เป็นหัวข้อใหญ่ที่ 2 ที่ได้เรียนรู้ จาก ศจ. จอห์น เฟรเซอร์ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ที่ศูนย์ของมหาวิทยาลัยนิว อิงแลนด์ ในเมืองแทมเวอร์ธ เป็นการทบทวนทักษะการสอนที่สอดคล้องกับการทำงานในชนบทในกลุ่มเล็ก และทบทวนประสบการณ์จากการสาธิตให้ฝึกการสังเกตและการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีโครงสร้างที่ได้เรียนมาเมื่อ 21 พฤศจิกายน
ประเด็นสำคัญของผู้เรียน จะต้องรู้ว่าทำไมต้องเรียนรู้ทักษะ การพิจารณาในเรื่องข้อบ่งชี้ ข้อห้ามและภาวะแทรกซ้อนของการทำหัตถการต่างๆ
ประเด็นสำคัญของผู้สอน จะต้องพิจารณาในเรื่องความรู้และประสบการณ์ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ ความปลอดภัย การให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินผล(Assessment & Evaluation)
เทคนิคการสอนทำหัตถการ ( Task skills ) แบบ 4 Stage Dialogueเป็นเทคนิคการสอนผู้เรียนให้ทำหัตการ โดยการทำ 4 ขั้นตอน คือ
- ผู้สอนทำให้ดูตามปกติเหมือนตอนทำจริง
- ผู้สอนทำซ้ำให้ดูช้าๆพร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนวิธีทำไปด้วย
- ผู้สอนทำให้ดูตามที่ผู้เรียนบอกขั้นตอนวิธีทำ
- ผู้เรียนแสดงวิธีทำให้ดูพร้อมทั้งบอกขั้นตอนการทำด้วย หลังจากนั้นให้มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบStructured feedback โดยใช้กฎของเพนเดิลตั้น
มีคำถามที่สำคัญคือถ้าผู้เรียนสามารถทำหัตถการได้อย่างสมบูรณ์ เขาจะมีความสามารถที่จะทำได้ในงานจริงใช่ไหม ทำไม เราจะประเมินความสามารถอย่างไร
Assessment of Competenceในการประเมินความสามารถของผู้เรียน พิจารณาจาก
- Task Skills สามารถแสดงให้เห็นเป็นรายบุคคลได้
- Task Management Skills สามารถบริหารจัดการจำนวนหัตถการที่แตกต่างกันในแต่ละงานได้
- Contingency management Skills สามารถบริหารจัดการตามสถานการณ์ในการตอบสนองสภาวะที่ไม่เป็นปกติได้
- Job/role environment skills สามารถจัดการกับความรับผิดชอบและความคาดหวังของสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้
ในการประเมินความสามารถนั้น ทำได้หลายวิธี เช่น
- Cases
- Role Plays
- Standardised Patient
- Simulation
- Scenario
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Dr. Phichet Banyati ใน PracticalKM
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก