เข้าใจธรรมชาติแห่งทุกข์


ปัญญาทางธรรม(อริยสัจ4)สามารถควบคุมไม่ให้ความจำที่เป็นผลแห่งทุกข์ตื่นหรือทำหน้าที่ได้
    ผมเชื่อว่าทุกคนพอพูดถึง อาการเศร้าโศก คร่ำครวญ อาลัย เสียใจ คับแค้นใจ ความสิ้นหวัง ทุกคนเข้าใจได้ด้วยตนเอง เพราะมันเป็นผลผลิตของความทุกข์ที่เคยเกิดขึ้นกับเรา และทุกครั้งที่เกิดความทุกข์อาการดังกล่าวก็จะถูกบันทึกซ้ำไว้ในสมองของเราเสมอ แต่ไม่ต้องตกใจแม้มันมีอยู่ในสมองของเราก็ตามถ้ามันไม่ได้ทำหน้าที่ก็ไม่มีผลอะไรกับเรา เหมือน ยาพิษ  รถยนต์ ก้อนหิน ที่วางอยู่  เราไม่ยุ่งกับมันมันก็อยู่เฉยๆ มันจะทำงานก็ต่อเมื่อเราไปยุ่งกับมัน เช่น เอายาพิษมากิน หรือยกก้อนหินมันก็หนัก เป็นต้น หรือเวลามีคนถามว่าความเศร้าโศกคืออะไร เราก็ตอบได้ว่าเป็นอาการอย่างนั้นอย่างนี้ตามข้อมูลในสมองของเรา เราก็ไม่ได้เศร้าโศกอะไร เรารู้เฉยๆ มันไม่ได้ทำหน้าที่ก็ไม่เป็นผลอะไรกับเรา ถ้าเราไปยุ่งโดยการ เอามาคิดปรุงแต่งจนเกิดเป็นความทะยายอยาก อยากให้เป็น หรือไม่อยากให้เป็น อย่างนั้นอย่างนี้(ตัณหา)โดยยึดมั่นเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง(อุปาทาน)ก็จะเกิดความทุกข์จริงขึ้นมา เกิดอาการข้างต้นขึ้นอีก และถูกเก็บบันทึกลงสมองอีก ถ้าคนมีความทุกข์บ่อยๆ ก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความทุกข์ แล้วความทุกข์อะไรที่แก้ได้ด้วย ปัญญาทางธรรม ให้เข้าใจอย่างนี้ครับ ความทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติ ได้แก่ทกข์ทางกาย เช่น เจ็บ ป่วย ก็ควรไปหาหมอ ความแก่ ความตาย ถือเป็นทุกข์ธรรมชาติ เราอย่าไปเสียเวลาไปแก้ทุกข์ธรรมชาติ ส่วนทุกข์แท้ก็คือทุกข์ทางใจทั้งหมด สามารถแก้ด้วยปัญญาทางธรรม รวมทั้งทุกข์ทางใจที่เกิดจากทุกข์ทางกายด้วย แม้ทุกข์ทางกายที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติแต่เกิดจากทุกข์ทางใจ เช่นอาการของโรคต่างๆที่เกิดจากทุกข์ทางใจแล้วไปแสดงอาการทางกายก็สามารถแก้ด้วยปัญญาทางธรรมครับ..
คำสำคัญ (Tags): #แนวพุทธ
หมายเลขบันทึก: 11171เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านข้อความของคุณแล้ว ก็พยายามทำใจไม่ให้เกิดทุกข์อยู่เช่นกัน แต่ทำใจยากหน่อยนะ แต่ก็ทำใจและพยายามตั้งสติแล้วก็แก้ไขด้วยปัญญาอย่างที่คุณว่านั่นแหละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท