ปัญหาการแต่งกายของนิสิตและแนวทางแก้ไข


ปัญหาการแต่งกายและแนวทางแก้ไข


            ปัญหาของนิสิตที่สำคัญในการแต่งกายคือความเชื่อ และ ความเหมาะสม กล่าวคือพวกที่แต่งกายไม่เรียบร้อย ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่มีความเชื่อ ความเชื่อที่ว่าเมื่อเราแต่งตัวให้ถูกกาลเทศะแล้วจะเป็นผลดีต่อตัวเรา และเช่นกันอีกส่วนหนึ่งปัญหาเกิดจากความเหมาะสม ความเหมาะสมในที่นี้หมายถึง ไม่รู้ว่าจะต้องแต่งกายอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพราะไม่รู้ว่าความเหมาะสมของการแต่งกายอยู่ตรงไหน
            ปัญหาแรกปัญหาเรื่องความเชื่อ ค่อนข้างจะเป็นปัญหาที่เป็นนามธรรมไปสักหน่อยแต่ความจริงแล้วมันคือเบื้องลึกของจิตใจ เมื่อเราได้คิดที่จะแก้ไขในจุดนี้ขอรู้เถอะว่าเราได้เดินทางมาถูกทาง และแก้ปัญหาได้ตรงจุดแล้ว  แนวทางการแก้ไขนั้น คือสร้างความเชื่อในหมู่นิสิตว่า การแต่งกายที่ดีเป็นผลดีต่อตัวเค้า การสร้างความเชื่อนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล การรณรงค์ การชมเชยเมื่อเขาแต่งตัวเรียบร้อย ปัญหานี้แม้ว่าจะยากแต่หากทุกคนร่วมมือกัน พูดกันทุกวัน รณรงค์กันทุกวัน ก็เชื่อว่าจะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
            ปัญหาที่สอง ปัญหาเรื่องความเหมาะสม ความเหมาะสมที่ว่าเกิดจากความรู้ที่เราจะต้องปลูกฝังให้รู้สึกว่า การแต่งกายแบบนี้ การแต่งกายที่ดีนี่ต่างหากเป็นการแต่งกายที่ถูกต้อง       บรรทัดฐานของการแต่งกายก็เป็นความสัมพันธ์เช่นเดียวกันที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ว่ามันคือส่วนหนึ่งของความเหมาะสม เพราะว่ามันยากที่จะพูดว่าใครแต่งการเหมาะสมแต่งการไม่เหมาะสม บรรทัดฐานที่ว่านี้แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่เราควรจะกำหนดลงไปให้มีการรับได้ของสังคมที่เราอยู่อย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  แนวทางการแก้ไขปัญหานี้ ไม่ใช่แค่รุ่นพี่ออกมาโวยวาย บังคับน้อง สร้างบรรทัดฐานโดยการออกกฎ ซึ่งเปล่าเลยมันไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่รุ่นพี่ หรือสังคมควรจะออกมาแสดงพลังและทุกๆคนจะต้องสอน และ สร้าง บรรทัดฐานนั้นแก่กันและกัน ด้วยการแต่งกายอย่างเหมาะสม เพราะว่าแม้เราจะทำการประชาสัมพันธ์สักเท่าไรเกี่ยวกับการแต่งกายที่ถูกต้อง แต่หากรุ่นพี่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง รุ่นน้องก็คงจะสับสนในบรรทัดฐานนั้นเหมือนกันว่า จริงๆแล้วเส้นแบ่งมันอยู่ตรงไหน และยุติธรรมหรือเปล่าที่รุ่นน้องกลับถูกสอนให้แต่งกายเรียบร้อย แต่รุ่นพี่กลับแต่งกายไม่เรียบร้อย เปรียบได้กับ คนออกกฎหมายทำผิดกฎหมายเสียเอง แล้ว คนอยู่ใต้กฎหมายที่ไหนจะเชื่อในกฎหมาย
            เพียงเราสร้างความเชื่อ และ ให้นิสิตรู้ถึงความเหมาะสมว่าแท้จริงแล้วเส้นแบ่งการแต่งกายที่ดีกับแต่งการที่ไม่ดีอยู่ตรงไหน ด้วยวิธีแนวทางการแก้ปัญหาที่ลงลึกถึงรากแท้ของปัญหา การใช้ความจริง การใช้ความถูกต้อง และ บรรทัดฐานแห่งสิ่งที่เรียกว่าดีมาเป็นตัวกำหนด สุดท้าย สังคมมหาวิทยาลัยจะมีแต่นิสิตที่รู้บทบาทของตนเองว่าควรจะทำอะไรและไม่เฉพาะเรื่องการแต่งกายแต่เพียงอย่างเดียว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10634เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2005 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
    ขอแสดงความชื่นชมครับที่เสนอประเด็นนี้ขึ้นมา ขอให้มีการพูดคุยกันในกลุ่มนิสิตและอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และทำให้ดูเป็นตัวอย่างสัก 1-2 คณะในเรื่องการแต่งกาย หากทำได้สักร้อยละ 80 ของนิสิต ทางมหาวิทยาลัยควรมอบรางวัลให้เป็นคณะตัวอย่างเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท