รายงานการประชุม roadmap ครั้งที่ 1:ปัจจัยวิกฤต / ปัญหา / อุปสรรค ในระดับฐานราก


มีปัญหา/อุปสรรคในภาพรวมซึ่งเป็นฐานรากของปัจจัยวิกฤตทุกมิติ โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ปัจจัยวิกฤตเชิงสถาบัน และปัจจัยวิกฤตเชิงวัฒนธรรม
(รายงานตอนที่ 5) 

            การระดมความคิดต่อปัญหา/อุปสรรคของปัจจัยวิกฤตแต่ละกลุ่มปัจจัย พบว่านอกจากจะมีปัญหา/อุปสรรคในรายละเอียดของแต่ละปัจจัยวิกฤตแล้ว ยังมีปัญหา/อุปสรรคในภาพรวมซึ่งเป็นฐานรากของปัจจัยวิกฤตทุกมิติ โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ปัจจัยวิกฤตเชิงสถาบัน และปัจจัยวิกฤตเชิงวัฒนธรรม

  

1)       ปัจจัยวิกฤตเชิงสถาบัน

  

ปัจจัยวิกฤตเชิงสถาบัน ให้ความสำคัญกับภาครัฐและองค์กรบริหารเป็นสำคัญ โดยครอบคลุมนโยบาย กลไกการประเมินวัด และการบริหารจัดการ ได้แก่

 

ก.       ไม่มีเจ้าภาพในการดูแลขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ขาดการประสานจัดการ ขาดกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ

 

ข.       โครงสร้างยังไม่สอดคล้องกับการเป็นสังคมเศรษฐกิจพอเพียง

 

ค.       หน่วยงานของรัฐไม่ได้ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินงาน  เช่น วิธีการทำงานไม่ได้เปลี่ยนจริง แค่เอา เศรษฐกิจพอเพียงมาใส่เป็นชื่อ หรือ การทำงานขับเคลื่อนขององค์กรภาครัฐเน้นเป้าหมายเชิงปริมาณ

 

ง.        การดำเนินการของภาครัฐด้านเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบันมีความซ้ำซ้อน รวมทั้งภาครัฐขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหา มีหน่วยงานที่จัดทำงบประมาณเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อได้งบประมาณมาก็ไม่ได้นำไปใช้ตามแผนงานเศรษฐกิจพอเพียง

 จ.       การใช้นโยบายไม่ต่อเนื่อง ขึ้นกับการเมือง เช่น เปลี่ยนรัฐบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารภาครัฐแต่ละระดับ ก็เปลี่ยนนโยบายใหม่ งานวิจัยเดิมที่ทำมาก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

 

 2)       ปัจจัยวิกฤตเชิงวัฒนธรรม

 

ปัจจัยวิกฤตเชิงวัฒนธรรมครอบคลุมวิธีคิด ค่านิยม การประพฤติปฏิบัติ ของปัจเจกชนและสังคม ได้แก่

 

ก.       การเสื่อมถอยของความดี ความงาม คุณค่าในวัฒนธรรม

 

ข.       สังคมไทยยังคงเป็นสังคมอบายมุข และขาดสัมมาชีพ ไม่ว่าจะด้วยไม่มีงานทำหรือทำงานอย่างมิจฉาชีพ มองแต่ผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง

 

ค.       วิกฤตด้านความคิดและค่านิยม ความรู้ในระบบการศึกษาและของข้าราชการเป็นพิษ และใช้ไม่ได้จริงกับชุมชน คนหลงอยู่ในทุนนิยม บริโภคนิยม

 

ง.        คนไทยยังไม่มีจิตสาธารณะ เห็นผลประโยชน์เฉพาะตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม ทำให้ปัญหาการคอร์รัปชั่นไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

จ.       ขาดจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง

 

ฉ.       ขาดสำนึกในการเรียนรู้/ใฝ่รู้, ไม่มุ่งมั่นและอดทนในการเรียนรู้

 

ช.       ประชาชนยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและยังเชื่อในการมุ่งสร้างรายได้เป็นหลัก

 

ซ.       ไทยถูกขับเคลื่อนด้วยกลไกของรัฐ แทนที่จะเป็นภาคประชาชนที่ควรจะต้องมีความรับผิดชอบ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

 

ฌ.      ภัยคุกคามจากทุนนิยมและโลกาภิวัตน์

 

ญ.     การครอบงำโดยสื่อ ทั้งสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ นิตยสาร

 
หมายเลขบันทึก: 100861เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์ ปัทวมาวดี ที่เคารพ

รายงานความเคลื่อนไหวนี้ เอาไปอ้างอิงทางวิชาการได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท