network
นส. เบญจภัทร์ จาตุรนต์รัศมี

การจัดการความรู้กับเศรษฐกิจพอเพียง


การจัดการความรู้/ เศรษฐกิจพอเพียง

              การจัดการความรู้ของห้องสมุดกับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ ทั้งด้านจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด ด้านจัดการทางเทคนิคระบบของห้องสมุดเพื่อการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ และด้านบริการสารสนเทศ สิ่งเหล่านี้ใช้แนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างเหมาะสม 3 ห่วง 2เงื่อนไขความรู้  ( ความพอประมาณ ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ใช้ความรู้ รอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ )  บรรณารักษ์เป็นผู้มีความรู้ ทักษะในการจัดการห้องสมุดสามารถนำหลักแนวคิดนี้มาใช้ในห้องสมุดเป็นตัวอย่างที่ดี 
             พวกเราชาวบรรณารักษ์มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้เรื่องนี้กันหน่อยดีไหมคะ  ว่าพวกเราจัดการอย่างไรบ้าง

             วันที่9-10 สิงหาคม มีจัดสัมมนาการจัดการความรู้ภายใต้เรื่อง" ช่องทางเพิ่มมูลค่าห้องสมุดใช้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้ ที่ห้องประชุมสังเวียน  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  หัวข้อบรรยายจะเน้นให้เห็นเรื่องกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoP )กับแนวปฏิบัติที่ดี ของชุมชุนมหาวิทยาลัย  ห้องสมุดเฉพาะ   เนื้อหาที่สัมมนาเน้นการนำวิธีการตลาดมาใช้ในห้องสมุด  รวมทั้งทัศนศึกษา ม.บูรพา  และสถานที่สำคัญควรศึกษาเรียนรู้  ผู้สนใจสามารถแจ้งความจำนง หรือมาสมัครหน้างานได้คะ หากใคร่รู้ ประสานมาที่เบญจภัทร์
02 2017256

หมายเลขบันทึก: 115672เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จากที่อยู่ อันแสนไกล

1 สิงหาคม 2550

       ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เป็นบรรณารักษ์จากบ้านนอกไกลปืนเที่ยง 

ไม่ค่อยถนัดด้าน ไฮเทคโนโลยีเท่าที่ควร ก่อนอื่นจะต้องขอยกเรื่องที่กำลัง

เป็นปัญหาหลักของประเทศไทย ที่มีผู้กล่าวว่า ในปีประมาณ 2555 นี้ 

ประเทศไทยกำลังจะประสบปัญหา ขาดแคลนบุคคลากร ที่

เข้ามาศึกษา ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหลือเพียง 30%ของบัณฑิตทั้งประเทศแล้วสภาพสังคมของเราจะเป็น สังคมแห่งการบริโภคนิยมกันทั่วหน้า จะเกิดอะไรกับสังคมการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้องสมุดที่มีวรรณกรรม 

ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย

จะมีสภาพเป็นอย่างไรกัน เรากำลังเดินหลงทางไปทางไหน บรรณารักษ์ ที่ทำงานในห้องสมุดด้านนี้ จะทำงานกันอย่างไรดี

 1.สภาพของห้องสมุดในทุกวันนี้ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล

ของเทคโนโลยี แทบจะเป็น

เรื่องเดียวกัน ในอนาคตอันใกล้นี้ หรือ ในทุกวันนี้ ห้องสมุด จะมีวัสดุให้ใช้บริการได้ 3 ทรัพยากรสารสนเทศเท่านั้น คือ paper(texts), Digital Text(CD), และ Digital Texts Onlines นอกเหนือจากนี้จะไม่มีวัสดุผลิตเผยแพร่ และไม่มี hardwares สำหรับใช้งานอีก คอมพิวเตอร์ 1 ชุด จะทำงานได้เกือบสารพัด media

2. ในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าหากว่า Reference Collections

ทั้งหลายจะเปลี่ยนรูปไปอยู่ บน online network services

เราสามารถเรียกสืบค้น Encyclopedia & Dictionary ได้

จาก ระบบโทรศัพท์มือถือ และ InterNETs ห้องสมุดจะบริการ

ทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงกันอย่างไรต่อไป ตัวอย่างที่

บรรณารักษ์ทุกท่านจะต้อง ทำความเข้าใจกับสารานุกรม ที่

กำลังมีอิทธิพลสูงมากในขณะนี้ คือ Wikipedia  ที่เป็นที่นิยม

แพร่หลายในขณะนี้ เหล่านี้ คืออนาคตของการสืบค้นความรู้ 

อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ มนุษย์เราสามารถส่งข้อมูล จากดาวพระเสาร์

อันไกลโพ้นมาได้ แล้วโลกใบกระจิ๋วนี้ทำไมจะทำไม่ได้)

3.พลังอำนาจของ บรรณารักษ์วิชาชีพ ที่จะต้องตื่นตัวต่อ กระบวนการ

แสวงหาความรู้จากเครื่องมือช่วยค้นที่มีพลังอำนาจ และมีประสิทธิภาพ

ที่สูงเยี่ยม คือ OPAC ที่บ่งชี้ นำทาง ไปหาความรู้ได้อย่างดีทีสุด

การสืบค้นจาก subj.heading, keywords แลการ link ได้เท่า หรือ ดีกว่า

search engine ตรงนี้ คือ วิชาชีพชั้นสูงของบรรณารักษ์ จึงต้อง ทำให้ได้

ไปให้ถึง ได้กว้างไกลที่สุด ลุ่มลึกที่สุด(OPAC ที่มีอยู่ในบ้านเราทุกวันนี้ 

เป็น OPAC ที่กระจอกงอกง่อยที่สุด โบราณครึที่สุด)

4.บรรณารักษ์ ทุคนจะต้องตระหนักว่า สารสนเทศทุกชนิดในห้องสมุด จะต้อง

ไม่มีภาษา เป็นตัวกำหนด ความรู้เรื่องนั้นๆจะเป็นตัวกำหนด) คือ มีอยู่โดยไม่

จำแนกกลุ่มภาษา แต่หลายห้องสมุดยังเข้าไม่ถึงตรงนี้

5.ย้อนกลับมาถึง นโยบายการอ่านของชาติ กับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และ

เทคโนโลยี ไม่เคยมีวรรณกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลยกย่อง

แห่งชาติ เพราะเรานำเอาศาสตร์ คนละแขนงมาประกวดเปรียบเทียบกัน ผลคือ 

วรรณกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หงอยเหงาและหดหู่อยู่ทุกวันนี้

ถ้าเราจะปลุกมันขึ้นมาด้วย เหล่าบรรณารักษ์ ทั้งหลายเป็นผู้ตัดสิน ผู้เลือกคัด

และเป็นผู้ประกาศรางวัลนั้นๆขึ้นมา จะได้ไหม มันน่าจะทรงพลังอำนาจ พอเพียง

ต่อการยอมรับไหมละ.

6. สุดท้ายเดี๋ยวจะเมาภาษาไปก่อน ถ้าอยากจะเข้าใจ งานห้องสมุด ให้ลุ่มลึก และ

มีคุณค่ามากกว่านี้ ทดลองเข้าไปอ่านดู จาก 2 webs นี้ก่อน

 1)  http://www.itcompany.com/inforetriever /

 2) http://www.libraryspot.com

       ถ้าได้ความคิดอย่างไรเพิ่มมาบอกกันบ้าง เราจะทำ web อย่างนี้ได้ไหมเนี่ย

    โอกาสหน้าถ้าว่าง จะเขียนมาอีก ขอบคุณมาก ที่พยายามอ่าน 

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นดี ๆ  นี้เป็นครั้งที่สองที่เขียนตอบหลังจากได้อ่านบันทึกจากบล็อคคุณไกลปืนเที่ยง  เพราะบันทึกไปแล้วปรากฏว่ามันไม่บันทึกให้    หายไปเลยจึงต้องบันทึกครั้งที่2 เพราะเทคโนโลยีอีกเช่นกัน ทำให้เสียเวลา  อยากจะตอบว่า

        คุณบณ.ไม่ต้องกลัวว่าห้องสมุดจะต้องอ่าน E-Encyclopedia เพราะกว่าจะถึงวันนั้น คงต้องใช้เวลาพอสมควร ห้องสมุดคงเป็นได้เฉพาะ  Hybrid Library เท่านั้น  ขอยุติก่อนคะจะมีเรื่องเล่าให้ฟังใหม่

     ส่วนเว็บของบรรณารักษ์นั้น  คงไม่ได้ไกลปืนเที่ยงแบบที่คุยมั่ง เพราะให้ข้อมูลมาดี

ที่ทำงานของเรา (สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ
ว และ ท )มีการพัฒนาบุคลากรของห้องสมุดให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรียก CDP โดยให้บุคลากรที่ได้มีโอกาสไปประชุม อบรม สัมมนา กลับมาและถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานได้ฟัง ข้อมูลความรู้ใหม่ ๆด้วย ผู้ถ่ายทอดจะจัดระบบความรู้ที่ตนเองได้รับโดยการทำpower point นำเสนอ ได้เห็นเทคนิคของผู้ถ่ายทอดแต่ละคน ทำให้เห็นพัฒนาการที่มีความเข้มแข็ง น่ายินดีมาก  บรรยากาศแม้ว่าจะเป็นทางการบ้าง  เพราะมีผู้บริหาร(ผอ ) ร่วมฟังและให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นที่ดี โดยแนะให้ทุกคนมีส่วนร่วมตอบคำถามให้มากขึ้นในฐานะเป็นFa คิดว่าไปได้สวยในระดับหนึ่งมีการทานของว่างร่วมด้วย และปิดท้ายด้วยการที่ได้นำภาพที่ทำให้หลาย ๆคนยิ้มออกมาให้ดู  เป็นภาพสัตว์หลายชนิด  เช่น หมา แมว กบ นก ฯลฯ ให้อยู่ในอิริยาบทต่างๆที่ชวนให้น่าขบขัน อาทิ สุนัขนั่งยิ้ม ยิงฟันขาว กบหรืออึ่งอ่างตัวใหญ่นั่งยิ้มยิงฟัน แมวก้มลงไปทานอะไรในขวดแก้ว  เฮ้อ ใครได้เห็นภาพเหล่านี้แล้วไม่ยิ้ม ท้าปะลองได้ว่าคนนั้นเส้นขำขันลึกมากคะ

วันนี้เป็นวันตรุษจีน ขอกล่าวคำว่า " ซินเจี่ย อยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้  " ขอให้ร่ำรวยเงินทองไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ "  ตลอดปี 2551           

      ขอเล่าสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน คือ ท่านอวศ.ได้เปิดโอกาสให้
ข้าราชการระดับกลางที่จะก้าวเป็นผู้บริหาระดับสูงได้เข้าอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งผู้นำทีมในการจัดอบรมครั้งนี้คือ ศ.ดร.จีระ  หงส์รดารมภ์ และทีมงานของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

   นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ๆ อยากให้ผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันคะในวันเสาร์ เราเริ่มเรียนกันเรืองทุนมนุษย์กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ

มีการร่วมลปรร กันว่าผู้เข้าสัมมนาคาดหวังว่าอะไรกับหลักสูตรนี้  และทรัพยากรมนุษย์มีทฤษฎีอยู่ 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

เห็นไหมคะว่าเป็นอะไรที่รรมดามาก  ว่าพวกเราจะทำอะไรควรมีความต่อเนื่องร่วมเรียนรู้  ลปรร.กัน สนใจตามมาดูได้ที่
  go toknow.org/blog/chiraacademy  ติดตามกันไหมน่ะคะ

ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ค้า

ขอบคุณน่ะคะ ที่มาร่วมอ่าน ยังนึกว่าจะมีใครมาอ่านบันทึกเราบ้างคะ อยากได้ข้อคิดเห็นมากว่าคำว่า ดีมากกกกกๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท