ตำนานสำนักเขาอ้อ


เขาอ้อ ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบัน ประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณส่วนนั้น (เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่นเนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมาก ตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบัน ประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณส่วนนั้น (เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

        ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤาษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำบนเขาอ้อบำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์) แล้วได้ถ่ายทอดวีชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจ ซึ่งตามวรรณะแล้วพราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์หรือวรรณะกษัตริย์และลูกหลานผู้นำเพื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สำนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆ สำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ

พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมาซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้คณาศิษย์ นอกจากวิชาในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศสาตร์แล้วก็ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยามการจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนไปถึงไสยเวทและการแพทย์ ตามตำนานบอกวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสาย สำนักเขาอ้อในสมัยนั้นเป็นสำนักทิศาปาโมกข์จึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ

การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นท่านแล้วสถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังล่างไว้ที่นั้น สถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้พราหมณ์ผู้เฒาท่านนั้นจึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดและรักษาสถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้ว

บริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ วัดน้ำเลี้ยว มหาพราหมณ์ทั้งสองท่านเล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้น การที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดีท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยวให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่านแล้วมอบ

คำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ

พระภิกษุรูปแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า ทองส่วนจะทองอะไรนั้นสุดจะเดาได้เพราะวัดแห่งนี้ช่างอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่าน ภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลื่องไปทั่ว

ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะห์กันด้วยเหตุผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มาก มีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ 

๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่

วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้นส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนา อีกด้านเป็นคลองใหญ่ อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมัยนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้ พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต

๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ ไสยเวท

เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวทแต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดถึงขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวทคือคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ มี ๓ ส่วน คือ

๑) ฤคเวท เป็นคำภีร์ที่รวบรวมบทสรรเสริญเทพเจ้า

๒) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ส่วนรวมบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ

๓) สามเวท เป็นส่วนที่รวบรวมบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ

นอกจากคัมภีร์สามส่วนนี้ ต่อมาพราหมณ์ได้เพิ่มคำภีร์สำคัญเข้ามาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมวิชาเกี่ยวกับไสยเวทและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรียกว่า อถรรพเวท

๓. วัตถุมงคลของสำนัก วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังของสำนักเขาอ้อแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ กล่าวคือ สมัยก่อนไม่มีการทำรูปพระเครื่องหมายถึงการทำรูปพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ หากแต่ทำเป็นของขลังอย่างอื่นแทน เป็นต้นว่า ตะกรุด คต ฯลฯ อาจจะเป็นพระเครื่องรางนั้นสืบทอดต่อมาจากพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดจริงๆ จะไม่ทำเป็นรูพระ

ในขณะที่สำนักอื่น ๆ ในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียง ล้วนมีหลักฐานพระเครื่องเป็นรูปพระทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นพระร่วง, พระซุ้มกอ, พระคง, พระนางพญา,พระชินเขียวต่าง ๆ ฯลฯ ที่มีการขุดค้นพบ

แต่ต่อมาพระภิกษุรุ่นหลัง ๆ ในสำนักเขาอ้อได้เริ่มทำเป็นพระบ้างแล้ว โดยทำเป็นรูปบูรพาจารย์ของสำนักแห่งนี้ เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์ทองหูยาน พระอาจารย์ปาล เป็นต้น และได้ทำมาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ด้วยจุดน่าสังเกตดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ตำนานดังกล่าวมีส่วนน่าเชื่อถืออยู่ไม่น้อย

+

+

(คัดจากหนังสือ เขาอ้อ วิทยาลัยไสยเวทแห่งสยาม 

เวทย์ วรวิทย์ ค้นคว้า-เรียบเรียง

สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม)

หมายเลขบันทึก: 110129เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท