การวิจัยเกี่ยวข้องกับการขอผลงานทางวิชาการครู อย่างไร


การวิจัยเกี่ยวข้องกับการขอผลงานทางวิชาการครู อย่างไร

       มีครูจำนวนไม่น้อย เมื่อทำเรื่องขอผลงานทางวิชาการแล้วจะติดปัญหา ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ปัญหาที่ว่า คือ การวิจัย หรือการวิจัยในชั้นเรียนของตนเองนั่นเอง ไม่รู้จะเริ่มต้นไหนก่อนดี จะสร้างนวัตกรรม หรือจะตั้งชื่อเรื่องการวิจัยก่อนดี แล้ว ยังมีคำถามต่อมาอีกว่า  มันเป็นการวิจัยแบบไหน เขียนกี่บทดี แล้วเป็นการวิจัยทั่วไปหรือไม่ ทำให้เกิดความสับสนตามมา มากกมาย ดังนั้นผู้เขียนขอสรุปแบบฟันธงเลยว่า เราหลีกเลี่ยงการวิจัยไม่ได้แน่นอน มีความเกี่ยวข้องโดยตรง เราทราบถึงความเกี่ยวข้องก่อนแล้วตามด้วยปัญหาแล้วกันนะครับ

       ความเกี่ยวข้อง คือ  1)  การขอผลงานทางวิชาการ ตามเอกสารระบุชัดเจน ว่าจะต้องทำการรายนวัตกรรม 1 เรื่อง (งานวิจัยนั่นเอง) 2) เมื่อครูสร้างนวัตกรรม ต้องมีการรายงานการใช้ ว่านวัตกรรมก่อนใช้และหลังใช้เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี ผู้เรียนเป็นอย่างไร เห็นได้ชัดว่ากระบวนการวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว (ทดลองใช้)  3) งานวิจัยถือว่าเป็นหลักชึ้นดีเพื่อแสดงผลการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งถือว่าขาดไม่ได้ แต่งานวิจัยที่ครูเขียนนั้นอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความถนัด

     สำหรับปัญหาที่ครูพบในการทำรายงานหรืองานวิจัยคือ  1) ชื่อเรื่องครูคิดไม่ออก เรียงลำดับชื่อเรื่องไม่ได้ว่า จะตั้งชื่อเรื่องอย่างไรดี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ยากเลย เพียงแต่ครูต้องแน่ใจว่า เป็นงานวิจัยที่ทำเป็นแบบไหน ผมขอยกตัวอย่างชื่อเรื่องแล้วกัน เช่น  ผลการสร้างและการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน (อ่านเพิ่มเติม) เรื่อง.............. กลุ่มสาระการเรียน..........ชั้น.......................... สามารถใช้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เลย (เน้นการเขียน/อ่าน)  2)  รูปแบบงานวิจัยไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ถ้าคิดมาก ปกติแล้ว มี 5 บท หลัก  ตามรูปแบบการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโทนั้นเอง  คือ บทที่ 1 บทนำ  บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย  บบที่ 4 ผลการวิเคราะหืข้อมูล และบทที่   5 สรุปผล ข้อเสนอแนะ  3) แล้วปัญหาตามคือ แล้วจะเขียนรายงานการใช้นวัตกรรมเป็นงานวิจัยได้อย่างไร นี้ปัญหาหลักที่ครูมักจะทิ้งหรือใช้เวลามากในการเขียน ดังนั้นผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการเขียน คือ ดูตัวอย่างงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ว่าแต่ละบทประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง  ส่วนมากหัวข้อไม่แตกต่างกัน  ประการต่อมา ดูวิธีการเขียนการรายงาน แล้วนำประยุกต์ใช้กับการเขียนรายงานนวักรรมของเรา และประการสุดท้าย ต้องดูหลาย ๆ เล่มเพื่อจะรูปแบบการเขียนเป็นของตนเอง เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว (งานวิจัย ง่ายนิดเดียว)

ทองสง่า ผ่องแผ้ว

4/07/2550

หมายเลขบันทึก: 108474เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะน้อง..ทองสง่า

  • เยี่ยมมากเลยค่ะ  เขียนได้ดีมาก  ชัดเจน  ครูอ้อยจะไปบอกเพื่อนครูให้เข้ามาอ่านนะคะ จะได้เข้าใจในการทำผลงานค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท