ทุกเรื่องเป็นการจัดการความรู้ ถ้า...


ใช้การถอดบทเรียนเพื่อการขยายผลเป็นเครื่องมือย้อนกลับในการขับเคลื่อนงานจัดการความรู้อีกทีหนึ่ง

วันนี้ทีมงานโดยการนำของผอ.วิมล วัฒนาจากกศน.มาหารือการถอดบทเรียนโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ประกอบด้วยรองเกษร ธานีรัตน์ ผอ.สุรพลจากอ.จุฬาภรณ์ ผอ.กัลยาจากอ.ร่อนพิบูลย์ ผอ.บุษบาจากอ.ช้างกลาง ผอ.อารี อ.อุไรวรรณ และอ.เป้า
เราหารือหัวข้อในการนำเสนอเริ่มตั้งแต่บทที่๑:ที่มาของปัญหา
ซึ่งสรุปเป็น3ด้านสำคัญคือ
1)สภาพทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราช ผอ.วิมลใช้คำว่าภูมินิเวศน์วัฒนธรรม
2)สภาพการพัฒนาของชุมชน เรื่องอัตลักษณ์ของสังคมคนเมืองคอน
3)ปัญหาจากโครงสร้างการพัฒนาที่มาจากรัฐ(และทุนโลกาภิวัฒน์-ผมเพิ่งเพิ่มเอง)

บทที่๒:เครื่องมือในการพัฒนา
1)แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง ที่มา
ตั้งแต่แนวคิดและตัวแบบที่ชุมชนไม้เรียงของน้าประยงค์ รณรงค์ โครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิหมู่บ้าน UNDPและกรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลโดยกองทุนเพื่อสังคม และขบวนประชารัฐ    
จนกระทั่งมาถึงช่วงการปรับระบบการทำงานของรัฐบาลนายกทักษิณคือ Agenda Area และFunction โดยเพิ่มหน่วยจัดการพื้นที่(Area)ในชื่อจังหวัดบูรณาการพร้อมงบประมาณซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้น้ำหนักกับเรื่องนี้เป็นพิเศษโดยจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายยมนา(โดยการนำของน้าประยงค์)กับปกครองจังหวัดในพื้นที่400หมู่บ้านครอบคลุม165ตำบลทั้งจังหวัดในปี2548

2)การจัดการความรู้ เรื่องแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและองค์กรบนฐานงาน เน้นคุณค่าและการพัฒนาความสามารถของคน แบบจำลองปลาทู ฯลฯ
มีที่มาจากโครงการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ม.วลัยลักษณ์ ที่ได้ทดลองดำเนินการในพื้นที่3ตำบลนำร่องในอ.เมืองโดยร่วมมือกับ8หน่วยงาน เริ่มจากการหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ พัฒนาเป็นโครงการความร่วมมือแบบหุ้นส่วนและขอการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัด โดยท่านได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วย เมื่อถึงงบประมาณปี2549 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำ2เครื่องมือ มาเชื่อมโยงกันใช้ชื่อว่า โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ทำroadmapการพัฒนาไว้6ปี
3)ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แนวคิดและที่มามาจาก
ปัญหาระบบใหญ่ขาดเงินต้องใช้งบรัฐเติมเข้ามาอย่างมีประโยชน์สูงสุด บทเรียนที่นครศรีธรรมราชได้ขยายผลผ่านสคส. เชื่อมไปกพร. รองนายกไพบูลย์ และรองฯโฆษิตทราบเรื่องนำสู่การเปิดโครงการที่นครศรีธรรมราชด้วยกรอบงาน5ด้าน

บทที่๓ วิธีการพัฒนาและผลที่เกิดขึ้น(จัดการความรู้)เล่าเรื่องการจัดกลไกการดำเนินงาน กิจกรรมในวงเรียนรู้ต่างๆผ่าน2เครื่องมือดังกล่าว
บทนี้จะเล่าตัวอย่างค่อนข้างละเอียด บอกกิจกรรมเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นทั้งในตัวอย่างและในภาพรวมซึ่งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข การเล่าเรื่องจะเป็นพลวัตคือทำไปเรียนรู้ไป สรุปผลและปรับกระบวนการให้สอดคล้องจนกระทั่งถึงการผ่องถ่ายการพัฒนาซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้รองผู้ว่าฯรับช่วงต่อ

บทที่๔ สรุปผลการดำเนินงานของโครงการและข้อเสนอแนะ
เล่าสรุปย้อนปัญหาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ข้อสรุปผลที่เกิดขึ้น และสังเคราะห์ความรู้แนวคิด กระบวนการ เป้าหมายและผลที่เกิดขึ้น      เป็นแบบจำลองเพื่อการพัฒนา/ขยายผล
เพิ่มเติมด้วยการถอดประสบการณ์การเคลื่อนงานจัดการความรู้ของผอ.กศน.

ภาคผนวก รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในบทที่๓และอื่นๆ

ผมเสนอให้หัวหน้าโครงการคือผอ.กศน.และทีมงานร่างเรื่องนี้ออกมาแล้วนำเข้าที่ประชุมเพื่อขอคำแนะนำจากผู้เกี่ยวข้องในโครงการทั้งวงคุณเอื้อ คุณอำนวยและคุณกิจ

เราจะใช้การถอดบทเรียนเป็นงานวิชาการเพื่อการขยายผลเป็นเครื่องมือย้อนกลับในการขับเคลื่อนงานจัดการความรู้อีกทีหนึ่ง ผมเสนอให้ทีมงานของกศน.ในแต่ละอำเภอทำการถอดบทเรียนคู่ขนานไปด้วย

ต้องบอกว่า ทั้งหมดเป็นการเรียงร้อยจากความจำ อาจจะไม่ตรงกับที่ทีมงานเขียนสรุปกันในflipchart ครับ

คำสำคัญ (Tags): #kmเมืองนคร#กศน.
หมายเลขบันทึก: 112007เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ...พระอาจารย์ภีม

การถอดบทเรียนและชุดความรู้จากการขับเคลื่อนงานที่อาจารย์ภีมเล่ามานั้นนับเป็น "เครื่องมือ" ที่สำคัญในการพัฒนา ทั้งในส่วนของการพัฒนา "คน" พัฒนา "กระบวนการ" และพัฒนา "เนื้องาน" ทั้งที่เป็นงานในพื้นที่ของนครฯ เองและในอีกหลาย ๆ จังหวัดค่ะ  รอติดตามชุดความรู้นี้อยู่นะคะ

ขอส่งผ่านความชื่นชมทีมงานกศน.ของนครฯ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

สวัสดีคะ พี่ภีม

เข้ามาเก็บเกี่ยว เรียนรู้เทคนิคการถอดบทเรียน...ดีมากเลยคะ ช่วยให้เราสามารถคิดเชื่อมโยงความคิดของเราให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น...ขอบคุณคะ

การทำงานแต่ละอย่างในชุมชนบางครั้งก็ทำให้เราเหนื่อยล้าแต่ก็อดทนเพื่อที่จะให้สังคมในชุมชนได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงแต่มีคนบางกลุ่มไม่ค่อยเห็นการทำงานช่วยเหลือชุมชนเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน หรือว่ามันมีอะไรแอบแฝงอยู่กับคนที่ไม่ค่อยสนับสนุนกลุ่มของนักบุญใจแห้งเหี่ยวแต่ก็มีจิตที่อาสาจะทำงานให้กับชุมชนต่อไป ขอขอบคุณ คุณภีมนะค่ะที่ได้มามีส่วนร่วมให้ชุมชนได้เข้มแข็งในระดับหนึ่งแต่ยังมีสิ่งที่นักบุญทั้งหลายจะต้องช่วยกันสร้างนักบุญให้มากขึ้น และต้องเป็นคุณกิจไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท