นโยบายสาธารณะ ( Public Policy )


นโยบายสาธารณะ ( Public Policy )

นโยบายสาธารณะ  หรือ   Public Policy มีความหมายที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน นักวิชาการในแต่ละสาขาต่างมีความเห็นเกี่ยวกับความหมายของนโยบายสาธารณะแตกต่างกันไป   ดังนี้
นโยบายสาธารณะ  หรือ Public Policy   หมายถึง  อะไรก็ตามที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
(  Thomas  R. Dyeใน  Understanding  Public  Policy, 1984. )
นโยบายสาธารณะ   หรือ Public Policy   หมายถึง  การกระทำบางอย่างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   โดยจะมีการนำไปปฏิบัติโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
(  James  E.Anderson  ใน   Public  Policy-Making, 1979.  )
นโยบายสาธารณะ  หรือ Public  Policy   หมายถึง  ความคิดของรัฐบาลที่ว่าจะทำอะไรหรือไม่  อย่างใด  เพียงใด  เมื่อใด  โดยน่าจะมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ (1) การกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการกระทำ (2) การกำหนดแนวทางใหม่ ๆ และ (3) การกำหนดการสนับสนุนต่าง ๆ. 
(  อมร  รักษาสัตย์  ใน  การพัฒนานโยบาย, 2520 )
สรุป  นโยบายสาธารณะ  หรือ Public  Policy   หมายถึง  แผนงานที่รัฐบาลกำหนดขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  ให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนนำไปปฏิบัติ  ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

กฎหมาย ( Law )

                กฎหมาย  มีที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้  ดังนี้
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระองค์ได้รับสมญาว่าพระบิดาแห่ง กฎหมายไทย ได้ทรงอธิบายไว้ว่า กฎหมายคือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎร ทั้งหลาย เมื่อไม่ทำแล้วตามธรรมดาต้องรับโทษ
2. ศาสตราจารย์หลวงจำรูญ  เนติศาสตร์  ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วย การปฏิบัติทั้งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"

3. ศาสตราจารย์  เอกูต์   ชาวฝรั่งเศส   ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้าม ซึ่งมนุษย์ ต้องเคารพในความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หรือหมู่มนุษย์มีลักษณะ ทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏิบัติตาม"
                กฎหมาย  นั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม
3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
อาจกล่าวได้ว่า กฎหมาย  หมายถึง  สิ่งที่ศาลใช้ในการตัดสินคดีก็ได้ หรือ อาจกล่าวว่า กฎหมาย หมายถึงพระราชบัญญัติต่างๆ ก็ได้   แต่ตามที่เข้าใจกันทั่วไป   กฎหมายซึ่งเป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า กด หรือ  กำหนด   กับคำว่าหมายไว้ก็คือข้อบังคับของรัฐอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบทางสังคม  เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของพลเมือง  ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือผลร้ายอย่างอื่นโดยเจ้าพนักงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการบังคับ  ความหมายนี้อาจมีผู้โต้แย้งว่ายังบกพร่อง  หรือมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง  แต่ก็ตรงกับความเข้าใจคนทั่วไป และได้รับมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศของเราแล้ว เพื่อให้เข้าใจสะดวกขึ้น
จากการศึกษาทฤษฎีกฎหมายจากทฤษฎีของนักกฎหมายหลายท่าน มีข้อที่แตกต่างและคล้ายคลึง พอจะสรุปผลให้เห็นได้ 2 แนวคิด ดังนี้
1. กฎหมายนั้นมีหรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กฎหมายลักษณะแนวคิดนี้จะเกิดจาก ความรู้สึกผิดชอบของมนุษย์ ที่เกิดจากภาวะในใจที่จะไม่อยากให้ใครกดขี่ข่มเหงและก็คิดว่าตัวเองก็ ไม่ควรจะไปกดขี่ข่มเหงคนอื่นเช่นกัน
2. กฎหมายเกิดขึ้น โดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองเป็นผู้กำหนดให้มีขึ้นลักษณะแนวคิดนี้จะเป็นการ บัญญัติให้มีขึ้นตามความต้องการของสังคมที่จะมีเหตุผลหลายประการนำมาบัญญัติเป็นกฎหมาย และผู้ที่จะสามารถออกกฎหมายได้จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมนั้น ๆ   กฎหมายที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองค่อนข้างจะมีอิทธิพลมากกว่า แนวคิดแรก เพราะเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจน และสามารถบังคับได้แน่นอน สร้างประสิทธิภาพได้ดี ที่สุด
ความสำคัญของกฎหมาย
             มนุษย์อยู่ร่วมในสังคมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า   ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้วย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆตามใจชอบ   ถ้าหากไม่มีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว  มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต   ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใดความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมีมากขึ้น  เพื่อใช้บังคับทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ   ซึ่งจะกำหนดวิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน  ตั้งแต่เกิดจนตาย   กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง   ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้   กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามากตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน   จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามีภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีก  หรือจนตายก็ต้องมีใบตายเรียกว่าใบมรณะบัตร   และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง   นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย   หรือการทำงานเป็นลูกจ้าง   นายจ้าง  หรืออาจจะเป็นข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา  และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน   ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย   มีหน้าที่ในการเสียภาษีอากร   หน้าที่รับราชการทหารสำหรับชาวไทย   กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ  กฎหมายแรงงาน  กฎหมายภาษีอากร  กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา  "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิดตามกฎหมายมิได้  ทั้งนี้ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้นตนไม่รู้จริง ๆ  เมื่อกล่าวอ้างอย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัวไม่ต้องรับผิด  ไม่ต้องรับโทษกัน  ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย  และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย แต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็นหลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้   เรียนรู้กฎหมาย   เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง   ความ ไม่เข้าใจกัน   ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือกฎหมายนั่นเอง
ประโยชน์ของกฎหมาย  ประโยชน์ของกฎหมายมีดังนี้
1. สร้างความเป็นธรรม หรือ  ความยุติธรรมให้แก่สังคม  เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติเสมอภาคเท่าเทียมกัน  เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น  ขาดความยุติธรรม  กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม  ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน  ดังที่เรา เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย  การเป็นทนายความ  อัยการ  ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม  โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง  ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง  การปกครอง  ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ ประชาชน
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน  ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก  ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว  ต่อบุคคลอื่นและต่อประเทศชาติ
สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย
              สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย  เช่น  กฎหมายรัฐธรรมนูญ  โดยรัฐธรรมนูญได้กำหดสิทธิของประชาชนเอาไว้   โดยให้ถือว่าประชาชนไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด  หรือ  ศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันหมด เช่น
1. บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง หมายความว่า คนทุกคนย่อมสามารถเข้ามารับผิดชอบต่อบ้านเมือง   โดยการใช้สิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้ง  เมื่อประชาชนอายุครบ 18 ปีย่อมมีสิทธิที่จะเลือกตั้งผู้แทนราษฎร  เพื่อให้ผู้แทนราษฎรไปทำหน้าที่ทางการเมืองแทนตนเอง  ที่เป็นการตัดสินใจ ของประชาชนว่าจะได้ผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในด้านการเมืองได้ดีเพียงใด

2. บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งสิทธิอันนั้นสามารถใช้อ้างอิง หรือยืนยันกับบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา  ถึงแม้ว่าทรัพย์สินจะไปอยู่ที่ใด  จะถูกขโมยหรือเคลื่อนย้ายไปที่อื่น  ผู้เป็นเจ้าของก็ยังสามารถอ้างสิทธิอันนี้ได้โดยตลอด  เพื่อให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับคืนมาอยู่ที่เดิมหรือ อยู่ในความครอบครองอย่างเดิม   ถ้าหากบุคคลอื่นครอบครองเอาไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยไม่มีสิทธิก็ย่อมสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามสิทธิได้
ความหมายของหน้าที่ หน้าที่ หมายถึง ข้อปฏิบัติของบุคคลทุกคนที่จะต้องกระทำให้เกิดประโยชน์เป็นผลดีต่อ ประเทศชาติบ้านเมือง หน้าที่ต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติ ซึ่งกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหลายประการ
หน้าที่ของประชาชนตามกฎหมาย  หน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และการปกครองระบอบประชาธิปไตย   หน้าที่ในข้อนี้ ถือว่าเป็นหน้าที่ อันสำคัญ
2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ  หน้าที่ข้อนี้มิใช่ว่าจะเป็นหน้าที่ของทหารเท่านั้น  คนไทยทุกคนต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกัน
3. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเพราะการเป็นทหารนั้นจะได้ทำหน้าที่ป้องกันประเทศโดยตรง  พอถึงวัยหรืออายุตามที่กฎหมายกำหนดก็จะต้องไปรับราชการทหาร  แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคนที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้
4. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจากกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคม  จึงจะละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
5. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการเมื่อถึงคราวที่ประชาชนพอจะช่วยเหลือได้  หรือเมื่อทางราชการขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นประชาชนพลเมืองของชาติจึงต้องมีหน้าที่อันนี้ เช่น การช่วยพัฒนาถนนหนทาง   การช่วยบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ   การช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยการเป็นหูเป็นตาให้ราชการ
จะเห็นว่ากฎหมายเป็นนโยบายสาธรณะอย่างหนึ่งที่รัฐสภากำหนดขึ้น  เป็นข้อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม  เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีระเบียบวินัย  และมีความสุข  ลดปัญหาหรือข้อขัดแย้งในสังคม

ระบบรัฐสภา

                การปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ระบบรัฐสภาของประเทศต่างๆส่วนใหญ่จะประกอบด้วย  2 สภา  ได้แก่ วุฒิสภาหรือที่เรียกว่า  สภาบน  และสภาผู้แทนราษฎร  หรือที่เรียกว่าสภาล่าง  แต่ก็มีบางประเทศที่มีสภาเดียว  เช่น  เดนมาร์ก  กรีก  โปรตุเกส  สำหรับรัฐสภาไทยปัจจุบันเป็นระบบ  2  สภา ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2540  กำหนดให้สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ข้อดีของระบบสภาเดียว
                ระบบรัฐสภาของประเทศต่างๆส่วนใหญ่เป็นระบบ  2  สภา  ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร  แต่ก็ยังมีบางประเทศที่เป็นระบบสภาเดียว  ซึ่งมีข้อดีคือ
                1.  ความขัดแย้งทางเมืองมีน้อย  เพราะไม่มีอีกสภาหนึ่งคอยขัดแย้ง  หรือมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
/               2.  การพิจารณากฎหมายมีความรวดเร็ว  เพราะลดขั้นได้มาก
                3.  ประหยัดงบประมาณ  เนื่องจากขั้นตอนการทำงานน้อย
                ขณะเดียวกันระบบสภาเดียวก็มีเสีย  ได้แก่
                1.  การพิจารณากฎหมายที่รวดเร็วเกินไป  อาจไม่มีความรอบคอบเพียงพอ
                2.  ไม่มีการถ่วงดุลกัน  การตัดสินใจที่รวดเร็วไปอาจทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
                3  .  ความหลากหลายทางความคิดมีไม่เพียงพอ
                ประเทศที่มีสภาเดียวส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็ก  หรือประเทศคอมมิวนิสต์ที่ไม่ต้องการอุดมการณ์มากนัก  จากการที่ระบบสภาเดียวมีข้อเสียในเรื่องของการพิจารณาที่อาจไม่รอบคอบ  ไม่มีความหลากหลาย  และที่สำคัญไม่มีการถ่วงดุลกัน  ประเทศส่วนใหญ่จึงใช้ระบบ  2  สภา  คือมีสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่างกับวุฒิสภาหรือสภาบน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง  และมีวุฒิสภาหรือสภาบน  ซึ่งอาจจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  หรือมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายบริหาร  โดยทั่วไปวุฒิสภาจะมีอำนาจหน้าที่น้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร  ยกเว้นบางประเทศ  เช่น  สหรัฐอเมริกาที่วุฒิสภามีหน้าที่เพิ่มเติมมากกว่าสภาผู้แทนราษฎร  เช่น  การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งทูต  หรือข้าราชการระดับสูงเป็นต้น
                จากการที่ระบบรัฐสภามีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  การปกครองในอดีตที่ผ่านมาเกิดจากความจำเป็นบางประการ  ได้แก่
                1.  ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์  เช่น  อังกฤษ  มีสภาขุนนางเป็นสภาสูง  และถือว่าขุนนางเป็นชนชั้นหนึ่ง  นอกเหนือจากชนชั้นสามัญชนและพระมหากษัตริย์  ทำให้อำนาจอยู่กับสภาขุนนางฝ่ายเดียว 
                2.  ความจำเป็นทางการปกครอง  โดยที่บางประเทศมีการปกครองแบบสหรัฐ  คือแต่ละมลรัฐรวมกันเป็นประเทศ  โดยมีอีกรัฐบาลหนึ่งแยกออกมา  รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ราษฎรเลือกผู้แทนราษฎรของตนตามจำนวนประชากรประกอบขึ้นเป็นสภาล่าง  ส่วนสภาสูงทำหน้าที่เป็นสภาที่เป็นตัวแทนของแต่ละมลรัฐนั้นๆ  ซึ่งจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละรัฐอาจไม่เท่ากัน  แต่จำนวนสมาชิกวุฒิสภาจะมีรัฐละ  2  คนเท่ากันทุกรัฐ
                3.  ประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆจากระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย  บางครั้งก็จำเป็นที่จะต้องมี  2  สภา  ซึ่งอาจมาจากการแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่คล้ายสภาพี่เลี้ยงของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง  ลักษณะนี้เป็นความคิดของไทย  ซึ่งวุฒิสภาบางยุคใช้แนวความคิดนี้
ข้อดีของระบบ  2  สภา
                1.  การทำงานมีระบบการกลั่นกรองหรือตรวจสอบ  โดยสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอและผ่านเรื่องเข้ามาให้วุฒิสภาพิจารณา  วุฒิสภาอาจเห็นว่าไม่รอบคอบเพียงพอ  หรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น  ก็อาจให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข  ทำให้เกิดความรอบคอบมากขึ้น
/               2  .  มีการถ่วงดุลกัน  โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก  หรือสังคมมีความหลากหลายทางความคิด  การมีสภาเดียวอาจทำให้กลุ่มการเมืองไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลกันเหมือนกับการมี  2  สภา  ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆมากขึ้น

3.       มีความหลากหลายของกลุ่มการเมืองมากขึ้น
รัฐสภาไทย
                จากประวัติศาสตร์การปกครองของไทย  พบว่าไทยมีรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนอยู่  3  ประเภทได้แก่
                1.  ประเภทที่  1  ระบบสภาเดียวโดยสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด  ได้แก่รัฐธรรมนูญ ฯ ฉบับชั่วคราว  ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่  24  มิถุนายน  พ.ศ. 2475  และใช้จนถึงวันที่  9  ธันวาคม  พ.ศ. 2475  ได้กำหนดให้คณะราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด  ระบบสภาเดียวส่วนใหญ่มักจะเกิดหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เรียกว่า  การปฏิวัติ  หรือ  การรัฐประหาร  เพราะคณะปฏิวัติ  หรือคณะรัฐประหารจะต้องแต่งตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ  หรือการออกกฎหมาย 
                2.  ประเภทที่  2  บบสภาเดียวแต่มีสมาชิก  2  ประเภทอยู่ในสภาเดียวกัน  โดยสมาชิกประเภทหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง  และสมาชิกอีกประเภทหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง  ซึ่งมักจะมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน  ไทยมีสภาประเภทนี้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475  ฉบับถาวรที่ประกาศใช้เมื่อวันที่  10  ธันวาคม  พ.ศ. 2475  ได้กำหนดไว้ว่าสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิก  2  ประเภท  ประเภทที่  1  มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงและประเภทที่ 2  มาจากการแต่งตั้ง  ซึ่งจะทำงานร่วมกันในสภาเดียวกัน  โดยให้เหตุผลในเวลานั้นว่า  เนื่องจากราษฎรยังมีการศึกษาไม่เพียงพอ  และในบทเฉพาะกาลยังได้กำหนดไว้ว่า   ถ้าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่  4  เกินครึ่งของจำนวนสมาชิกแล้ว  หรือครบ  10  ปีแล้วต้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด  แต่ยังไม่ทันได้เลือกตั้ง  ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่  2  ขึ้น  และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้รัฐธรรมนูญ  ฉบับ  พ.ศ.  2489  แทน   
                3.  ประเภทที่  3  ระบบ  2  สภา  ประกอบสภาจากการแต่งตั้งได้แก่วุฒิสภาและสภาจากการเลือกตั้ง  ได้แก่  สภาผู้แทนราษฎร  รัฐธรรมนูญที่เป็นต้นแบบระบบสภาประเภทนี้  คือรัฐธรรมนูญฉบับ  พ.ศ.  2492  ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยมาก  เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ  กำหนดให้ประชาชนเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง  ส่วนวุฒิสภานั้นได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์เลือกและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วยพระองค์เอง  โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ  จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ถวายเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์  นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลจะเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้  แต่พอถึงปีพ.ศ.  2511 , 2517,  2521  และ 2534    ได้กำหนดให้มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งเช่นกันแต่ว่ากำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ  เคยมีพระราชบันทึกเมื่อคราวใช้รัฐธรรมนูญ  พ.ศ.  2517  ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเคยถวายเป็นพระราชอำนาจแล้วแต่ทรงไม่เห็นด้วย    การแต่งตั้งวุฒิสภาในลักษณะนี้ใช้ในประเทศไทยค่อนข้างยาวนาน  นอกจากจะเป็นความจำเป็นทางการเมืองของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  ยังมีเหตุผลที่ว่า  การแต่งตั้งอาจจะทำให้ได้บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถที่แท้จริง  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่าผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง  แต่ก็มีข้อวิจารณ์มากมายในแวดวงนักวิชาการ  ส่อมวลชนและคนทั่วไปว่า  วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมักเห็นรัฐบาลที่แต่งตั้งตนเองขึ้นมามากกว่าจะเห็นแก่ประชาชน  และมักไม่ตรวจสอบรัฐบาลด้วย  ด้วยข้อวิจารณ์เหล่านี้  ได้นำมาสู่แนวความคิดที่ว่า  ประเทศไทยได้พัฒนาการเมืองการปกครองมาเกือบ  70  ปีแล้ว  ประชาชนเองก็มีการศึกษามากขึ้น  ควรถึงเวลาแล้วที่จะมีวุฒิสภามากจากการเลือกตั้งของประชาชนเสียที  ซึ่งรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.  2540  ที่ใช้ในปัจจุบันก็ได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง

อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
                ในการเลือกตั้งวุฒิสภา  ประชาชนจะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาให้ดีในการเลือกตั้ง  ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจบทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาอย่างเพียงพอ  อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา  พิจารณาแยกได้เป็น  3  กลุ่ม  ได้แก่
                กลุ่มแรก  คือกลุ่มที่วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่มากกว่าสภาผู้แทนราษฎร  ทำหน้าที่ที่เรียกว่าสภาตรวจสอบ  มีอำนาจหน้าที่ในการคัดเลือกบุคคลในการแต่งตั้ง  หรือในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญ  ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจนี้เลย  เช่น  การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา  คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  เป็นต้น  นอกจากนี้วุฒิสภายังมีอำนาจสำคัญอีกประการซึ่งสภาผู้แทนราษฎรไม่มี  ได้แก่  อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  หรือรัฐบาล  หรือแม้แต่สมาชิกวุฒิสภาเองที่ทำการส่อทุจริต  ส่อถึงการร่ำรวยผิดปกติ  หรือว่าส่อถึงการจงใจใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  หรือกฎหมาย
                กลุ่มที่สอง  วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่เท่ากับสภาผู้แทนราษฎร  รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันระหว่างสมาชิกวุฒิสภากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และทั้งสองสภามีอำนาจในการพิจารณาและออกเสียงเท่ากัน  ได้แก่  การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์  การเปิดสมัยประชุมเป็นสมัยวิสามัญ  การตราข้อบังคับ  การประชุมรัฐสภา  การแถลงนโยบายรัฐบาล  การเปิดอภิปรายทั่วไป  เป็นต้น
                กลุ่มที่สาม  วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่น้อยกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นเรื่องของพรรคการเมือง  เรื่องของสภาผู้แทนราษฎร  หรือเรื่องของรัฐบาล  ซึ่งวุฒิสภาไม่ควรไปเกี่ยวข้อง  ได้แก่  การเสนอร่างกฎหมาย  การเสนอเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  และอำนาจหน้าที่อีกประการที่วุฒิสภาไม่มีเลย  คือการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจและการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี

 
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย
1.       ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย ( Policy  Stakeholder )  ได้แก่ผู้นำเสนอปัญหา  ผู้กลั่นกรองนโยบาย  หน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  และประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย
2.       สภาพแวดล้อมของนโยบาย ( Policy  Environment )  ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่นำไปสู่การก่อรูปนโยบาย  เช่น  สถานการณ์ภาคใต้ในปัจจุบัน
3.       ตัวนโยบาย ( Public  Policies ) เป็นกิจกรรมหรือแนวทางในการดำเนินงานที่เกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาล  ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

บทบาทของวุฒิสภาต่อกระบวนการสร้างกฎหมาย

                ก่อนที่จะทราบถึงบทบาทของวุฒิสภาต่อกระบวนการสร้างกฎหมายนั้น  คงต้องทราบกันก่อนว่า
วุฒิสภามีบทบาทหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  แบ่งเป็น  7  ด้านด้วยกันคือด้านนิติบัญญัติ  ด้านควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน  ด้านเลือก  แต่งตั้ง  ให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ  ด้านการพิจารณาถอดถอนข้าราชการการเมือง  ข้าราชการประจำ  หรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ  ด้านการเป็นกรรมการหรือผู้ตัดสิน  ด้านการพิจารณาเห็นชอบเรื่องต่างๆและการเป็นผู้แทนของประชาชน  ซึ่งบทบาทหน้าที่แต่ละด้านมีความสำคัญเท่าเทียมกัน  ทางกลุ่มจึงสนใจที่จะศึกษาเฉพาะบทบาทหน้าที่ของวุฒิสภาด้านนิติบัญญัติ  ที่มีต่อกระบวนการสร้างกฎหมายของสภาไทย
บทบาทหน้าที่ของวุฒิสภาด้านนิติบัญญัติ  มีอำนาจหน้าที่  3  ประการ  ได้แก่
1.       กลั่นกรองกฎหมาย
2.       พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
                3.  เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  และพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
4.       เสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย  หรือบังคับการประชุมวุฒิสภา  หรือข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
1.  กลั่นกรองกฎหมาย
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ.  2541  กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณากลั่นกรองกฎหมายได้ตามหลักเกณฑ์  วิธีการดังนี้ 
                1.1  กำหนดเวลาพิจารณา  วุฒิสภาต้องพิจารณากลั่กรองร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  หากไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายนั้น  มีผลให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาในพระราชกิจจานุเบกษา  มีผลบังคับใช้ได้ต่อไป  ระยะเวลาที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างกฎหมาย  แบ่งแยกตามประเภทของกฎหมายดังนี้
1.1.1           ร่างกฎหมายทั่วไป  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  60  วัน
1.1.2           ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  30  วัน
1.1.3           ร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  และการโอนงบประมาณรายจ่าย  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  20  วัน
หมายเหตุ ( 1 ) วุฒิสภาสามารถลงมติให้ขยายเวลาพิจารณาออกไปเป็นกรณีพิเศษได้  แต่
          ต้องไม่เกิน  30  วัน
  ( 2 )  วัน  หมายถึงวันในสมัยประชุม
                1.2  ขั้นตอนการพิจารณา  การพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภา  ต้องพิจารณาตามลำดับขั้นตอนคือ
1.2.1           วาระที่  1  ขั้นรับหลักการ  วุฒิสภาพิจารณาว่าเห็นชอบด้วยกับหลักการร่างกฎหมายหรือไม่  ซึ่งวุฒิสภาอาจมอบหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณาในขั้นรับหลักการก็ได้

1.2.2           วาระที่  2  ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา  โดยปกติให้พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการสามัญหรือวิสามัญที่วุฒิสภาตั้งขึ้น  การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภาจะทำได้ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ  หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า  20  คนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ
1.2.3           วาระที่  3   ขั้นลงมติเห็นชอบ 
-          ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้วุฒิสภาดำเนินการยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
-          ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้ยับยั้งไว้ก่อนและส่งกลับคืนสภาผู้แทนราษฎร
-          ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม  ให้ส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อดำเนินการต่อไป

1.3        ผลการพิจารณา  การพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภามีผลเป็น  3  กรณี  คือ
1.3.1           เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
1.3.2    &nb

หมายเลขบันทึก: 11451เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
1.  กลั่นกรองกฎหมาย
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ.  2541  กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณากลั่นกรองกฎหมายได้ตามหลักเกณฑ์  วิธีการดังนี้ 
                1.1  กำหนดเวลาพิจารณา  วุฒิสภาต้องพิจารณากลั่กรองร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  หากไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายนั้น  มีผลให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาในพระราชกิจจานุเบกษา  มีผลบังคับใช้ได้ต่อไป  ระยะเวลาที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างกฎหมาย  แบ่งแยกตามประเภทของกฎหมายดังนี้
1.1.1           ร่างกฎหมายทั่วไป  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  60  วัน
1.1.2           ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  30  วัน
1.1.3           ร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม  และการโอนงบประมาณรายจ่าย  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  20  วัน
หมายเหตุ ( 1 ) วุฒิสภาสามารถลงมติให้ขยายเวลาพิจารณาออกไปเป็นกรณีพิเศษได้  แต่
          ต้องไม่เกิน  30  วัน
  ( 2 )  วัน  หมายถึงวันในสมัยประชุม
                1.2  ขั้นตอนการพิจารณา  การพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภา  ต้องพิจารณาตามลำดับขั้นตอนคือ
1.2.1           วาระที่  1  ขั้นรับหลักการ  วุฒิสภาพิจารณาว่าเห็นชอบด้วยกับหลักการร่างกฎหมายหรือไม่  ซึ่งวุฒิสภาอาจมอบหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณาในขั้นรับหลักการก็ได้
1.2.2           วาระที่  2  ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา  โดยปกติให้พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการสามัญหรือวิสามัญที่วุฒิสภาตั้งขึ้น  การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภาจะทำได้ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ  หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า  20  คนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ
1.2.3           วาระที่  3   ขั้นลงมติเห็นชอบ 
-          ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้วุฒิสภาดำเนินการยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
-          ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ให้ยับยั้งไว้ก่อนและส่งกลับคืนสภาผู้แทนราษฎร
-          ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม  ให้ส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อดำเนินการต่อไป
1.3        ผลการพิจารณา  การพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภามีผลเป็น  3  กรณี  คือ
1.3.1           เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
1.3.2           ไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ( ยับยั้ง )
1.3.3           เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติม
2.  พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด

                2.1  การพิจารณาและอนุมัติ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการในการการพิจารณาและอนุมัติพระราชกำหนด  คือ  คณะรัฐมนตรีประกาศใช้บังคับพระราชกำหนดแล้วต้องเสนอต่อรัฐสภา  เพื่อให้รัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนั้นๆเป็นพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ต่อไป  แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดฉบับนั้นๆเป็นอันตกไป  เหตุผลที่ให้อำนาจแก่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารมีอำนาจออกพระราชกำหนดใช้บังคับได้นั้นเนื่องจากว่ากรณีฉุกเฉินที่มีเหตุรีบด่วนที่ต้องรักษาความปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยของสาธารณะ  ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ  หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ  หากให้ออกเป็นพระราชบัญญัติแล้วจะทำให้ล่าช้าไม่ทันการณ์  หรือเป็นการเปิดเผย  จะทำให้เกิดความเสียหายได้  แต่โดยหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยแล้ว  องค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายได้แก่รัฐสภา  ดังนั้นเพื่อเคารพหลักการดังกล่าว  รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้คณะรัฐมนตรี  ต้องนำพระราชกำหนดที่ออกมาบังคับใช้  เสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ  พิจารณาและอนุมัติพระราชกำหนด  ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  มีอำนาจพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ  ดังนี้

2.1.1           สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ  พระราชกำหนดนั้นตกไป  ถ้าอนุมัติส่งต่อวุฒิสภา
2.1.2           วุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนด  มีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติ
2.1.3           วุฒิสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด  ส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร  และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสภาผู้แทนราษฎร  ให้ถือว่าพระราชกำหนดฉบับนั้น  ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา  มีผลบังคับใช้ต่อไป
2.2        การตรวจสอบเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา  เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยของสาธารณะ  ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่  ซึ่งการตรวจสอบเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดนี้  ต้องตรวจสอบก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนด
3.  เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  และพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
4.1    การเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจริเริ่มเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้  แต่ต้องใช้สิทธิร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จะใช้สิทธิโดยลำพังมิได้
4.2    การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  รัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาหรือสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้เท่าเทียมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น  ต้องพิจารณาเป็น  3  วาระ  และต้องพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา
4. เสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย  หรือบังคับการประชุมวุฒิสภา  หรือข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
                รัฐธรรมนูญเป็ฯกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของข้อกฎหมาย  กฎ  หรือบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้    การควบคุม  ตรวจสอบกฎหมายมิให้ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  แบ่งเป็น  2  กรณี  คือ
4.1    การควบคุมร่างกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  เป็นการควบคุมเมื่อร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบต่อรัฐสภาแล้ว  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย  หากสมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบาบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญสามารถเสนอให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้  ซึ่งรวมถึงร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณี  แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
4.2    การควบคุมกฎหมายที่ตราออกบังคับใช้แล้ว  มิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  เป็นการควบคุมกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้วศาลเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับคดี  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  สามารถเสนอให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
หมายเหตุ  สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เฉพาะร่างกฎหมาย 
ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาเท่านั้น  ซึ่งเป็น”ระบบควบคุม”ก่อนที่ร่างกฎหมาย  ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา  ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาจะมีผลบังคับใช้  สมาชิกวุฒิสภาไม่มีสิทธิเสนอให้ตรวจสอบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว

 

นางสาว นริศรา สุขหม
ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง "เราจะพัฒนาการเมืองอย่างไรเพื่อให้ประเทศไทยเจริญ"  ในรูปของกรอบแนวคิดการเมือง ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

ทำไงดีล่ะ ผมไม่ถนัดด้านการเมืองเสียด้วยดิ ต้องอาศัยเวลาเรียบเรียงก่อนนะ

พี่เจษ กระทรวงวัฒนธรรม

หายไปซะนานเลยนะ มาโผล่อยู่ที่นี่เอง ว่าไงล่ะท่านว่าที่มหาบัณฑิต มธ. จบแล้วอย่าลืมคุณธรรมนำความรู้นะ เดี๋ยวเสียชื่อลูกแม่โดมเขา (อาทิเช่น เป็นหนี้ใครเขาไว้ ก็ทยอยจ่ายๆเขาไปซะ ชีวิตจะได้ไม่มัวหมองไปกว่านี้)  ฮ่า ฮ่า ฮ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท