เครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง


กระบวนการเรียนรู้ เครือข่ายองค์กรชุมชน

       รูปแบบกระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของเครือข่ายองค์กรชุมชน พบว่า  กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม เป็นการเรียนรู้โดยการอาศัยการสั่งสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากอดีตมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นการผสมผสานกับการได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานที่ต่อเนื่องจากหน่วยงานต่างๆเป็นตัวที่คอยช่วยในการผลักดันกิจกรรมของกลุ่มให้มีความต่อเนื่องและเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสามารถสร้างองค์ความรู้ให้กับกลุ่มได้เป็นอย่างดี  ในส่วนของรูปแบบการจัดการความรู้ของเครือข่ายองค์กรชุมชนยกระดับองค์ความรู้ตามประเด็น หรือความต้องการของเครือข่ายองค์กรชุมชน  ซื่งทีมงานวิจัยได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบตามแผนงานที่วางไว้  พบว่า  มีการจัดการความรู้ที่สอดคล่องกับบริบทของกลุ่มองค์กรชุมชน  ดังนี้

            1.  การสร้างองค์ความรู้   กลุ่มสามารถมีการสร้างองค์ความรู้ของกลุ่มจากองค์ความรู้

เดิมและองค์ความรู้ที่ต้องการพัฒนา จนกลายเป็นการเกิดองค์ความรู้ใหม่โดยการนำความรู้เดิมมา

ประยุกต์เข้ากับการที่กลุ่มได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นความรู้ที่กลุ่มสามารถนำมาใช้

ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  การผลิตขนมจีนทอดกรอบ การหมักแป้ง การทำน้ำผลไม้สูตรเข้มข้น การทอผ้าสไบลายใหม่ๆ การสร้างฐานการผลิตที่มั่นคงของกลุ่ม เป็นต้น ล้วนแต่เป็นกระบวนการที่กลุ่มได้นำความรู้ที่มีอยู่นำมาสร้างผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับอย่างดี

            2.  การจำแนกองค์ความรู้  เมื่อกลุ่มได้มีการสร้างองค์ความรู้จากองค์ความรู้เดิมและองค์ความรู้ที่ต้องการพัฒนา และเกิดเป็นความใหม่แล้วนั้น กลุ่มก็มีการนำความรู้นำมาจำแนกความรู้โดยการสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่และมีการจำแนกออกเป็นองค์ความรู้ที่สามารถสร้างเป็นฐานการผลิตของกลุ่มชนิดใหม่ขึ้นมาและมีการนำความรู้ที่ได้นั้นนำมาประกอบในกิจกรรมการผลิตของกลุ่มเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม  การจัดเก็บความรู้  คือ  การจัดการความรู้ของกลุ่มโดยทั้ง 3 กลุ่มองค์กรได้มีการจัดเก็บความรู้ของกลุ่มโดยการเก็บความรู้จากการสั่งสมเป็นประสบการณ์อยู่ในตัวของสมาชิกเองและมีการจดบันทึกความรู้ที่เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับอย่างต่อเนื่องแต่ยังขาดการรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนในทุกกระบวนการ แต่ที่เด่นชัดที่สุดในเรื่องการจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรทั้ง 3 กลุ่มที่เหมือนกัน คือ มีการนำความความรู้ที่กลุ่มมีนำมาถ่ายทอดให้กับชุมชนและนักเรียนโดยวิธีการนำความรู้ของกลุ่มที่มีจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ในการถ่ายทอดขยายผลให้กับผู้ที่สนใจโดยเฉพาะนักเรียนภายในชุมชนเป็นหลักแต่ก็ยังไม่ครอบคลุมในทุกกิจกรรมการผลิตของกลุ่ม แต่ก็จัดว่าเป็นการดำเนินงานที่มีการเก็บความรู้ที่มีไว้ได้อย่างชัดเจนที่สุดของกลุ่ม เช่น หลักสูตรท้องถิ่นการทำขนมจีน  หลักสูตรท้องถิ่นการผลิตชาเขียวใบหม่อน การผลิตน้ำผลไม้  หลักสูตรท้องถิ่นการทอผ้าฝ้าย  เป็นต้น

            3.  การจัดเก็บความรู้ กลุ่มได้มีการถอดองค์ความรู้ออกมาเป็นเอกสาร รายงานผลการดำเนินงานโครงการในทุกกลุ่มองค์กรชุมชนเป้าหมาย  ส่วนโครงงานและหลักสูตรท้องถิ่น ได้ดำเนินการในกลุ่มสหกรณ์การเกษตรประชาคมน้ำเกลี้ยงเวียงชัย โดยนิสิตระดับปริญญาโท  คือ  นายจักรพรรดิ  อาจศิริ  โดยทดลองใช้กับ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนบ้านดอนแดงน้ำเกลี้ยง  และโครงงาน  โดยนางดารา  นาเมืองรักษ์  ใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมชั้นปีที่  3  โรงเรียนนาข่าวิทยาคม  และกลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพร  โดยนายสราวุฒิ  จันทรสมบัติ ที่ได้มีการนำหลักสูตรขนมจีนเข้าเป็นวิชาการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเหล่า และหนองข่า  ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่และนิสิตปริญญาโท  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ส่วนการจัดเก็บความรู้ด้วยฐานข้อมูลโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์และการจัดทำอินเตอร์เน็ต เว็บไซค์ยังไม่มี

                        4. การนำความรู้ไปใช้  กลุ่มได้มีรูปแบบการนำความรู้ไปใช้โดยการผ่านกระบวนการผลิตของกลุ่มเป็นส่วนใหญ่และสำคัญที่สุด คือ กลุ่มสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดขยายผลให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนใกล้เคียงสามารถนำความรู้ที่ได้จากลุ่มไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนของตนเองได้จริง เช่น การถ่ายทอดขยายผลการผลิตขนมจีนของกลุ่มแปรูปขนมจีนให้กับสมาชิกกลุ่มชุมชนบ้านน้ำเกลี้ยงเวียงชัย ปัจจุบันชุมชนน้ำเกลี้ยงเวียงชัยได้นำความรู้ที่ได้นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง คือ ได้มีการสร้างโรงงานผลิตขนมจีนขึ้นมาในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกด้วย  และการฝึกอบรมถ่ายทอดขยายผลการทอผ้าสไบของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองชุมชนวังจานให้กับชุมชนใกล้เคียงได้รับความรู้ นั้นปัจจุบันสมาชิกที่เข้าร่วมในการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดีและยังเป็นฐานการผลิตที่มีคุณภาพของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองชุมชนวังจานได้เป็นอย่างดี

                            5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  กลุ่มมีการนำความรู้ที่กลุ่มมีอยู่นำไปถ่ายทอดให้กับ

ชุมชนและผู้ที่สนใจทั่วไปนำไปใช้ประโยชน์ได้ เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ภายในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นสมาชิกภายในชุมชน ภายนอกชุมชน ผู้สนใจทั่วไปและหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจากการที่ชุมชนมีกลุ่มองค์กรที่มีความเข้มแข็งภายในชุมชน  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มองค์กรชุมชนอื่น ๆ มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องมีการแลกเปลี่ยนความรู้เดิมและความรู้ใหม่ส่งผลให้กลุ่มรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวทางวิสาหกิจชุมชนได้

                            6.  การประเมินผลและการปรับปรุง  การที่กลุ่มองค์กรชุมชนได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องนั้นส่งผลให้เกิดการยอมรับจากชุมชนอย่างกว้างขวางจากการดำเนินงานของชุมชนที่มีประสิทธิภาพเกิดเป็นองค์กรที่เข้มแข็งในชุมชนเกิดการประสานงานความร่วมมือกันจากภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนมีการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมทั้งนักวิชาการ  นักพัฒนา  ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน  หน่วยงานองค์กรต่างๆ การทำงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้ต่อไปจากการที่เกิดความร่วมมือจากภาคีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการนำตัวชี้วัดกลุ่มองค์กรชุมชน และตัวชี้วัดชุมชนเป็นสุขมาใช้ประกอบในการประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานให้ต่อเนื่องเกิดความยั่งยืนด้วย

หมายเลขบันทึก: 10050เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจะทำความเข้าใจให้ชัด    คือการจัดการความรู้ภายนอก    ชุมชนมีวิธีดูดซับ (capture) ค. จากภายนอกอย่างไร    แล้วมีวิธีเอาไปทดลองใช้และปรับเปลี่ยนไปเป็น ค. ของตนเองอย่างไร

วิจารณ์ พานิช

เรียน ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ที่เคารพยิ่ง

ผมต้องขอขอบพระคุณในข้อเสนอแนะข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้ลงไปเรียนรู้กับชุมชน

ใน เรื่อง พัฒนาและวิจัยสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข ซึ่งจะพยายามใช้ KM เป็นเป้าหมายในการพัฒนาแต่ละครั้ง ซึ่งจะเกิดความรู้ที่อยู่ในตัวคน และความรู้ใหม่มี่ได้รับ นำไปตัดสินใจแก้ไขปัญหา เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้นั้นให้ขยายวงมากขึ้น มีการสกัดขุมความรู้ท้งในตนบุคคล และกลุ่ม ซึ่งต้องวิจัยอย่างต่อเนื่อง 3 ปี ในพื้นที่ ตำบลหนองแวง ตำบลสิงห์โคก ตำบลเหล่าหลวง และตำบลน้ำอ้อม ซึ่งจะได้ดำเนินการมาประมาณ 4 เดือน รายละเอียดจะได้นำเรียนเสนอในขั้นต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท