การใช้ประโยชน์จากระบบรายงาน 0110 รง.5


หน่วยที่ต้องทำรายงานรู้ว่าจะเอาไปใช้อะไร และตัวเองก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วย ระบบรายงานก็จะมีคุณภาพโดยอัตโนมัติ ที่สำคัญเขาสามารถดูแลจัดการตัวเองได้ดีขึ้น และจะส่งผลต่อคุณภาพของระบบการรายงานอื่น ๆ ด้วย

     การใช้ประโยชน์จากระบบรายงาน 0110 รง.5 ซึ่งในปี 2548 เราได้ร่วมกันดำเนินการและสรุปผลออกมาได้ดีและน่าพอใจในระดับหนึ่งตามที่ได้บันทึกไว้ที่ วิจัยประเมินผลโครงการพัฒนานักวิเคราะห์ฯ กล่าวโดยสรุปคือ เมื่อ หน่วยที่ต้องทำรายงานรู้ว่าจะเอาไปใช้อะไร และตัวเองก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วย ระบบรายงานก็จะมีคุณภาพโดยอัตโนมัติ ที่สำคัญเขาสามารถดูแลจัดการตัวเองได้ดีขึ้น และจะส่งผลต่อคุณภาพของระบบการรายงานอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเริ่มเห็นมากขึ้นมีการโพสท์ข้อความใน web board ถามหาประโยชน์จากรายงานอื่น ๆ ในระบบที่ต้องทำและจัดส่งกันทุกเดือน

     ในปี 2549 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง จึงเห็นชอบให้กลุ่มงานประกันสุขภาพ โดยผมและพี่อวยพร ดำเกลี้ยง เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ เพื่อขยายผลต่อ เรียกว่ารุกต่อ ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ดังนี้

          1. เพื่อเพิ่มศักยภาพของเครือข่ายหน่วยบริการในเรื่องการเฝ้าระวังและประเมินตนเอง

          2. เพื่อขยายผลการพัฒนาทีมนักวิเคราะห์ฯ ไปสู่ระดับหน่วยบริการสาธารณสุข

          3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน ของเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP)

     สำหรับความเชื่อมโยงกับแผนงานกระทรวงสาธารณสุขในปี 2549 คือ ด้านผลผลิต สป.ที่ 1 ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งเน้นกิจกรรมหลัก คือ ส่งเสริมให้ประชาชนที่ขึ้นทะเบียนในระบบ 30 บาท ของ สป.และการได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์

     รายละเอียดมี 3 กิจกรรม คือ
          1. พัฒนาผู้บริหารเครือข่าย และทีมนักวิเคราะห์ฯ ระดับจังหวัด 10 เครือข่าย ฯ และ 1 ทีมฯ จำนวน 25 คน ทั้งจังหวัด ทั้งนี้มีตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิต คือ ผู้บริหารเครือข่าย และทีมนักวิเคราะห์ฯ ระดับจังหวัดได้รับการพัฒนาฯ 1 ครั้ง ดำเนินการในเดือน มกราคม 2549 วงเงิน 30,000 บาท
 
           2. พัฒนาทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (ฟื้นฟู) โดยเครือข่ายดำเนินการในพื้นที่เอง ทีมฯ ระดับจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงให้ 10 เครือข่าย ฯ 10 ทีมฯ จำนวน 62 คน ทั้งจังหวัด ทั้งนี้มีตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิต คือ ทีมนักวิเคราะห์ฯระดับเครือข่ายฯ ได้รับการฟื้นฟูทั้ง 10 เครือข่าย 1 ครั้ง ดำเนินการในเดือน มกราคม 2549 วงเงิน 70,000 บาท
 
          3. ประกวดผลการดำเนินงานเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์บริการฯ ดีเด่น 10 เครือข่าย ฯ ทั้งจังหวัด ทั้งนี้มีตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิต คือ มีเครือข่ายฯ ดีเด่นด้านการเฝ้าระวังฯ ระดับ 1-3 จำนวน 3 แห่ง ดำเนินการในเดือน สิงหาคม 2549 วงเงิน 40,000 บาท

     สำหรับแผนการดำเนินงานของทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ ซึ่งจังหวัดได้แต่งตั้งเป็นคณะทำงานไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ได้ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมไปบ้างในบางส่วนแล้ว จะวิเคราะห์สถานการณ์ของตนเองในแต่ละเดือน แต่ละงวด 3 เดือน และ 6 เดือน โดยส่งสำเนาให้ทีมจังหวัดทราบ เมื่อถึง 9 เดือน ก็จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอของแต่ละเครือข่ายที่ สสจ.พัทลุง 1 ครั้ง อันนี้ยังเหมือนเดิมเมื่อปีที่แล้ว

หมายเลขบันทึก: 10581เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2005 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท