beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความลับของน้องผึ้ง <๖> : การแบ่งงานกันทำ (division of Labour)


ผึ้งงานเขามีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งเรียกว่า "division of labour" โดยมีการกำหนดหรือมีการโปรแกรมไว้ในยีนตั้งแต่เกิด

(ผมเคยเขียนไว้ที่นี่ครับ)         

          ในสังคมของน้องผึ้งมีเรื่อง "การแบ่งหน้าที่กันทำงานสำหรับการทำงานให้เป็นทีม" มาเล่าให้ฟังครับ

          น้องผึ้งของเรานั้น มีการแบ่งเป็นวรรณะได้ 3 วรรณะ คือ ผึ้งนางพญา (Queen), ผึ้งงาน (worker) และ ผึ้งตัวผู้ (Drone) ดังรูปข้างล่าง จากซ้ายไปขวาตามลำดับ คือ ผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ และผึ้งนางพญา

 

        ผึ้งนางพญา มีหน้าที่ บินไปผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้, ควบคุมสังคมภายในรัง และการวางไข่

        ผึ้งตัวผู้ มีหน้าที่ กินอาหาร และบินไปรอคอย ผึ้งนางพญาเพื่อผสมพันธุ์

        ผึ้งงาน มีหน้าที่ ทำงานทุกอย่างภายในรัง

        สำหรับบันทึกนี้ มาว่ากันเฉพาะเรื่องผึ้งงานนะครับ ผึ้งงานเขามีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งเรียกว่า "division of labour" โดยมีการกำหนดหรือมีการโปรแกรมไว้ในยีนตั้งแต่เกิด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกลไกทางสรีรวิทยาภายในร่างกายของผึ้ง และจากการศึกษาของมนุษย์พบว่า การทำงานของผึ้งเป็นไปตามอายุขัยของผึ้งและความต้องการของรังดังนี้

 อายุเมื่อออกจาก

หลอดรวง (วัน)

 หน้าที่การทำงานของผึ้งงาน

(ผึ้งพันธุ์ : Apis mellifera )

 0-1

เดินไปเดินมาไม่ทำอะไร 

 1-3

ทำความสะอาดหลอดรวงตัวอ่อน

3-5

เลี้ยงน้องตัวหนอนอายุมากกว่า 3 วัน

5-15

เลี้ยงน้องตัวหนอนอายุ 1-3 วัน, ป้อนอาหารผึ้งนางพญา

12-18

สร้าง,ซ่อมแซมรวงรัง,ปิดหลอดรวงตัวอ่อน

12-18

ฝึกบิน

15-18

ผลัดกันป้องกันรังหรือเป็น Guard อยู่หน้ารัง

มากกว่า 18

ผึ้งหาอาหาร (น้ำหวาน, เกสร)

1-30

ทำหน้าที่เป็นผึ้งประจำรัง (House bee)

18-ตาย

ทำหน้าที่เป็นผึ้งสนาม (Field bee)

  60 วัน (ตาย)

โดยปกติผึ้งงานมีอายุยืนเฉลี่ย 68 วัน

        ตามตารางข้างต้น ผึ้งจะถูกกำหนดให้ทำงาน ตามตารางเป็นโปรแกรมมาตั้งแต่เกิดเลย ทุกตัวที่เป็นผึ้งงานต้องทำงาน เขาจะไม่เกี่ยงกัน ช่วยเหลือการทำงานกันเป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง ผึ้งตัวหนึ่งมีน้ำหวานหกรดใส่ ผึ้งอีกตัวก็จะมาช่วยดูดน้ำหวานออก ทำความสะอาดให้

        ผึ้งสนามออกไปหาอาหาร พอกลับมามีไรดอกไม้ติดมาเต็มตัว ผึ้งในรังก็จะช่วยกันทำความสะอาดให้ (เท่าที่ทำได้)

        ผึ้งสนามออกไปหาน้ำหวาน (nectar) จากดอกไม้ เก็บมาในกระเพาะเก็บน้ำหวาน พอมาถึงรังก็จะสำรอกออกมาส่งให้ผึ้งประจำบ้านนำไปเก็บไว้ในหลอดรวง (เซลล์) เป็นต้น

       ผึ้งงานทุกตัวต้องทำงาน หากทำงานไม่ได้ (พิการ) จะถูกนำไปทิ้งนอกรัง (ห้ามเอาเปรียบกัน) ผึ้งทุกตัวทำงานโดยไม่มีค่าแรง สิ่งที่ได้รับคือ กลิ่นตัวจากผึ้งนางพญา การได้อยู่และถูกยอมรับในสังคมผึ้ง และผึ้งคงมีความสุขอยู่กับการทำงานและการได้ช่วยเหลือผึ้งตัวอื่นครับ เมื่อเป็นอย่างนี้ ผึ้งไม่รับค่าแรง ดังนั้นคนที่เลี้ยงผึ้ง จึงถูกผึ้งเลี้ยงไปโดยปริยาย (เพราะผึ้งใช้เงินไม่เป็น)...ฮา !..

       ในเรื่องผู้นำ/ผู้ตาม หรือ เรื่องของผึ้งนางพญาและผึ้งงานเอาไว้เล่าต่อวันอื่นครับ

        วันนี้อยากให้ชมภาพผึ้งงานและผึ้งตัวผู้ที่ผมถ่ายมาจากรังของน้องผึ้งครับ 

       
       
       
       

 

หมายเลขบันทึก: 111997เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผมว่า คนที่ศึกษาจนได้พฤติกรรม เนี่ยเก่งจริง  ๆนะครับ เขารู้ได้ไง ว่า ช่วงชีวิตแต่ละ วัย ผึ้งทำอะไร แล้วรู้ได้ไงครับว่าไม่ทะเลาะกัน เพราะว่าผึ้งพูดไม่ได้ ด่ากันก็ไม่ได้เสียด้วย แต่มันอาจทะเลาะกันโดย มองหน้ากันเฉย ๆ ก็ได้นะครับอาจารย์ อิอิ !
  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ ท่านหมอจิ้น
  • มาปรับแก้ไขบันทึกครับ..ไปนอนก่อนครับ

อ่านแล้ว เข้าใจเรื่องผึ้งงาน ว่า ผึ้งงานจะช่วยกันทำงานเป็นอย่างดี ทำตามหน้าที่ของตัวเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นไปตามลักษณะทางพันธุกรรมที่กกำหนดให้ผึ้งงานต้องเป็นแบบนี้ คนน่าจะเป็นเหมือนผึ้งงานบ้างที่มีงานก็ช่วยกันทำ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ค่ะ

  • ขอบคุณสำหรับ ข้อคิดเห็นครับ คุณ winny_phool
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท