เทคนิคในงานส่งเสริมการเกษตร(1)


ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์ในการจัดการสนทนากลุ่ม

สนทนากลุ่มเป็นเทคนิคหนึ่งในงานส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการ

                     ในปัจจุบันนี้ การสนทนากลุ่ม(Focus Groups) เป็นวิธีการเชิงคุณภาพที่นักวิจัยรู้จักและใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่ง ไม่เฉพาะด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่รวมถึงศาสตร์แขนงอื่นฯด้วยและรวมไปถึงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR)เป็นต้น

 

                      ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์ในการจัดการสนทนากลุ่มมาแล้ว    ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีหลายท่านอาจยังต้องการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีนี้อีก    กระผมจะขอกล่าวถึงความหมายของการสนทนากลุ่ม    องค์ประกอบการสนทนากลุ่ม   และขั้นตอนของการจัดการสนทนากลุ่ม     ซึ่งมีประสบการณ์ตรงในการจัดการสนทนากับจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  ทั้งระดับจังหวัด  อำเภอ   และระดับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล รวมถึงระดับกลุ่มอาชีพทางการเกษตรในชุมชนต่างฯของจังหวัดกำแพงเพชร

 

ความหมายของการสนทนากลุ่ม

                    ความจริงแล้วมีหลายท่านที่ได้ให้ความหมายกับการสนทนากลุ่ม   แต่กระผมจะขอให้ความหมายของการสนทนากลุ่มนั้นหมายถึง  กระบวนการสนทนาหรืออภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นในเรื่องที่กลุ่มให้ความสนใจ  ตั้งแต่ 6-12  คน โดยมีการรักษาบรรยากาศในการสนทนาแบบเป็นกันเอง   มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของสมาชิกที่เข้าร่วมและมีผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการสนทนา  ผู้ทำหน้าที่ประสานงานทั่วไปและผู้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล   ทั้งมีการเตรียมคำถามแบบปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่  โดยมีการรักษาเวลาที่เหมาะสม    สุดท้ายจะต้องมีการสรุปบทเรียนทุกครั้งพร้อมมีการประเมินผลหลังการจัดสนทนากลุ่ม  และมีการบันทึกเป็นองค์ความรู้ไว้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้

 

                     ในการศึกษาเชิงคุณภาพทั่วฯไปนั้น วิธีการสนทนากลุ่มที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปจะมี 2 วิธี  คือ

          

(1)    การสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง เป็นการสัมภาษณ์ที่มุ่งหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่นักวิจัยต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพก็ได้

  

(2)    การอภิปรายกลุ่มแบบเจาะจงหรือการสนทนากลุ่มตามธรรมชาติ  เป็นการสนทนาที่เกิดขึ้นได้ทั่วฯไปในสนามโดยไม่เจาะจงสถานที่  เช่น  การจับกลุ่มสนทนาตามใต้ร่มไม้  ซึ่งผู้วิจัยในสนามได้รับการถ่ายทอดให้เข้าไปร่วมฟังด้วยทุกครั้ง  เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลต่างฯ ในชุมชนที่กำลังศึกษาอยู่     อย่างไรก็ตามในการสนทนากลุ่มตามธรรมชาตินั้น เป็นการสนทนาที่ไม่มีโครงสร้าง       ทั้งในแง่ประเด็นในการสนทนา และในแง่ของผู้เข้าร่วมการสนทนา

 

                หากเอาทั้งสองวิธีการมารวมกัน  คือ  การสนทนาเป็นกลุ่มและมีประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในการสนทนาแต่ละครั้ง ในปัจจุบันนี้  วิธีการวิจัยแบบการสนทนากลุ่มได้พัฒนามาถึงจุดที่มีหลักการและทฤษฏีรองรับที่มั่นคงพอสมควร  จึงได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในวงการวิจัยหลายสาขา

              สำหรับในงานส่งเสริมการเกษตร   ในภาคสนามก็มีการนิยมใช้กันมายาวนานพอสมควร   แต่อาจะไม่รู้ว่า การสนทนากลุ่มก็เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในภาคสนามและชุมชน   รวมทั้งมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินศักยภาพของกลุ่มอาชีพ    ตาม พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ต่อไป  (โปรดติดตามอ่านตอนที่2)   

หมายเลขบันทึก: 108785เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท