กลุ่มดอยหลวง
นาง รัชนี กลุ่มดอยหลวง แซ่เจ็ง

บุหรี่รสอ่อน แต่อันตรายไม่อ่อน


  สิงค์อมควันที่เกิดอาการลังเลหรือใจอ่อนเลิกบุหร่ไม่ได้ เพราะหันมาสูบบุหร่รสอ่อนที่ซึ่งมีสารทาร์และนิโคตินต่ำโดยคิดว่าจะได้รับอันตรายน้อยกว่า คงต้องพิจารณาใหม่แล้วล่ะค่ะ
  เพราะความจริงพบว่า การลดสารทั้งสองชนิดจะทำให้รสชาติของบุหร่ไม่เหมือนเดิมดั้งนั้นเพื่อคงรสชาติเดิมไว้ ผู้ผลิตจึงผสมสารปรุงแต่งจำนวนมากในบุหร่ ซึ่งสารเหล่านั้นหลายชนิดเป็นพิษ หลาบชนิดก่อมะเร็งและหลายชนิดไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวอย่างไรบ้าง จึงมีความเป็นไปได้ว่สารปรุงแต่งที่เพิ่มเข้าไปอาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าการลดดปริมาณทาร์และนิโคติน
  และยังพบอีกว่าการลดทาร์และสารนิโคตินในบุหร่ ทำให้ผู้สูบมีพฤติกรรมการสูบชดเชย เพื่อให้ได้รับสารนิโคตินเท่าที่เคยได้รับจากบุหรี่ธรรมดาโดยการสูบมากมวนขึ้น สูดเข้าไปลึกขึ้นและกลั้นไว้นานกว่าเดิม จากการศึกษาพบว่าผู้สูบบุหรี่รสอ่อนมีอัราการเกิดโรคลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เห็นได้จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งจำหน่ายบุหรี่ที่มีทาร์และนิโคตินต่ำมานานแต่ยังคงมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากกการสูบบุหรี่สูงค่ะ
  การปรุงแต่งบุหรี่ด้วยเมนทอล และรสชาติที่ระคายเคืองน้อย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่สูบมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ที่หัดใหม่ติดง่ายขึ้นด้วย
  นอกจากนั้นการมีก้นกรองชนิดพิเศษที่มีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารพิษเจือจางนั้น ความจริงแล้วเวลาสูบบุหรี่นิ้วมือหรือริมฝีปากจะปิดรูเหล่านี้จึงทำให้ไม่มีผลเจือจางสารพิษตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
  ถ้ารู้อย่างนี้แล้วบรรดาชายอกสามศอกและสิงห์อมควันทั้งหลายยังจะใจอ่อนยอมแพ้ให้กับบุหรี่มวนเล็ก ๆ กันอีกอยู่หรือค่ะ

 

                                                                           รัชนี

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพอนามัย
หมายเลขบันทึก: 112976เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 05:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพื่อสุขภาพเลิกกันเสียเลยดีไหมคะเพื่อตัวเราเองและคนรองข้างจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

นางจันทร์บาน เขตแดน

นางญาณภัค บญสูง

จากกลุ่มช่วยเหลือเกื่อกูล

          อาจารย์สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์ เคยโพสต์ไว้ในบล็อกหนึ่งความว่า การที่จะเลิกบุหรี่หรือสิ่งเสพติดอื่น ต้องอาศัยหลักดังนี้

  • แรงบันดาลใจ (อยากเป็นครูที่ดี เป็นผู้บริหารที่เป็นแบบอย่าง)
  • แรงจูงใจ (ไม่อยากเป็นโรคจากพิษบุหรี่ ประหยัดค่าใช้จ่าย)
  • ความกล้าหาญ (ตัดสินใจเอาเครดิตของตัวเองที่มีฐานะทางสังคมเป็นประกัน เรียกว่ากล้าทุ่มสุดตัวกับงานนี้ - พลาดไม่ได้)
  • วิธีการ (ที่เลือกแล้วว่าเหมาะสมที่สุดกับตัวเอง คือต้องรู้ตัวเองว่า ตัวเองจะไม่มีอาการ "ลงแดง" ถึงขั้นเจ็บไข้ได้ป่วยหาก "หักดิบ" แบบนี้)

          และที่สำคัญคือ ต้องสร้าง "พยาน" ให้ดี ว่าเราจะเลิก เช่นประกาศหน้าเสาธง ประกาศกลางที่ประชุม ประกาศท่ามกลางสงฆ์ ประกาศต่อหน้าลูกเมีย ตั้งชื่อลูกไว้เป็นพยาน เป็นต้น
          เลิกเถอะครับ มันมิใช่อาหาร

เป็นบทความที่มีทั้งสาระและประโยชน์ดีมาก แล้วชายหนุ่มในกลุ่มของคุณเลิกสูบบุหรี่กันหรือยัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท