KM Workshop ในที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย


         เมื่อราวเดือนที่แล้วดิฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านอาจารย์เทียมจันทร์เกี่ยวกับ การประชุมประชุมคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งปกติจะมีการจัดขึ้นทุกปีโดยสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย  สำหรับในปีนี้คณะศึกษาศาสตร์  มน. รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม   ในวันที่  26 – 27  กรกฎาคม  2550  เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์   มน.  เห็นความสำคัญการสร้างเครือข่ายบุคลากรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการ    เพื่อให้เป็นจุดกำเนิดเครือข่ายการพัฒนาการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  จึงได้เสนอที่จะ โครงการ “KM  Workshop  การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์”  ขึ้นในการประชุมปีนี้   ที่ผ่านมาอยู่ระหว่างรอว่าที่ประชุมจะสนใจที่จะนำกิจกรรมดังกล่าวเข้าเสริมในการประชุมดังกล่าวที่ทุกปีจะเป็นการประชุมพูดคุยกันในหัวข้อต่างๆ โดยใช้รูปแบบการประชุมปกติ     ซึ่งตอนนี้โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ  เรียบร้อยแล้ว  โดยผู้เข้าร่วม ลปรร. ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ  คือ

1. คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  60 ท่าน  
2. รองคณบดี  60 ท่าน    
3. เลขานุการคณะ  60 ท่าน 

จาก 60 สถาบัน  ได้แก่   
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
3.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
4.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
5.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
7.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
8.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
9.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
10.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
11.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
12.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
13.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
14.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
15.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
16.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
17.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
18.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
19.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
20.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
21.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
22.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
23.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
24.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
25.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
26.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
27.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
28.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
29.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
30.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
31.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
32.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
33.มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
34.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
35.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
36.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
37.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
38.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
39.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ
40.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  พระจอมเกล้าธนบุรี
41.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
42.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
43.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน
44.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
45.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
46.มหาวิทยาลัยทักษิณ
47.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
48.มหาวิทยาลัยนเรศวร
49.มหาวิทยาลัยบูรพา
50.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
51.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
52.มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
53.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
54.มหาวิทยาลัยรังสิต
55.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
56.มหาวิทยาลัยศิลปากร
57.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
58.มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
59.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
60.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
 
         พร้อมกันกับที่ขณะนี้ที่ มน. ก็อยู่ระหว่างการเตรียมการโครงการดังกล่าว   โดยเมื่อวาน  (25 มิ.ย. 50)  ได้มีการประชุมร่วมกันเป็นครั้งที่ 2  ในการเตรียมการในด้านต่างๆ  ระหว่างบุคลากรของศึกษาศาสตร์  (อ.เทียมจันทร์ พี่เกียม ปิ๊ก และ จนท. โสตฯ ศึกษาศาสตร์)  และ QAU  (อ.วิบูลย์ ตูน โอ)  โดยในห้องย่อย(รายละเอียดแสดงในกำหนดการ) ท่านอาจารย์เทียมจันทร์ได้เตรียมการให้มีนิสิต ป.เอก  ประจำอยู่ในแต่ละห้องเพื่อเก็บข้อมูล  (ถอดบทเรียน)  ไปใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป  โดยร่างกำหนดการที่เราได้จัดทำไว้มีดังนี้ค่ะ

(ร่าง) 
กำหนดการโครงการ  KM Workshop การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่  26 – วันศุกร์ที่ 27  กรกฎาคม  2550
ณ  ห้องสัมมนา  1, สัมมนา 2, ED 2102 
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันพฤหัสบดีที่  26  กรกฎาคม  2550
ห้องสัมมนา  1

08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 10.30 น. ประชุม “ที่ประชุม 16 คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (กลุ่ม 16 คณบดี)”
10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 – 12.00 น. ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  แห่งประเทศไทย

-----------------------------------------------------------------------------------------

09.00 – 11.00 น.  Blog  สำหรับเลขานุการคณะ ห้อง  ED  2101

-----------------------------------------------------------------------------------------

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. กล่าวรายงาน  โดย  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
กล่าวต้อนรับและพิธีเปิด  โดย รศ.ดร.มณฑล   สงวนเสริมศรี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
13.30 – 13.35 น. เกริ่นนำ โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
13.35 – 14.00 น. ชมวีซีดี  “เสียงกู่จากครูใหญ่”  เพื่อร่วมกันตอบโจทย์
1. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการพัฒนาคืออะไร
2.  ท่านได้แรงบันดาลใจอะไรบ้างที่จะนำไปใช้ในการทำงานของท่าน
3.  ข้อสังเกตในเรื่อง  Team  working / learning
 
14.00– 14.30 น. ร่วมกันตอบโจทย์  พร้อมรับประทานอาหารว่าง  (ในห้องประชุม)
14.30– 15.00 น. เกริ่นนำกระบวนการ และดำเนินการกระบวนการ KM   โดย ผศ.ดร.วิบูลย์   วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา
15.00 – 15.15 น. แยกย้ายไปตามห้องย่อยต่างๆ  
15.15 – 16.45 น. แบ่งกลุ่มออกเป็น  18  กลุ่ม  ได้แก่

         ห้องสัมมนา  1  กลุ่มที่ 1-6  : คณบดี
  (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน)
         วิทยากรกระบวนการ รศ.มาลินี  ธนารุณ  คณบดีคณะสหเวชศาสตร์

         ห้องสัมมนา  2  กลุ่มที่ 7-12  : รองคณบดี  (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน)
         วิทยากรกระบวนการ ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร  รอง ผอ. สำนักหอสมุด

         ห้อง ED 2102   กลุ่มที่ 13-18  : เลขานุการคณะ  (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน)
         วิทยากรกระบวนการ คุณอนุวัทย์  เรืองจันทร์  เลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ 

         เพื่อสร้าง “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) และสังเคราะห์ “ขุมความรู้” เป็น   “แก่นความรู้ (Core competence)”  ในลักษณะการเล่าเรื่อง (Storytelling)  โดยเล่าถึงความสำเร็จ / ความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานของตนเอง  วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ  และผลสำเร็จที่เกิดขึ้น หัวปลา  (KV) คือ ทำอย่างไรให้บรรลุภารกิจด้านการวิจัย และการวางแผน โดยพุ่งเป้าไปที่

         1.  คณบดี  :  ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการบริหารงานภายในคณะ
         2.  รองคณบดี  :  ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการบริหารงานภายในคณะ
         3.  เลขานุการคณะ  :  ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการเป็นเลขานุการคณะ

(รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม)

16.45 – 18.00 น. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังที่กลุ่มเลือกว่าเป็น best practice ของแต่ละห้อง  (กลุ่มละ 1 เรื่อง  ประมาณกลุ่มละ 10 นาที) 
18.00 – 18.15 น. ระดมสมองเพื่อจัดการกับ “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) เป็น “แก่นความรู้ (Core competence)”  โดยใช้ Card  Technique

วันศุกร์ที่  27  กรกฎาคม  2550
ห้องสัมมนา  1 

09.00 – 09.30 น. best practice ของแต่ละห้องนำเสนอรวมกันที่ห้องใหญ่เพื่อหา best of the best  (3 กลุ่มที่เป็นตัวแทนจากแต่ละห้องในวันแรก   กลุ่มละประมาณ  10 นาที) 
09.30 – 10.30 น. นำเสนอ “แก่นความรู้ (Core competence)” ที่ได้จากการระดมสมองจากวันแรก
 1.ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการบริหารงานภายในคณะ  :  คณบดี  2.ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการบริหารงานภายในคณะ  :  รองคณบดี  
3.ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจในการเป็นเลขานุการคณะ
(ด้านละประมาณ 10 นาที  ทดเวลากลุ่มละ 5 นาที) 
10.30 – 11.00 น.  สรุปรวบยอดความรู้พื้นฐาน  ความสำคัญ  และ key word ของการจัดการความรู้ในการเป็น CKO : Chief Knowledge Officer, KF : Knowledge Facilitator
โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
(รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม)
11.00 – 11.05 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาเขียน AAR (After Action Review)
11.00 – 12.00 น. รวมกลุ่ม AAR/ ปิดการเสวนา
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30 น. ซักถาม /  ปิดการประชุม

หมายเหตุ :

1.  กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

2.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านควรหาโอกาสศึกษาความรู้เรื่อง KM ด้วยตนเองก่อนการเข้าร่วมสัมมนา       
      - KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ  : 51. พลังลึกลับ
      -  วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ  :  15. เล่นไม่ยากถ้าเริ่มจากความสำเร็จ
      -  KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 119. บุญของผู้ให้
      -  การเล่าเรื่อง (Storytelling)
      -  ภาพรวม Workshop

3.  รายชื่อวิทยากร
     วิทยากรกระบวนการ     : ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร, รศ.เทียมจันทร์  พานิชย์ผลินไชย , อ.สมลักษณ์  วงศ์สมาโนดน์,
     วิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม      :  รศ.มาลินี  ธนารุณ,  ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร,  คุณอนุวัทย์  เรืองจันทร์
      วิทยากรประจำกลุ่ม      : 18 ท่าน  กำลังอยู่ระหว่างติดต่อประสานงานจากฟาน้อยจากหน่วยงานต่างๆ   รวมทั้งทีมนิสิตที่จะเข้ามาช่วยในงานอีกจำนวนหนึ่งค่ะ

หมายเลขบันทึก: 106704เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • นับเป็นงาน "ช้าง" ของมหาวิทยาลัย อีกงานนึงในปีนี้ นะคะน้องตูน
  • หัวข้อ และกระบวนการ น่าสนใจมากๆๆค่ะ คงได้รับประสบการณ์ และประโยชน์ จากโครงการนี้ มากทีเดียว
  • เป็นกำลังใจให้ STAFF ทุกฝ่ายนะคะ

อ่านบันทึกการเตรียมงานแล้วประทับใจจริงๆ ครับ
เป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกท่านนะครับ
ขอให้งานประสบความสำเร็จครับ

  • ขอบคุณพี่แหม่ม  น้องปืน  P และอาจารย์มณฑล  P มากๆ เลยนะคะที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้กัน
  • สำหรับกำหนดการมีแก้ไขเล็กน้อยค่ะสามารถเข้าไปติดตามได้ที่นี่นะคะ  <Click>

อ่านบันทึกใหม่ยังไม่ได้อ่านบันทึกนี้ เห็นคนที่เข้าแล้ว งานซุปเปอร์ช้างนี่นางานเนี๊ย

งานใหญ่จริง ๆ เลยตอนแรกนึกว่าธรรมดา ๆ  (NUQA เล็ก ๆ ไม่  ใหญ่ ๆ  ทำ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท