มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ ๔ ภูมิภาค โครงการ EdKM ครั้งที่ ๒ : ภาคเหนือ ตอนที่ ๒


การปาฐกถาพิเศษ ของ นพ.พิเชฐ บัญญัติ (ต่อ)

ตอนที่ ๑

          เราต้องเรียนรู้ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ต้องใฝ่รู้ใฝ่เรียน  เพื่อปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลง  คือ  การเข้าสู่  LO  เพราะคุณภาพเปลี่ยนทุกวัน  การทำให้คนในองค์กรเรียนรู้ได้อย่างดี  และปรับให้เข้ากับ  Core Competency   ได้  ต้องใช้  KM  เข้ามาช่วย  เมื่อไรก็ตามที่เรามีการเรียนรู้ให้ตรงกับภารกิจหลักขององค์กร  จะทำให้องค์กรมีสิ่งดีๆ  เกิดขึ้นมากมาย 

          การที่เราจะไปสู่  LO  ได้  ต้องทำให้องค์กรเป็นสิ่งมีชีวิต  คือ คิดเป็น  รักเป็น  (หัวใจใฝ่ความดี  สนใจคนในองค์กรด้วยกัน  ใจดวงเดียวกัน)  ทำเป็น 

          KM  จึงเข้ามา  เพราะกระแสสังคมพัดเข้ามา  การที่เราเตรียมความพร้อมไว้ก่อน จะได้เปรียบ

         KM  คือ  การจัดการกับความรู้  ถ้าจะจัดการความรู้  เราต้องรู้เรื่องการจัดการ  ต้องมีปัจจัยต่างๆ  ดังนี้
- การวางแผนที่ดี
- การจัดสรรทรัพยากร
- การกระตุ้นจูงใจ
- การติดตาม  ปรับปรุง

         KM  เป็นสิ่งที่เกาะติดกับกระบวนการเรียนรู้  แต่ไม่ใช่  Education ซึ่ง  Education  เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ แต่ถ้าไม่ลงมือปฎิบัติ  ก็ไม่ใช่  KM  ที่แท้จริง  KM  เป็นเรื่องของคนปฏิบัติ  คือ คนที่ทำมาก  แล้วนำมาเผยแพร่  

          นอกจากความรู้จะมี  ๒  ประเภทใหญ่ๆ  คือ  ความรู้ที่ถูกเขียนเป็นตัวอักษร  คือ  EK. (ความรู้ชัดแจ้ง /  ฝังรูป)  และความรู้ที่อยู่ในตัวคนทำงานทุกคน  คือ  TK.  (ความรู้ฝังลึก / ฝังหัว)  แล้ว  ยังมีความรู้อีก  ๕  ชนิด  คือ
๑. ARtefact  เป็นวัตถุซึ่งห่อหุ้มความรู้และเทคโนโลยีไว้ 
๒. Skill  เป็นทักษะในการปฏิบัติงานหรือทำงานจนเกิดเป็นทักษะ
๓. Heuristics  เป็นกฎแห่งสามัญสำนึกหรือเหตุผลพื้นฐานทั่วๆ ไป
๔. Experiences เป็นประสบการณ์จากการได้ผ่านงานนั้นมาก่อน
๕. Natural  Talent  เป็นพรสวรรค์เฉพาะตัวที่มีมาแต่กำเนิด
 

          เราอาจจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  แต่เมื่อบันทึกแล้ว กลายเป็นความรู้ในตำรา  เป็นเพราะเราเข้าไม่ถึง  Tacit  Knowledge  คนที่มี  Tacit  Knowledge  ก็ไม่กล้านำออกมา  เพราะกลัว  ไม่กล้า  อาย
 ความรู้  โดยเฉพาะ  Tacit  Knowledge   เป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของการทำงาน  

          Tacit Knowledge  เกี่ยวข้องกับ  คนและกระบวนการ  ในการดึงออกมา

         เป้าหมายของ  KM  ไม่ได้อยู่ที่  Assets  แต่ต้องนำสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ  Tacit  Knowledge ไปใช้เพื่อปรับวิธีการทำงาน ให้ดีขึ้น

        KM  เป็นการถอดความรู้จากความสำเร็จ  
        KM  เป็นเวทีระบายสุข
        KM  เป็นเหมือนน้ำ  อยู่ที่โรงพยาบาลบ้านตากก็เป็นแบบบ้านตาก  คือ  ต้องดูบริบทด้วย  อย่าเอา  KM  หรือ  น้ำ ไปแช่ช่องฟรีซ  มันจะแข็ง  ต้องอย่าไปยึดติดรูปแบบ  รู้จักปรับให้เป็นน้ำ  ไร้รูปแบบแต่ไม่ไร้หลักการ

        คนเราถ้าเกิดทุกข์การเรียนรู้จะไม่เกิด  
        KM  ต้องการบรรยากาศที่สบายและผ่อนคลาย

        เมื่อไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน  สิ่งที่จะบอกเราได้ว่า  เราทำถูกทางหรือไม่  ให้ดูที่ผลลัพธ์ว่า
 ๑. งานดีขึ้นหรือไม่
๒. คนดีขึ้นหรือไม่  มีความสัมพันธ์  มีความสุข  สอนเก่งขึ้นหรือไม่  มีความสุขและรักองค์กรมากขึ้นหรือไม่ 
๓. มีนวัตกรรมการทำงานเกิดขึ้นหรือไม่

        KM  ต้องทำให้คนมาเจอกัน  คนหลากหลายเทคนิคหลายทักษะมาทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรร ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน  เพราะจะเห็นความสร้างสรรค์หลากหลาย  ร่วมกันสร้างวิธีการทำงานใหม่ๆ  ขึ้นมา  และนำไปปฏิบัติ  แล้วจะเกิดปัญญา อย่าเป็นกบในกะลา  ต้องรู้จักการนำเข้าความรู้จากภายนอกที่เหมาะสมมาใช้  เราชอบดูตำรา  แต่ไม่ชอบดูความรู้ในคน
       KM  เป็นเรื่องที่คนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างวิธีการทำงานที่ดีขึ้น  
       KM  เหมือนต้นข้าว  LO  เหมือนนาข้าว  เราต้องทำไปพร้อมๆ  กัน 

       KM  มีกฎสำคัญ  ๓  ข้อ
๑. สมัครใจ  ต้องจูงใจให้อยากทำ 
๒. รู้ว่าคนทุกคนเรียนรู้ก็ต่อเมื่อต้องการใช้
๓. ทุกคนรู้มากกว่าที่พูดได้เขียนได้

        ที่สำคัญ  KM  เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการจัดการความรักในองค์กร

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 116050เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณนภินทร

  • ไม่ได้เข้าร่วมงาน..... แต่ได้อ่านบันทึก การปาฐกถาพิเศษของ นพ.พิเชฐ บัญญัติ ทำให้รู้ลึกยิ่งขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท