จรรยา แผนสมบูรณ์
Dr. จรรยา แผนสมบูรณ์ จรรยา แผนสมบูรณ์

ผู้นำ


ภาวะผู้นำ

ผู้นำ            Fiedler (1967:8)   หมายถึงบุคคลที่ริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือการกระทำ ของกลุ่มอย่างได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดทั้งเป็นผู้ริเริ่มและช่วยให้สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน            Halpin (1966) หมายถึงผู้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน5อย่าง คือ              1.คือบุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาท หรือมีอิทธิพลต่อคนในหน่วยงานมากกว่าผู้อื่น             2.คือบุคคลที่มีบทบาทเหนือกว่าบุคคลอื่น ๆ             3.คือบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการทำงาน ในหน่วยงานให้ดำเนินไปสู่จุดหมายที่วางไว้            4.คือบุคคลที่ไดรับการยอมรับจากบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำ            5.คือผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำในหน่วยงานหรือตำแหน่งหัวหน้า            Daft (1988)  ผู้นำคือผู้ที่สามารถในการจูงใจตนอื่น ๆ ให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ             Callahan,Fleenor and Knudson (1968)  ผู้นำคือบุคคลใดบุคคลหนึ่งหลาย ๆคนที่มีอำนาจ  อิทธิพล หรือความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิบัติตามความคิดเห็นของเขาได้ ทั้งๆที่เขาไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตำแหน่งใด ๆทั้งสิ้น

 ภาวะผู้นำ      

       ประชุม  รอดประเสริฐ 2526 ภาวะผู้นำคือ กระบวนการในการชักนำบุคคลทั้งหลายในองค์การหรือหน่วยงานให้มีความตั้งใจทำงานให้ประสบผลสำเร็จ  โดยอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา             Callahan,Fleenor and Knudson (1968)  ภาวะผู้นำมีความหมายดังนี้             1.คือ กระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันที่กระตุ้นและจูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม            2. คือกระบวนการที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องก่อให้สัมฤทธิ์ตามเป้าหมายมากกว่าปฏิบัติตามนโยบาย            Tannenbaum  et al (1979)  ภาวะผู้นำคือ การใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการติดต่อซึ่งกันและกัน ในอันที่จะให้ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ผู้นำทางการศึกษา      

      ผู้นำทางการศึกษาจะต้องแสดงพฤติกรรมผู้นำในการจูงใจบุคลากรในหน่วยงานให้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนตัวของผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้             1.ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีทางการศึกษา            2.ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารการศึกษา            3.ความรู้เกี่ยวกับสังคมวิทยา             4.ความรู้เกี่ยวกับการวิจัย            (เจริญผล  สุวรรณโชติ,2519)            Jacobson (1973)  ผู้บริหารการศึกษาควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1.      เป็นผู้ที่สามารถจัดองค์การเป็นผู้บริหารที่มีทักษะ2.      บริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ3.      เป็นผู้นิเทศหรือประสานงานการเรียนการสอน4.      มีความเฉลียวฉลาดและมีไหวพริบในการบริหาร5.      สามารถตัดสินใจได้อย่างฉับพลันและถูกต้องรู้จักมอบอำนาจและความรับผิดชอบแก่ผู้ที่เหมาะสม            

หมายเลขบันทึก: 106339เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล ดิฉันนำข้อมูลดังกล่าวไปทำรายงานส่งอาจารย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท