สุขภาพกายและสุขภาพใจ ( ตอนที่ 1 )


โรคเรื้อรัง

              เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาได้ยากและไม่ค่อยมีโอกาสหายขาด เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิดขึ้นเนื่องจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือสร้างไม่ได้  ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่คือ เผาผลาญอาหารประเภทข้าว แป้งและน้ำตาล และช่วยรักษาระดับการเผาผลาญอาหารประเภทไขมันและโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นที่น่าวิตกว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และในขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล สถานีอนามัย ทุกแห่งก็เริ่มทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้ทราบรวมถึงมีการจัดการอบรมให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้อยู่ตลอดมา ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงได้ประพฤติปฏิบัติตนเองเสียใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากโรคนี้
              อาการที่น่าสงสัยหรือบ่งบอกว่าท่านน่าจะเป็นเบาหวาน คือ หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นแผลและแผลหายช้า ตาพร่ามัว ซึ่งถ้าหากท่านมี่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วท่านต้องรีบไปตรวจเพื่อที่จะทำการป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที
              

 

หมายเลขบันทึก: 109946เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ดีใจด้วย เปิดบล็อกได้แล้ว ต่อไปก็ปรับปรุงบันทึกให้เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนสมาชิกและผู้สนใจต่อไป

สวัสดีครับ  พี่น้องกลุ่มสหกรณ์แม่ออน  ได้ยินชื่อกลุ่มแม่ออนในครั้งแรกที่ผมคิดคือ นมวัว  ในส่วนตัวของผมแล้วได้นำนมวัวดิบ จากฟาร์มโคนม เพื่อเป็นอาหารให้หัวเชื้อจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส  (ใช้ในการเกษตรกำจัด ป้องกันราดำ ราขาว ของต้นพืช และสร้าภูมิคุ้มกันให้พืช) ซึ่งมีหัวเชื้อมาจากประเทศทิเบต  (ดั้งเดิมเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมองโกเลีย ที่อยู่ทุ่งกระโจมเลี้ยงสัตว์ เร่ร่อน เป็นอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทั้งความสมดุลของระดับน้ำตาล ไขมัน มีแอลกอฮอล์ด้วย  งานวิจัยเรื่องนี้จะนำเสนอในห้องเรียนศูนย์ดอยสะเก็ด วิชาการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนายั่งยืน)   นักวิชาการของไทยเลยเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า "บัวหิมะ" ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ

/ ด.ต. ธีรกานต์ฯ...

ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มสหกรณ์ของศูนย์ฯแม่ออนด้วยครับ   กระผม  (บล๊อคส่วนตัว) มาตามหากลุ่มเพื่อนนักศึกษาไม่เจอใครเลย  มาเจอกลุ่มท่านเลยแวะมาทักทายครับ

การนำเสนอเกี่ยวกับสุขภาพกระผมชอบอ่านมาก เพราะทำให้ได้ประโยชน์ในการรักษาสุขภาพ  ขอบคุณครับ  ด.ต. ธีรกานต์ฯ ....กลุ่มรุ่งอรุณ  ดอยสะเก็ด

ยินดีด้วยสำหรับกลุ่มร้องวัวแดง 2 ที่เปิด blog ได้แล้วและยินดีต้อนรับ ดต. ธีรกานต์ ฯ กลุ่มรุ่งอรุณ ครับ คราวหน้าผมจะหาเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพมาลงใหม่นะครับเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านได้บ้าง

สวัสดีครับ นศ. กลุ่ม สหกรณ์ ทุกท่าน

ผมในฐานะที่ปรึกษาของนศ. ขอสดงความดีใจกับการที่ท่านเอาชนะใจตัวเอง และเอาชนะเทคโนโลยี ยุคไซเบอร์ เช่นปัจจุบันนี้ได้อย่างทระนง  ยินดีต้อนรับผู้เชี่ยวชาญอย่างท่านทุกคน ครับ

 สวัสดีครับ กลุ่มสหกรณ์ ศรร.แม่ออน เชียงใหม่

     ยินดีมากครับที่จะได้รู้จ้กกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์และร่วมศึกษาในวิถีเดียวกันครับ พวกเรากลุ่มเด็กหลังห้อง ศูนย์เรียนรู้อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ยินดีต้อนรับพวกท่านทุกคน ขอเรียนเชิญเข้าไปชมไฟล์อัลบั้มและบล๊อกของพวกเราและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องรายวิชาการเรียนหรือเรื่องทั่วไปก็ได้นะครับ

                                 หนึ่งในกลุ่มเด็กหลังห้อง

เข้ามาเยี่ยมเยียนแล้ว  ขอให้สมาชิกกลุ่มสหกรณ์ ทุกท่านช่วยกันทำให้สำเร็จ   ไปให้ถึงเป้าหมายตาม (กติกา)ที่ตั้งไว้นะครับ   และอยากให้ศึกษาเพิ่มเติมการใช้  จาก คุณ มะปรางเปรี้ยว  ใน  http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/90628  และ คำแนะนำ การเขียน blog ใน http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/76089  ให้เข้าใจนะครับ

แล้วอาการดังต่อไปนี้เสียงที่จะเป็นเบาหวานเปล่าครับ 1. เนื้อตัวดูเหลืองแต่ไม่มาก 2.กระหายน้ำพอประมาณ 3.นอนเพลียหลังจากออกกำลังกายแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง

ถ้างัยขอคำแนะนำด้วยครับ

กลุ่ม สี่ ทาเหนือ ศรร.แม่ออน

โรคภัยไข้เจ็บ ในหลาย ๆโรคที่เป็นแล้วรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ไม่ต้องคอยกังวลถึงอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น ก็คือ
1. ทำจิตใจให้เบิกบานสดชื่น คิดถึงแต่สิ่งดี ๆ
2. รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ ไม่ตามใจปาก
3. ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ อย่าตามใจตนเองให้มากเกินไป
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยยึดหลักการออกกำลังกายคือ ให้บ่อย ให้หนัก ให้นาน คือ การออกกำลังกายที่สามารถทำได้และเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยคือการเต้นแอโรบิค บ่อยคือ อาทิตย์ละ 3 วัน หนักคือออกกำลังกาย 70-80% ของท่าทาง เช่น การยกแขน ยกขา ขยับร่างกายในส่วนของข้อต่อต่างๆ  นานคือ ออกกำลังกายใช้เวลาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป
ทางกลุ่มห้วยแก้วขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเพียงเท่านี้ก่อน คราวหน้าพบกันใหม่

 

สุขภาพดีเริ่มที่การออกกำลังกาย ผมว่าถ้าทุกคนไม่เครียด หมั่นออกกำลังกาย แล้วทานผลไม้กับผักให้เยอะๆ น่าจะมีชีวิตอยู่ยาวนานนะครับ  คือใครว่ายังงัยบ้างครับ
นายสุทธิศิลป์ นันชัย

อยากจะถามว่า...คนที่เป็นโรคเบาหวานนั้น  จะเป็นได้เฉพาะคนอ้วนหรือเปล่า  ครับ  ?  คำถามแรก

คำถามที่สอง...โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธ์หรือเปล่า  ?...

ผมขอถามสองคำถามคงไม่รบกวนมากไปนะครับ

สิทธิชัย ภิวงศ์งาม

คนที่จะเป็นโรคเบาหวานได้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่อ้วนเสมอไปหรอกคนที่ผอมก็อาจจะเป็นได้ขึ้นอยู่กับการปฎิบัติตัวของเราเองครับและโรคเบาหวานส่วนมากจะมาจากกรรมพันธุ์ครับ ไม่ว่าจะมาจาก พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย แต่ใช่ว่าจะเป็นเหมือนกันหมดทุกคนนะครับ อาจจะเป็นเฉพาะบางคนเท่านั้น ที่ว่าโรคเบาหวานนั้นเกิดมาจากกรรมพันธุ์ก็เพราะว่าเวลาตรวจเจอหมอมักจะถามว่าญาติพี่น้องมีใครเป็นบ้างเพราะมันเป็นที่สืบมาจากกรรมพันธุ์ครับ

    แฟนก็เป็นเหมือนกันค่ะ  ต้องทานยาทุกวันทั้งก่อนอาหารและหลังอาหาร  เมื่อมีเวลาก็จะพยายามออกกำลังกายบ่อย แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือการสังสรรค์กับเพื่อนแล้วต้องดื่มเหล้า  ดื่มเบียร์  บ่อยมาก ทำให้ปัจจุบันปริมาณน้ำตาลไม่ลดเลยค่ะ  มีแต่คงที่กับเพิ่ม  เรื่องอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ  แต่สิ่งที่สำคัญคือจิตใจของแฟนค่ะว่าจะต้องเข้มแข็ง  ทำใจให้ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง  ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คนที่เป็นน่ะค่ะ 
การรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมีส่วนสำคัญในการรักษา มากกว่าแพทย์ การดูแลตนเองที่ถูกต้อง จะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และไม่มีโรคแทรกซ้อน1.     การควบคุมอาหาร เลือกทานอาหารที่มีความหวานต่ำ ปรับสัดส่วนอาหารให้เหมาะสม จะทำให้การดูดซึมกลูโคสช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ 2.     การให้ยารับประทาน ยารับประทาน จะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินสุลิน ทำให้มีการใช้กลูโคสมากขึ้น ลดการสร้างกลูโคสใหม่ในร่างกาย และยับยั้งการดูดซึมกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลงได้ 3.     การฉีดอินสุลิน เพื่อทดแทนอินสุลินที่ขาดไป อินสุลินจะพากลูโคสเข้าไปใช้ในเนื้อเยื่อร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้ 4.     การออกกำลังกาย ทำให้มีการใช้พลังงาน ระดับน้ำตาลลดลงได้
การเลือกใช้การรักษาใด ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของเบาหวาน

ท่านประธานกลุ่มสหกรณ์ ศิษย์ลูกน้องได้ข้อมูลมาจาก นพ.รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ เห็นข้อมูลดีจึงนำมาให้อ่านค่ะ

การเตรียมตัวก่อนจะไปตรวจสูขภาพ

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในคืนวันก่อนตรวจ
  2. กรุณางด อาหาร และน้ำอย่าน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจสุขภาพ
  3. สวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  4. หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบก่อนล่วงหน้า ก่อนตรวจ

พูดถึงเรื่องเบาหวานแล้ว น่าเป็นห่วงกับกลุ่มคนที่ชอบทานอาหารที่รสหวาน ดังนั้นจึงขอแนะนำข้อควรปฏิบัติในการควบคุมอาหาร

1. เลือกรับประทานอาหารโดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ตามประเภทของอาหารคือ
    - พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55-60%
    - พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%
    - พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25%
2. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามรับประทานน้ำตาลและของหวานทุกชนิด รวมทั้งอาหารมัน ๆ และของทอดด้วย
3. เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทผักต่าง ๆ หรือเม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อน ๆ ด้วย
4. อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไปอาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้
5. รับประทานในปริมาณที่สม่ำเสมอและคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมได้ยาก
6. ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูงหรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม
7. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวในตอนเช้า เช่น Protaphane หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุดในตอนเย็นหรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่ายและมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสมไม่ให้บางมื้อมากเกินไป
8. ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องควบคุมอาหารตลอดไป
9. ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากในการควบคุมอาหาร "อาหารเบาหวาน" ไม่ใช่อาหารที่พิเศษพิสดารอะไร ผู้ป่วยเบาหวานก็รับประทานอาหารเหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพียงแต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในชนิดและปริมาณอาหารเท่านั้น
ได้ข้อมูลมาจาก
http://www.ku.ac.th/e-magazine/march46/know/food.html
จัดทำโฮมเพจโดย : สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 12 กุมภาพันธ์ 2546

แวะมาเยี่ยมครับ

ได้ความรู้จากหมอแล้ว อยากให้แบ่งปันกันเยอะ ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท