ระบบ e-Customs


ปัจจุบันผู้ส่งออกส่วนใหญ่ดำเนินการด้านเอกสารส่งออกอยู่สองสามวิธี วิธีแรก คือการใช้ตัวแทนออกของที่สะดวก ลดปัญหาด้านบริหารและประหยัดกำลังคนในองค์กรคือใช้บริการ Outsource เต็มรูปแบบคือเพียงแค่ส่ง รายการสินค้าพร้อมรายละเอียดรวมถึงข้อกำหนดใน Letter of Credit (L/C) ให้กับผู้บริการจัดการการส่งออกที่เรียกติดปากว่า ชิปปิ้ง หรือรายที่มีบริการครบวงจร (Logistic Service Provider) โดยผู้ให้บริการ จัดการให้ครบทุกอย่าง ผู้ให้บริการเหล่านี้ก็จะเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอใบขนสินค้าขาออก เอกสารที่ผู้ซื้อกำหนดใน L/C รวมถึงเอกสารตามกฏระเบียบการนำเข้าของแต่ละประเทศ เมื่อเอกสารทุกอย่างครบก็นำส่งให้ผู้ส่งออกเพื่อทำการยื่นขอเรียกเก็บจากธนาคาร ส่วนวิธีที่สองคือ แบบผสมผสานทำเอกสารบางอย่างเองเช่น Commercial Invoice, Packing list,Certificates ต่างๆ ที่ผู้ส่งออกสามารถออกได้เอง หรือยื่นขอได้เองจากกระทรวงต่างๆ รวมถึงCertificate of Origin ที่รับรองจากสภาอุตสาหกรรมหรือหอการค้า โดยให้ผู้บริการ(Shipping) ดำเนินการควบคุมการบรรจุสินค้าเข้าตู้และขอใบขนขาออกให้เท่านั้น ที่เหลือผู้ส่งออก ดำเนินการเอง วิธีที่สาม ผู้ส่งออกมีแผนกจัดการส่งออกครบวงจร ดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งเมื่อระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยพัฒนา วิธีที่สามก็จะเหลือน้อย เพราะเป็นวิธีซึ่งมีต้นทุนที่สูง, มีความเสี่ยง และ ต้องเสียเวลาในการดูแลระบบศุลกากรไร้เอกสารเป็นเรื่องที่ระบบศุลกากรทั่วโลกที่มีการพัฒนาพิธีการนำเข้าส่งออก และประเทศไทยเองคงจะพัฒนาเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ เพื่อลดขั้น ตอนในการผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อรองรับระบบการค้าไร้กระดาษ (Paperless Trading)


ในอนาคต ระบบที่กำลังพัฒนาต่อไป คือระบบ Single Window เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่รอความพร้อมของระบบและให้เวลาผู้ส่งออก ปรับตัว ขณะนี้เป็นช่วงต่อของระบบเก่า(EDI) ซึ่งก็ไม่ได้เก่ามากมาปรับเปลี่ยนเป็นระบบที่เรียกว่าไร้เอกสารโดยใช้มาตรฐานXML และ Web Base Technology ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรับเปลี่ยนนั้นก็คง จะง่ายกว่าบางประเทศที่ไม่เคยมีระบบ EDIเลย ระบบ Paperless นี้เป็นระบบที่ผู้ส่งออกบางส่วนมองว่าเป็นภาระที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ Software การรับส่งเอกสารทาง Electronic การเตรียมการ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องเก็บสำรองข้อมูลเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายทั้งด้านคนและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น ทั้งๆที่เอกสารที่เป็นกระดาษก็ยังต้องเก็บรักษาไว้ตามที่กฏหมายบังคับไว้ว่าต้องสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ทำให้เป็น ภาระในการจัดเก็บเพิ่มเป็น 2 ระบบ ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ เพิ่งจะทำความรู้จักกับระบบEDI (Electronic Data Interchange) ที่กรมศุลกากรปรับใช้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็ต้องมาเรียนรู้กับระบบใหม่ ซึ่งช่วงปรับเปลี่ยนนี้ ยังมีการติดขัดเรื่องระบบเอกสารของราชการกันเองเพราะบางส่วนราชการโดยเฉพาะกรมสรรพากรยังต้องใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ เป็นการปรับระบบที่ไม่ได้ทำกันทั้งระบบราชการ จึงต้องมีทั้งกระดาษและไร้กระดาษ ทำให้ เกิดความสับสนว่าแบบใดใช้กระดาษ แบบใดไม่ใช้ นี่คงเป็นที่มาส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้มีการเลื่อนการบังคับใช้ระบบนอกเหนือไปจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากร (Harmonized Code) เป็นเรื่อง ปกติของการปรับเปลี่ยนระบบ ที่จะต้องมีความขลุกขลัก ไม่ว่าจะเป็นทางศุลกากรหรือผู้ส่งออก


ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปรับเปลี่ยนระบบทางศุลกากรเองก็ได้รับการร้องเรียนจากผู้ส่งออกและผู้ใช้บริการอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซ้ำซ้อนในการคีย์ข้อมูลเดียวกันหลายๆครั้งใน Invoice แม้จะเป็นรายการสินค้าที่เหมือนกัน ความยุ่งยากในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานราชการส่วนอื่นที่ยังต้องใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ พิกัดภาษีที่เปลี่ยนใหม่ยังไม่ตรงกับสินค้าครบทุกรายการ ความไม่แน่ใจใน ความปลอดภัยของข้อมูลและลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาหยุมหยิมที่เกิดจากการเปลี่ยนระบบ เป็นเรื่องที่ศุลกากรคงต้องรีบปรับปรุงแก้ไข ให้ความชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการ เพื่อจะได้ ผ่านช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องผู้ส่งออกประเภทที่ใช้บริการOutsource ครบวงจรคงจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากมายจากการปรับเปลี่ยนระบบนี้ นอกจากอาจมีค่าใช้จ่ายที่ อาจถูกเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจาก ServiceProvider หรือ บริษัทชิบปิ้ง ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธี เพิ่มขั้นตอนการบริการเพิ่มเจ้าหน้าที่และระบบ Software Hardware เพื่อรองรับระบบใหม่ สำหรับตัวแทนออกของใน ระบบเก่าที่มีวิสัยทัศน์ ก็จะรีบปรับตัวรับกับอาศัยช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากจะรักษาฐานลูกค้าเดิมก็ยังมีโอกาสรับลูกค้าใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะกังวลว่าจะทำเอกสารไม่ถูกต้องและไม่มีบุคลากรที่เข้าใจ เรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง Internet
ส่วนผู้ส่งออกที่เคยทำเอกสารผ่านระบบEDI อยู่แล้วคงปรับตัวเพิ่มเล็กน้อยกับปัญหาที่ต้องใช้โปรแกรม ebXML ซึ่งต้องคีย์ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าระบบเดิมเพราะมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น ถ้าพนักงานของผู้ ส่งออกมีความรู้เรื่องเทคโนยีสารสนเทศพอสมควรจะได้เปรียบกว่าผู้ส่งออกที่ไม่มีส่วนการขอรับรองเอกสารต่างๆก็ยังคงต้องใช้เจ้าหน้าทีติดต่อเพื่อขอการรับรองจากหน่วยงานราชการเช่นเดิม โดยเฉพาะผู้ส่ง ออกที่ต้องการขอคืนภาษี(มุมน้ำเงิน) จำเป็นที่ต้องขอใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมน้ำเงินที่เป็นกระดาษและได้รับการรับรองเพื่อยื่นขอคืนภาษีต่อไปให้ถูกต้องรวมทั้งการขอคืนอากร 19 ทวิก็ต้องดำเนินการเช่นกัน


สรุปแล้วกระบวนการที่ผู้ส่งออกต้องดำเนินการเป็นอันดับแรกที่จะเริ่มต้นระบบศุลกากรไร้เอกสารคือการจดทะเบียนเพื่อขอใช้ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นทะเบียนหรือทำสัญญาเป็นผู้ยื่นคำขอรับชดเชยภาษีอากรสำหรับการส่งออกในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ ติดตั้ง Software เพื่อใช้ติดต่อรับส่งข้อมูลกับทางกรมศุลกากรได้ด้วยตนเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท