การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ตอนที่ 1 ค้นหาข้อสงสัย


ของยาก ๆ แต่ทำอย่างไรให้ง่าย ๆ ดูต่อเนื่องสักที
     ช่วงนี้ดิฉันกำลังทำเรื่อง  การพัฒนาเจ้าหน้าที่โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)  โดยหน่วยงานแรกที่ดิฉันไปร่วมปฏิบัติก็คือ 
       หน่วยงานแรก คือ  สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน  กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและอำเภอ ประมาณ 30 คน  ปี 2548 ถึง ปัจจุบัน
       หน่วยงานที่สอง คือ  สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและอำเภอ ประมาณ  20 คน
       หน่วยงานที่สาม คือ  สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและอำเภอ ประมาณ 3 คน
     ดังนั้น  การทำงานวิธีการดังกล่าวมีจึงเกิดขึ้น กับ 3 หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ ประมาณ  53 คน เกษตรกรไม่ต่ำกว่า  10 กลุ่มอาชีพ  และเริ่มมีการโยงใยระหว่างกันเป็นเครือข่ายทั้งในระดับเจ้าหน้าที่และกลุ่มเกษตรกร
     ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า  ดิฉันเริ่มมีคำถามเกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ไปร่วมปฏิบัติงาน ในช่วงระยะ 2-3 ปี ก่อนนี้ว่า
       "งานส่งเสริมการเกษตร...ทำไป ๆ มีแต่สูญหายไปตามกาลเวลา"
       "งานส่งเสริมการเกษตร...ทำไป ๆ มีผลงานที่เกิดขึ้นจำนวนมากมายมหาศาล...แล้วสิ่งเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหนหมด?"
       "งานส่งเสริมการเกษตร...จริง ๆ แล้ว... เป็นงานที่เนื้อหอม...ใคร ๆ ก็รุมล้อมเกษตรกรที่ได้ผล"
       "แต่...ทำไมถึง...ช่างยากต่อการนำเสนอให้คนอื่นเห็น หรือเข้าใจได้"
       " ฉะนั้น เราควรจะทำอย่างไร? ถึงจะให้เราและชาวบ้านอยู่คู่กันได้"
     ฉะนั้น  สิ่งที่เกิดขึ้น จึงได้ไปลองศึกษาเรียนรู้ค้นหาแนวทางเพื่อ "รักษาของดี ๆ ที่มีอยู่ในหน่วยงานให้คงไว้ได้"  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ กับผลงานที่เขามี คือ
       1.  กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้น เช่น  กลุ่มเกษตรกร  กลุ่มอาชีพต่าง ๆ  และกลุ่มอื่น ๆ
       2.  เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในการส่งเสริมอาชีพ  เช่น  เรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว  เรื่องการแก้ปัญหาส้มร่วง  เรื่องการแปรรูป และเรื่องอื่น ๆ
       3.  เนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร  เช่น  วิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยใช้โรงเรียนเกษตรกร  การจัดทำแผนชุมชนโดยใช้ PAP เป็นเครื่องมือ  เครื่องมือที่เจ้าหน้าที่นำไปใช้ในการชวนชาวบ้านคุยเกี่ยวกับอาชีพของเขาเอง  เครื่องมือที่เจ้าหน้าที่นำไปใช้รวบรวบ /ประมวล/วิเคราะห์/สรุปผลการชวนชาวบ้าน และแนวทางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวบ้านที่ได้ผล 

     ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ องค์ความรู้ในเนื้องานส่งเสริมการเกษตร ที่เกิดขึ้นมาจากฝือมือของเจ้าหน้าที่ หรือ "นักส่งเสริมการเกษตร"
     แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  การบริหารจัดการ  กำลังคน  ทรัพยากร  การสนับสนุน  องค์ความรู้  ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา  และองค์ความรู้ที่เปลี่ยนไป  ดังนั้น เราจึงควรจะทำอย่างไรดี?
     "ศูนย์การเรียนรู้"  จึงได้ทดลองนำเข้ามาใช้เพื่อรวบรวมและสร้างการเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรตามความต้องการ คือ  เจ้าหน้าที่จะมีวิธีการทำอย่างไรก็ได้ให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ตามสิ่งที่เขาต้องการให้ได้?  ตัวอย่างเช่น จัดการเรียนการสอนโดยการ "ถาม - ตอบ  หรือ การยกตัวอย่างที่สำเร็จมาเล่าให้ฟัง  หรือการอภิปรายร่วมกัน  หรือการศึกษาดูงาน  หรือการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือการทดลองทำ  หรือการสาธิต  เป็นต้น"
     ในขณะที่กำลังดำเนินการสิ่งนี้ได้ประมาณปีครึ่ง  ก็ได้มี "PAR หรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม" เข้ามาในวงการทำงานส่งเสริมการเกษตร  ฉะนั้น การศึกษาเรียนรู้ PAR จึงเริ่มเกิดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาะราช  หลังจากนั้น ปีที่ 2 PAR จึงได้ถูกนำเข้ามาทดลองใช้กับงานที่ทำ โดยนำไปประสม กับ งานศูนย์การเรียนรู้  แล้วในปีเดียวกันก็ได้มี "KM หรือ การจัดการความรู้" เข้ามาสู่องค์กร ดิฉันจึงได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าวร่วมกับทีมงาน 
     หลังจากนั้น ดิฉันจึงได้ลองนำ "ศูนย์การเรียนรู้ มาประสมกับ PAR และประสมกับ KM" (ศูนย์การเรียนรู้ + PAR + KM) การประสมดังกล่าวเป็นผลมาจากหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ดิฉันร่วมปฏิบัติและเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยี ต่างต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานเหล่านั้นด้วย
     คำตอบที่เกิดขึ้น คือ 
       1.  ศูนย์การเรียนรู้ จะไม่สมบูรณ์ได้ถ้าเจ้าหน้าที่หรือทีมปฏิบัติงานไม่เข้าใจ PAR และ KM
       2.  ศูนย์การเรียนรู้  จะค้นพบแค่ "แนวทางและวิธีการสร้างและการจัดทำให้เกิดขึ้นได้เท่านั้น" ถ้าเจ้าหน้าที่หรือทีมปฏิบัติงานไม่เข้าใจ PAR และ KM
       3.  ศูนย์การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรมและสามารถจับต้องได้ ถ้าเจ้าหน้าที่เข้าใจ PAR และ KM
     ฉะนั้น "วิจัยชุมชน" จึงเป็นองค์ความรู้ที่สามารถทำให้เนื้องานส่งเสริมการเกษตร "ไม่ตาย"  และ  "การจัดการความรู้" เป็นตัวสนุบสนุนและนำทางให้องค์ความรู้ในเนื้องานส่งเสริมการเกษตรทั้งของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรเผยแพร่สู่บุคคลอื่นได้เป็นรูปธรรม เพราะมีทั้งเป้าหมาย  การเติมความรู้ที่ขาดหายให้  และมีการจัดเก็บให้ใช้
ได้ตลอดเวลา 
     ดังนั้น ข้อสงสัยของดิฉันก็คือ  แล้วจะนำทั้ง 3 ตัวละคร มาประกอบกันได้อย่างไรละ? ที่เป็นเนื้อผสมที่ลงตัวได้.
    

คำสำคัญ (Tags): #par
หมายเลขบันทึก: 106281เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สวัสดีครับอ.ศิริวรรณครับ ผมมาแวะเยี่ยมครับ ขอชื่นชมว่าเยี่ยมจริงฯฯ ที่แบ่งปันครับ

ออกจะช้า ที่เพิ่งได้เข้ามาอ่าน แต่เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

ศูนย์การเรียนรู้ จะไม่สมบูรณ์ได้ถ้าเจ้าหน้าที่หรือทีมปฏิบัติงานไม่เข้าใจ PAR และ KM

เห็นด้วยค่ะ แต่สงสัยอยู่คือ จะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ KM , PAR ถ้า CKO บางคนยังพูดว่าเราไม่ต้องพูดเรื่อง KM กันหรอก เพราะมันอยู่ในการปฏิบัติ จนท.ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าวันนี้แสดงบทอะไร และต้องทำอะไรในบทบาทนั้น ถ้า CKO ไม่ให้สำคัญในการพัฒนาบุคลากร เพียงแต่จะให้บุคลากรทำตาม และคิดเอาเองว่า อืม มันจะซึมซับเข้าไปในตัวเขา

แต่มองดูแล้วเหมือนพื้นฐานไม่แน่น หรือเป็นการเรียนลัดเกินไป

ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น

ผู้ศึกษา นายรักษพล ชิตูมปูน

ปีการศึกษา 2550

กลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น มีวิธีดำเนินงานคือใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และนำเทคนิค AIC ซึ่งเป็นเทคนิคในการระดมความคิด การวางแผน และทำงานร่วมกันของนักเรียนมาเป็นกรอบในการดำเนินงานวิจัย โดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การค้นหาปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ตลอดจนการประเมินผล

วิธีการประเมินผล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีความรู้มาร่วมกันประเมิน ประกอบด้วย 3 ฝ่ายคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในการจัดสวนถาด 2) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวนถาด 3) นักเรียนร่วมกันประเมินผลงานการเขียนแบบแปลนของตนเองและผู้เรียนกลุ่มอื่น ผลการศึกษาพบว่าสามารถพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้ทุกกลุ่ม

ติดต่อคุณรักษพล ซิตูมปูน

056-761699

ชื่อเรื่อง            การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น

ผู้ศึกษา             นายรักษพล       ชิตูมปูน

ปีการศึกษา       2550

กลุ่มสาระ         การงานอาชีพและเทคโนโลยี

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น  มีวิธีดำเนินงานคือใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  และนำเทคนิค AIC ซึ่งเป็นเทคนิคในการระดมความคิด  การวางแผน และทำงานร่วมกันของนักเรียนมาเป็นกรอบในการดำเนินงานวิจัย  โดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การค้นหาปัญหา  การหาสาเหตุของปัญหา  วิธีการแก้ปัญหา  ตลอดจนการประเมินผล

วิธีการประเมินผล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีความรู้มาร่วมกันประเมิน ประกอบด้วย 3 ฝ่ายคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในการจัดสวนถาด  2) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวนถาด  3) นักเรียนร่วมกันประเมินผลงานการเขียนแบบแปลนของตนเองและผู้เรียนกลุ่มอื่น  ผลการศึกษาพบว่าสามารถพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้ทุกกลุ่ม

 

 ติดต่อคุณรักษพล  ซิตูมปูน

056-761699

คุณค่ะ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ และงานวิจันชุมชนแตกต่างหรือไม่

อยากศึกษา

อัจฉรา แสงสิริโรจน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท