เล่าตำนาน ย่านสุพรรณให้ท่านอ่านกันเพลินๆ


ช้างสองเชือกเป็นพี่น้องกัน จึงเรียกคลองนั้นว่า “ คลองสองพี่น้อง"

 

 

ตำนานสองพี่น้อง

 

           

          ชื่อมีคนน้อย  อร่อยปลาหมำ  เลิศล้ำพระสงฆ์  หลวงพ่อโหน่งพระเครื่อง  รุ่งเรืองนาไร่  พระใหญ่โลกรู้  เสภาชั้นครู  อู่น้ำอู่ปลา  ราชินีนักร้อง  สองพี่น้องบ้านเรา" 

 

            นี่คือคำขวัญของอำเภอสองพี่น้อง อำเภอใต้สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอำเภอที่มักถูกนำไปทายปัญหากันว่า   อำเภออะไรเอ่ยมีคนน้อยที่สุด อำเภอนี้มีของดีมากมายพิจารณาได้จากคำขวัญ  คงต้องเก็บไว้คุยกันวันหน้า วันนี้จะขอพูดถึงเรื่องเล่า กันต่อไป แต่จะขอเล่าเรื่องตำนานสองพี่น้อง นี่แหละครับท่าน

 

            ตำนานสองพี่น้องเล่ากันมาหลายตำนาน จะขอนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาว่า น่าจะเชื่อตำนานไหน

             ตำนานแรก เล่าว่ามีชายสองคนพี่น้อง เป็นลูกกำพร้า พ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเยาว์ ทั้งสองคนมีความมานะบากบั่นสร้างตนจนมีฐานะร่ำรวย ทั้งสองสัญญากันว่าจะแต่งงานพร้อมกัน แล้วได้ส่งแม่สื่อออกไปสืบหาคู่ครองให้ ไปพบสาวสองพี่น้องเช่นกัน อยู่บ้านท่าตลาด ( ในเขตอำเภอบางปลาม้า ) ชายสองพี่น้องพอใจ ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ตกลงจะแต่งงานกัน เมื่อถึงวันแต่งงานฝ่ายชายก็เชิญแขกลงเรือสำเภา พร้อมเครื่องขันหมาก และมโหรี เรือสำเภาแล่นฝ่าคลื่นออกไป มโหรีก็บรรเลงไป ในเรือมีการเลี้ยงอาหาร เหล้ายา กันจนผู้คนเมามาย เสียงสีซอดังไปทั่วคุ้งน้ำ บ้านที่เรือสำเภาผ่านตรงนั้นจึงได้ชื่อต่อมาว่า บางซอ   มโหรีสีซอกันอย่างสนุกสนานยิ่งนัก หมู่บ้านนั้นจึงได้ชื่อว่า สีสนุก ยิ่งนานเข้าคนบนเรือยิ่งเมามาย วุ่นวาย วิ่งกันขวักไขว่ ห้ามไม่ฟัง ขณะนั้นท้องฟ้าก็มืดครึ้ม เกิดพายุฝนกระหน่ำ จนเรือสำเภาล่มทลายลง ผู้คนต่างจมน้ำบ้างก็ถูกจระเข้กัดตาย  บริเวณที่เรือสำเภาล่มเรียกกันว่า บ้านสำเภาทลาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเพื่อความเป็นมงคล และสอดคล้องกับใบสำเภาที่มีสีทองเป็น สำเภาทอง บางคนเล่าเสริมมาว่า เสากระโดงเรือมาเดาะก่อนที่บ้าน ไผ่เดาะ และศพคนตายมากมายลอยไปส่งกลิ่นเหม็นเหมือนปลาร้า หมู่บ้านนั้นจึงเรียกกันว่าบางปลาร้า ส่วนร่างของชายสองพี่น้องถูกจระเข้คาบว่ายทวนขึ้นมา ทางบ้านท่าตลาด เจ้าสาวสองพี่น้องเห็นจึงวิ่งตามไปบนฝั่งจนหมดแรง จระเข้คาบชายทั้งสองสุดสายตาไป บริเวณนั้นจึงเรียกว่า วัดสุด นางทั้งสอง อ่อนใจอ่อนกายทรุดลง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า โคกนางอ่อน นางต่างเดินกันต่อไปด้วยความซึมเซา บริเวณนั้นก็ได้ชื่ออีกว่า โพนางเซา ในที่สุดนางทั้งสองก็ได้พบซากศพ ชายทั้งสองตรงบริเวณที่เรียกกันว่า วัดศพ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น วัดประสบสุข   ส่วนเจ้าสาวพี่น้องจึงกลับบ้านมาด้วยความโศกเศร้าเพราะต้องกลายเป็นม่ายขันหมาก บ้านท่าตลาดที่นางทั้งสองอยู่อาศัย จึงได้ชื่อว่า บางแม่หม้าย สืบมา 

            เป็นอย่างไรบ้างครับตำนานแรกของสองพี่น้อง เกี่ยวพันกับตำนานอีกหลายหมู่บ้าน จนเข้าเขตบางปลาม้า ทีเดียว เป็นอันว่าบ้านของชายสองพี่น้อง เป็นที่มาของชื่ออำเภอสองพี่น้อง นั่นเอง

 

            ตำนานที่สอง เล่าว่าในป่าแห่งหนึ่งต้นป่าคงอยู่แถวๆอู่ทอง มีช้างโขลงหนึ่งหากินอยู่ จ่าโขลงมีสองเชือกเป็นพี่น้องกัน ต่อมาแหล่งน้ำที่เคยใช้ดื่มกินอยู่ประจำคงจะเกิดแห้ง ช้างทั้งสองจึงต้องนำโขลงของมันเดินทางลัดเลาะลงมาหาน้ำกินถึงลำน้ำใหญ่ คงจะเป็นแม่น้ำท่าจีน เส้นทางที่ช้างทั้งสองนำโขลงช้างเดินไปมาอยู่ประจำ ได้ถูกน้ำกัดเซาะจนกลายสภาพมาเป็นคลอง มีลักษณะคดเคี้ยวมาก ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนเรียกว่า คลองสองพี่น้อง   ตามช้างพี่น้องสองเชือกดังกล่าว หมู่บ้านนั้นจึง ชื่อ สองพี่น้อง ไปด้วย

 

          บางคนก็เล่าว่า เพราะมีช้างสองเชือก ลงมาเล่นน้ำในลำคลองนั้นเสมอ และเข้าใจว่าช้างสองเชือกเป็นพี่น้องกัน จึงเรียกคลองนั้นว่า คลองสองพี่น้อง"

            ตำนานที่สาม เล่าว่าพี่น้องสองคนสร้างวัดแข่งกันอยู่คนละฝั่งคลอง วัดหนึ่งคือวัดท่าจัด ที่ตำบลบางพลับ อีกวัดคือวัดโคกเหล็ก ( ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) คลองนั้นจึงเรียกว่า คลองสองพี่น้อง"

            น่าสนใจทุกตำนานทีเดียวนะครับ นี่แหละครับภูมิปัญญาชาวสุพรรณของเรา                                                            

.พิสูจน์   ใจเที่ยงกุล

 

คำสำคัญ (Tags): #ตำนาน
หมายเลขบันทึก: 104732เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
P
P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

ดิฉันมีพี่เขยเป็นชาวสุพรรณ และตัวเองไปสุพรรณบ่อยค่ะ ไปตรวจสอบวัตถุดิบเข้าร.ง.ที่นั่น สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่เจริญ น่าอยู่ ชาวนาทำนา2-3หนต่อปี มีรายได้ดีค่ะ ถนนหนทางกว้างขวางสวยสะอาด อาหารปลาก็อร่อยค่ะ

คุณปู่คุณย่าของลูกเป็นชาวกาญจนบุรีค่ะ

ตามที่ได้เคยเขียนบันทึกเรื่องการออม  มาแล้ว ก้ตั้งใจสอนหลานให้มีนิสัยการออมแต่เด็กๆเช่นกัน ตอนนี้ก็เริ่มแล้วค่ะตั้งแตหลานเกิด คุณย่าประเดิมให้ก่อนค่ะ

และให้มีความซื่อสัตย์ด้วย เตรียมพร้อมเป็นพลเมืองดีของสังคมค่ะ

สวัสดีอีกทีค่ะ

เกือบทุกตำบลมักจะมีตำนานนะคะ

และมีอีกเรื่องด้วยหรือคะ เล่าซีคะ จะได้เป็นความรู้ค่ะ

  • ขอบคุณคุณศศินันด์(เขียนตามภาษาอังกฤษ)มากครับ ผมไม่ได้ขอบคุณหลายวัน
  • เพราะสายโทรศัพท์ที่บ้านมีปัญหา
  • ตกลงครับผมจะนำตำนานย่านสุพรรณมาเล่าต่อไป
  • คอยติดตามนะครับ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ

สวัสดีค่ะพี่ชาย...พิสูจน์

อำเภอนี้...มีคนอยู่น้อยมากนะคะ

อิอิ..ล้อเล่นค่ะ

  • ขอบคุณครับครูอ้อย ที่จริงยังมีเรื่องเด็ดๆเกี่ยวกับตำนานนี้อีก แต่ไม่กล้าเล่าครับ

เป็นประวัติ ที่น่าศึกษามากค่ะ น้อยคนนักที่จะรู้ ที่รู้ๆเล่ากันในหมู่เพื่อนมักไม่ถูกต้องทำไห้เดาทางออกว่าเขาเล่ามาจากความคิดเห็นส่วนตัวมากกว่าแล้วตอนนี้

วัดโคกเหล็ก หายไปไหนค่ะน่าจะบูรณะขึ้นไว้ใหม่น่ะ เพราะเชื่อ ตำนานช้างสองพี่น้องมากกว่าค่ะ เล่าเรื่องเมือง เก่าๆ เยอะๆซิค่ะ จะติดตามต่อไปค่ะ  

สวัสดีคะอาจารย์

ขอบคุณ

ที่ให้ข้อมูลนะคะ

ขอบคุณ คุณสมใจ ผมก็อ่านหนังสือบ้าง ฟังผู้ใหญ่เล่าให้ฟังบ้างแล้วนำมาเรียบเรียงครับ

ขอบคุณ พรสุดา ยินดีมากครับที่เรื่องที่เล่าเป็นประโยชน์ในการศึกษาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท