มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

วิกฤติสังคมไทย : เด็กปฐมวัยถูกมองข้าม


มีงานวิจัยยืนยันข้อมูลชัดเจนแล้วว่า เด็กที่ได้รับการศึกษาโดยเริ่มต้นจากอนุบาลศึกษามากกว่า 70% ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาในชั้นอนุบาล แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ศักยภาพของเด็กวัยนี้กลับถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
       

       รศ.ดร.นัยพินิจ คชภักดี (นักวิชาการโครงการวิจัยชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรมสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.มหิดล) ให้ความเห็นถึง พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในงานเสวนา “พลังสมองของเด็กวัยคิดส์” Kids’ learning Seminar ที่บริษัทรักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัดว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่จำเป็นต้องเรียนรู้และให้ประสบการณ์แก่เด็ก เพราะสมองเป็นระบบประสาทของการรับรู้ ป้อนข้อมูลให้สมอง จากนั้นนำข้อมูลไปประมวลเก็บเป็นประสบการณ์และเป็นโปรแกรมควบคุมการเจริญเติบโต พฤติกรรม ความแตกต่าง นิสัยใจคอ และสมาธิ
       
       ดังนั้น การศึกษาในระดับอนุบาลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่พัฒนาได้แค่เรื่องสติปัญญา หรือความเฉลียวฉลาด แต่ยังรวมถึงคุณธรรมจริยธรรมด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม ประเด็นของเด็กปฐมวัยที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ เด็กถูกกระตุ้นมากจนเกินไป หรือที่เรียกว่า อาการ“burn out” ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน แต่สิ่งสำคัญที่ถูกมองข้ามไป คือ ความพอใจของเด็กช่วงวัยอนุบาล ความพร้อมในเรื่องการเคลื่อนไหว การพูด การปรับตัว รู้จักกาลเทศะ อีกประเด็นที่สำคัญคือ อนุบาลศึกษาไม่ได้อยู่ในแผนการศึกษาของชาติ ต่างคนต่างจัดเอง ถึงแม้เราจะมีกระทรวงศึกษาธิการที่คอยควบคุมดูแลตั้งแต่ป.1ขึ้นไป
       
       ด้านหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นักการศึกษาปฐมวัย) ให้คำแนะนำว่า พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของวัยอนุบาลแตกต่างกัน พ่อแม่จึงต้องเป็นผู้ช่วยสำคัญในการพัฒนาเรื่องทักษะชีวิตของลูก เพราะมีงานวิจัยค้นพบว่า การปูพื้นฐานสมองของเด็กก่อน 4 ขวบ ได้ผล100% ถ้าหลัง 4 ขวบไปถึง 6 ขวบผลจะลดลงครึ่งหนึ่ง
       
       ทั้งนี้ ในการดุเด็กแต่ละครั้ง ต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กไม่ได้เกิดมาด้วยเหตุผล จะได้บรรทัดฐานจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่และจากนิทาน ต้องกำหนดว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ให้ชัดเจน รวมถึงโรงเรียนก็เช่นกัน เพื่อสร้างสิ่งที่ขาดไม่ได้ให้กับเด็กนั่นคือ “มโนธรรมหรือสามัญสำนึก” รวมถึงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีง่ายๆ คือ เราต้องมีโจทย์ให้เขาแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับคำสั่งที่สามารถกระตุ้นเด็กได้มากน้อยเพียงใด สิ่งสุดท้ายเป็นวิธีง่ายๆที่ครูจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย ด้วยการจัดกิจกรรมที่มีความสมดุล ให้เด็กได้พักกับตัวเอง เงียบแบบมีพลัง มีสมาธิ
       
       อยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่าในช่วงปีแรก ควรให้เวลาอยู่กับลูกให้มากที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพื่อลดปัญหาที่มาจากพี่เลี้ยงด้วยฉะนั้น สำหรับศตวรรษนี้จะต้องได้รับความร่วมมือระหว่างบ้านกับโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญ
       
       ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจจะรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถไปหาความรู้ได้ที่งาน “รักลูก Kids Learning Expo 2007 ครบเครื่อง เรื่องอนุบาลศึกษา” ในวันที่ 28-29 กรกฎาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. ณ เพลนารี 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์     20 กรกฎาคม 2550 08:17 น.<hr width="100%" size="2" />

หมายเลขบันทึก: 112973เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท