สอนให้ได้ดี


พูดในเรื่อง ที่ให้คนฟังเข้าใจ ไม่ควรพูดให้ตัวเองเข้าใจ

ได้มาอบรม ที่กรุงเทพ 5 วัน วันนี้วันที่ 2ของการอบรม ได้รับฟังการบรรยาย จากอาจารย์ รศ. ยืน ภู่วรวรรณ
ซึ่งได้รับความรู้ และเทคนิค กับแนวคิดที่ทันสมัยมาก
ในหัวข้อ


  • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
  • การบริหารจัดการระบบความรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ

อาจารย์ยืน พูดได้เข้าใจง่ายมาก ใช้ภาษาไทยได้มากที่สุด อาจารย์จะไม่จำเป็นใช้ภาษาอังกฤษเลย เล่าเรื่องเกี่ยวกับเรามากที่สุด ใกล้ตัวมาก ไม่ได้เล่าแบบว่า
เป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้เรื่องคนเดียว พูดไทยคำอังกฤษคำ
ทำให้ได้แนวการสอนจากท่านได้เยอะ และเข้าใจแล้วว่า มีคนชอบอ่านผลงานเขียนของอาจารย์ยืนมาก
.
สิ่งที่ได้ ถ้าจะสอนให้ได้ดี
พูดในเรื่อง ที่ให้คนฟังเข้าใจ ไม่ควรพูดให้ตัวเองเข้าใจ

หมายเลขบันทึก: 100870เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สิ่งที่ได้ ถ้าจะสอนให้ได้ดี
พูดในเรื่อง ที่ให้คนฟังเข้าใจ ไม่ควรพูดให้ตัวเองเข้าใจ

สวัสดีครับคุณตาหยู

  • เห็นด้วยครับผม พูดในเรื่องที่ทำให้คนฟังเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อให้คนอื่นมึน
  • ที่ผมเคยใช้ คือ ให้จำลองว่าตัวเองเป็นคนธรรมดาไปนั่งฟังอยู่เหมือนคนอื่นในขณะที่เรากำลังพูดครับ
  • สมองใช้งานหนักหน่อยนะครับ แต่จำลองไว้เพื่อเช็คตัวเราในสิ่งที่พูดออกไป ทบทวนทันทีเพื่อเช็คว่าที่พูดออกไปนั่นแจ้งไหม หากไม่แจ้งก็ให้ทวนในสิ่งที่ง่ายขึ้น โดยการถามย้อนกลับมาที่ตัวเอง
  • ฝึกบ่อยๆ น่าจะสนุกครับ อีกอย่างการเป็นกันเองกับผู้ฟังแบบเพื่อนสอนเพื่อน  เพื่อนในความหมายของการเรียนรู้ ร่วมเรียนรู้ด้วยกันนะครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

คุณเม้ง

P
วันนั้นที่ฟัง เพลินมาก ไม่ได้จดอะไรเลย แต่จำได้เลย

เป็นแบบอย่างในการสอนผมเลย ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

พูดในเรื่อง ที่ให้คนฟังเข้าใจ ไม่ควรพูดให้ตัวเองเข้าใจ

ชอบจังเลยค่ะ..สั้นๆแต่ได้ใจความ ...อธิบายอะไรได้มากมายเลย  ปัญหาจากการสื่อสารทุกวันนี้คือมักจะพูดให้ตัวเองเข้าใจ  โดยคิด ( เอาเอง ) ว่าคนอื่นต้องเข้าใจเหมือนเรานี่แหละค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

เวลาที่ชอบหลายๆบันทึก  แล้วต้องตัดสินใจเข้าไปสื่อสารเพียงบางบันทึกนั้น   รู้สึกว่าอยากมีมือสักสิบมือ  จะได้พิมพ์ทันใจอะค่ะ

ดิฉันเป็นพวกสื่อสารจนสุดความ  ถ้ารู้สึกว่าพูดไม่หมด  ไม่ครบ  จะรู้สึกว่านอนไม่หลับ  (ทั้งที่หลับไปแล้ว)    เลยต้องเขียนยาวๆๆๆๆทุกที    แต่บางทีมีใจความสำคัญนิดเดียว   แต่แบบว่าเขาคงชินกันแล้ว     อิอิ 

ชอบจังที่คุณตาหยูสรุปให้อย่างนี้ 

พูดในเรื่อง ที่ให้คนฟังเข้าใจ ไม่ควรพูดให้ตัวเองเข้าใจ

ของดิฉัน  สามารถพูดในเรื่องที่ตนเองฟังเข้าใจ ให้คนอื่นฟังไม่ใคร่รู้เรื่องได้  เป็นความสามารถพิเศษที่ไม่น่าปรารถนา  กลุ้มเหมือนกันอะค่ะ

เคยฟังท่านผู้รู้ที่พูดแบบที่ทำให้เราเข้าใจได้โดยไม่ต้องจด  โอ....รู้สึกทึ่งมาจนทุกวันนี้ 

ท่านพูดให้ "เข้า"  ไปใน "ใจ" เราได้  โดยที่เราแทบไม่ต้องจดจริงๆ  คือเนื้อหามันกลืนเข้าไปในการรับรู้ของเรา  จนไม่ต้องอาศัยเครื่องกำกับ  เพื่อป้องกันการรับรู้สูญหายไปไหนอีก  แปลกจริงๆ  ท่านทำได้อย่างไรก็ไม่ทราบ....

อยากทำแบบนั้นได้บ้างจังค่ะ   : )

ตอนเรียนอ่านหนังสือของอาจารย์หลายเล่มครับ เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์...

เรื่องของการบรรยายให้คนอื่นเข้าใจเป็นศิลปะอย่างหนึ่งครับ...

ขอบคุณครับ...

คุณเบิร์ด

P
ต้องขอโทษที่มาตอบช้า

บ่อยครั้งที่คนเราชอบพูดให้ตัวเองเข้าใจ แต่คนอื่นยังไม่เข้าใจ

และบ่อยครั้ง ที่ตัวเองพูดแล้วยังไม่เข้าใจในตัวเองเลย แล้วใครจะมาเข้าใจ อิอิ

ท่านอาจารย์ สุขุมาล
P

การพูดในคนอื่นเข้าใจ ก็ใช้หลักจิตวิทยาประกอบด้วยก็ดีนะครับ

ผมเองก็ต้องใช้หลักจิตวิทยาเหมือนกัน

เพราะคนที่เราจะสื่อสารด้วย ต่างวัยต่างที่ต่างกรรม

การสื่อสารก็ต่างกัน

....

ขอบคุณที่แวะเวียนมาทักทายครับ

จริงด้วยครับ คุณดิเรก

P
การพูดก็เป็นศิลปะแบบหนึ่ง

เสพศิลป์ด้วย หู ให้หัวจินตนาการตาม แล้วแปรอารมณ์เป็นความรู้

คำคม จริงๆ... ชอบมากครับ คำนี้

ขอบคุณ คุณrmutl_cm_art7yod2  ที่แวะมาติชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท