อมูลสนามเต็มๆแต่ขาดหลักทางทฤษฎี เลยต้องเสียเวลาเรียนรู้เอง ค้นคว้าเอง เข้าห้องสมุดเอง ฯลฯ
  • อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางท่านที่เข้าใจ  แต่นักวิชการหอคอยส่วนมากพูดเสียงดังกว่าเราครับ
  • แต่จุดอ่อนนักวิชาการหอคอยคือ ข้อมูลสนามครับที่เป็นปัจจุบัน
  • อีกหน่อยพวกเราจะสร้างทฤษฎีขึ้นมาเองจากกระต๊อบครับ เพื่อคนทำงาน มิใช่เพื่อหอคอยครับ

คุณยอดดอยครับ

อ่านแล้วประทับใจมากเลยครับ แม้จะเป็นเรื่องที่เรารู้กัน แต่ก็ไม่มีใครพูด จริงไหมครับ?

ผมว่าคนไทย (จากประสบการณ์ของผมเอง) ให้ความสำคัญกับปริญญามาก (เกินไป) และให้ความสำคัญกับประสบการณ์น้อย (เกินไป)

หุบเหว ที่คุณยอดดอยกล่าวถึงก็จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ ครับ ถ้าเราไม่เปลี่ยนทัศนคติ

อย่าว่าแต่หอคอยงาช้างหรือท้องถิ่นเลยครับ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนหลายๆ ท่านก็มีท่าทีไม่ดีกับอาจาย์ในมหาวิทยาลัยรัฐฯ และในทางตรงข้ามก็เช่นกัน

แล้วให้ตายเถอะครับ เรื่องที่เปลี่ยนยากที่สุดของคนก็เรื่องทัศนคติเนี่ยละครับ ทำอย่างไรดี? จะรณรงค์กันเหมือนอย่างกระทรวงวัฒนธรรมรณรงค์เรื่องกระโปรงสั้นดีไหม ผมเองตอบไ้ด้แต่ว่าต้องเริ่มจากตัวเอง และค่อยๆขยายไปสู่วงเพื่อนสนิทมิตรสหาย แต่ก็ต้องทำอย่างไม่บังคับ เพราะทัศนคตินั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเสียเหลือเกิน

สวัสดีครับ อาจารย์ปัทมาวดี  พี่บางทราย และน้องแว้บ

  •        ผมก็ได้อานิสงฆ์จากการเข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์ แล้วนำมาคิดต่อยอดอีกนิดหน่อย อันนี้ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยกระตุ้นต่อมความคิดเช่นกันนะครับ 
  •        เรื่องนี้คุยกันมานานแล้วครับ นานอย่างมีประวัติศาสตร์ในตัวของมัน น่าจะมีคนศึกษาเรื่องนี้บ้าง อาจารย์ปัทมาวดีอาจจะยุให้นักศึกษาทำรายงานเรื่องนี้บ้างก็ไม่เลวนะครับ
  •         จริงๆ ผมเองได้รับการติดต่อจากโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มธ. ให้ไปเสนอบทความในงานประชุมประเพณีประจำปีนี้ ก็กะว่าจะพูดถึงการลดช่องว่างอย่างนี้อยู่ แต่เผอิญมีงานประชุมชนกันที่ไบเทค และผมต้องดูแลเด็กๆที่เดินทางไปด้วย ก็เลยไม่สามารถไปเสนอบทความที่ธรรมศาสตร์ได้ มิเช่นนั้น ก็อาจจะพูดถึงประสบการณ์ของตนเองในการใช้แนวคิดเฟมินิสต์ในแบบที่ติดดินได้มากขึ้น แต่ไม่แน่ว่า ปีหน้าไปอาจจะนำเสนอก็ได้ (แต่ก็จะลงในบล็อกไว้ด้วย)
  • จริงครับพี่บางทราย ที่ภาพรวมสังคมไทยให้ราคาลมปากนักวิชาการมากกว่าคนทำงานพัฒนาจากรากหญ้า แม้ลมปากนั้นจะเหม็นสุดจะทน คนก็ยังยกย่อง เฮ้อ!!!
  • ผมไปพบในหลายเวทีวิชาการ ที่ผู้วิจารณ์ฟาดฟันผู้นำเสนอบทความอย่าง "เลือดเย็น" และผมมองเห็นว่าครั้งหนึ่ง ผมเองก็เคยเป็นผู้อำมหิตอย่างนั้น ผมไม่คิดว่า นั่นจะเป็นวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันที่ดีสำหรับสังคมบ้านเรานะครับ และผมเองรู้สึกเสียใจทุกที ที่นึกถึง "แส้แห่งวิชาการ" ที่เคยใช้โบยตีผู้อื่น สิ่งที่ตัวเอง บันทึกนี้ อาจจะเป็นการไถ่โทษที่ผมเคยไปฟาดฟันผู้คนในวงวิชาการ ด้วยแนวคิดทฤษฏีและวาทศิลป์มาก่อน
  • ผมก็แค่เป็นคนช่างสังเกตครับ จริงๆแล้วผมเชื่อว่ามีนักคิดอีกเยอะที่สามารถคุยเรื่องนี้ได้อย่างแตกฉาน หากน้องแว้บ สนใจสามารถไปดูตามร้านหนังสือ หรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

 

z ผมแค่แวะมาแบบไม่ตั้งใจ

แต่ผมอ่านแล้ว ประทับใจ ขอให้ สู้ต่อไปครับ C<<

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท