ทุนเดิมแห่ง KM ณ.กำแพงเพชร (ตอนที่2)


ทีมงานเราเริ่มคิดนอกกรอบว่าองค์กรต้องมีระบบการทำงานขององค์กรเราเอง

          ผมจะขอเล่าต่อจากตอนที่ 1 น่ะครับว่า  เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว  ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจริง อันกระจ่างว่า “การเรียนรู้คือหัวใจของความสำเร็จ”  ถ้าหากจะพูดให้ชัดๆ ก็คือการเรียนรู้อาจจะเป็นหัวใจของความอยู่รอดขององค์กรอีกด้วย  องค์กรเราเริ่มตระหนักแล้วว่า  ต้องพึ่งพาอาศัยความรู้ในการทำงาน และสามารถใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม จึงจะก่อให้เกิดผลงาน เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ แก่หน่วยงานและสังคม       

          ทีมงานเราเริ่มคิดนอกกรอบว่าองค์กรต้องมีระบบการทำงานขององค์กรเราที่ทุกๆคน มีส่วนร่วมในการสร้างมาด้วยกัน การสร้างระบบการทำงานขององค์กร  เราได้ใช้เวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร และเก็บข้อมูลจากการลงไป ACTION ในระดับพื้นที่ ชุมชน มาวิเคราะห์ร่วมกัน แล้วสรุปบทเรียน  มีอยู่ 7 องค์ประกอบ คือ 

          (1) แนวทางพัฒนาการเกษตรประจำตำบล    เริ่มต้นจากกการจัดเวทีชุมชน โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ร่วมกับอปท. ผู้แทนกลุ่มอาชีพต่างๆ ผู้แทนองค์การภาครัฐและเอกชน  ให้มีการร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่และชุมชน ประกอบด้วยข้อมูลด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อหาแนวทางพัฒนาด้านการผลิตและการตลาด กลุ่มอาชีพทางการเกษตรและวิธีปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร 

          (2) กลุ่มอาชีพเป้าหมายในการผลิต ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวทางพัฒนาการเกษตรประจำตำบล มีกลุ่มอาชีพที่มีอยู่เดิม หรือกลุ่มอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อรองรับการสนับสนุนจากภาครัฐ  เอกชน และแนวทางการพึ่งตนเอง  โดยมีคณะกรรมการศูนย์บริการฯ และอาสาสมัครเกษตรเป็นผู้ประสานงานในระดับชุมชน

          (3) แผนพัฒนากลุ่มอาชีพ  กลุ่มอาชีพจะต้องมีการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์จากแนวทางพัฒนาการเกษตรประจำตำบล ประกอบด้วย ทำกิจกรรมอะไร ทำไมถึงทำ ทำที่ไหน ใครทำ ห้วงเวลาที่ทำ ทำอย่างไร ได้แก่แผนลงทุน แผนถ่ายทอดเทคโนโลยี และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยแผนต่างๆ จะต้องมีประโยชน์ต่อชุมชน

          (4) สนับสนุนแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพเองจะต้องมองศักยภาพของตนเองว่า จะมีแผนพึ่งพาตนเอง และพึ่งภายนอกซึ่งรวมไปถึงการขอรับการสนับสนุนจาก อปท. และองค์กรภาครัฐ

          (5) แผนปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  จะต้องมีความสอดคล้องกับแผนของศูนย์บริการฯ แผนพัฒนากลุ่มอาชีพ

          (6) สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและแผนของศูนย์บริการฯ  ปกติจะได้การสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และ อปท.

          (7) การติดตามประเมินผล โดยยึดหลักการประเมินผลตนเองแบบมีส่วนร่วมทุกระดับทั้งจังหวัด อำเภอ ตำบล กลุ่มอาชีพทางการเกษตร        

          จากที่ปฏิบัติงานตามระบบ 7 องค์ประกอบมาหลายปี  ส่งผลให้บุคลากรทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล เกิดการพัฒนาฐานคิดเชิงระบบมากขึ้น  และสามารถปฏิบัติงานในระดับองค์กรได้ พร้อมได้ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ จนกลายเป็นองค์ความรู้เชิงทฤษฎีไปแล้วครับ ณ วันนี้เราสามารถพูดได้เลยว่า “องค์กรเราก้าวเข้าสู่ LO แล้ว  มิฉะนั้นจะเอาอะไรไปตอบคำถามใน  PMQA กันล่ะครับ”

 (โปรดติดตามอ่านต่อตอนที่ 3)

หมายเลขบันทึก: 104517เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • วันนี้ ผมก็เข้ารับฟัง PMQA ที่ จังหวัดมาเหมือนกันครับ
  • เป็นจังหวัดใหม่ ก็คงตอบคำถามไม่ยาก แต่ ทำน่าจะยากครับ

สวัสดีครับ หนุ่มร้อยเกาะ ขอขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาแวะเยี่ยมครับ ก็ต้องเรียนรู้ไปพัฒนาไปพร้อมฯกันนะครับ

แนวทางนี้สอดคล้องที่ ก.พ.ร. ให้มีตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะทราบว่ากรมฯ เร่งรัดให้มีแผนปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล

เรียนอ.ธุวนนัท์ครับ  ดีใจอย่างสุดฯฯฯฯฯครับที่ได้มาแวะเยี่ยวครับ ต้องขอบคุณมากที่นำสิ่งที่ดีฯฯมาแบ่งปันครับ   มาแวะเยี่ยมผมบ่อยฯฯนะครับ ได้คุยกับอาจารย์ แล้ว     ทำให้ผมมีกำลังใจที่เขียนบล็อกต่อไปเรื่อยฯฯฯครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท