เล่าให้ฟังอีกว่า “หลังกลับจากงาน KM Forum 2 แล้ว จะเริ่มนำมาใช้อย่างไร”


การขายแนวคิด เล่าประสบการณ์ของการจัดการความรู้ที่ได้รับจากงาน KM Forum 2 แก่ทีมงานสุขภาพ

     ตอนที่ 4 แล้วครับ ตกลงว่าผมกำลังทำ AAR หลังกลับมาจากงาน KM Forum 2 แน่เลย ก็ยังนึกเลยว่าดีนะกลับมาจากการร่วมประชุมเราควรจะได้ทำ AAR ในคราวต่อไปสัญญากับตัวเองว่าจะทำทุกกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ซึ่งเมื่อก่อนก็ได้ทำอยู่บ้างแต่เรียกว่าการถอดบทเรียน ตอนก่อน ๆ ติดตามอ่านได้ที่ เล่าให้ฟังว่าคาดหวังอะไรบ้างก่อนไปร่วมงาน และได้กลับมาเกินคาดจากงาน KM Forum 2  และตอน มีบ้างเหมือนกันที่ยังไม่ได้ตามที่คาดหวัง

     กลับมาถึงสิ่งแรกที่ได้ทำคือการขายแนวคิด เล่าประสบการณ์ของการจัดการความรู้ที่ได้รับจากงาน KM Forum 2 แก่ทีมงานสุขภาพเขตเมืองพัทลุง และทีม คปสอ.เขาชัยสน โดยที่ยังไม่ได้ทันวางแผนอะไรมากมาย เพราะผมรับนัดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว และก็ได้บันทึกไว้แล้วที่ ขายแนวคิดแก่ทีมสุขภาพชุมชนเขตเมือง และ"โอดี" ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ "ดูดี" จากนั้นก็ตั้งใจที่จะดำเนินการสานต่อจากที่มีตัวโครงการและงบประมาณอยู่บ้างอยู่แล้ว ดังนี้ครับ

          1. เล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ KM ให้หมอ (นพ.ยอร์น จิระนคร) ได้ทราบ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ซึ่งน่าจะเป็นบทบาทคุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer: CKO) และต่อไปท่านในฐานะนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ก็จะได้นำไปขายต่อให้ทีมผู้บริหารของ สสจ. (รวมตัวท่านเองด้วย) และผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ซึ่งน่าจะเรียกว่าผู้บริหารสูงสุด (CEO) ต่อไปในการให้การสนับสนุน และเชื่อมต่อจนเป็นไตรภาคีฯ

          2. สำเอกสาร และแนะนำแหล่งการศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มความเข้าใจในแนวคิดการใช้กระบวนการจัดการความรู้เข้ามาเป็นตัวช่วยหลักในภารกิจและหน้าที่ประจำ แก่ทีมงานฯ

          3. ระดมสมองร่วมกันของนักวิจัยหลักและนักวิจัยในพื้นที่ ซึ่งแท้ที่จริงคือผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว แต่กำลังทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย หรือ R2R เพื่อกำหนดว่า “เราทำ KM ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพชุมชนไปเพื่ออะไร” ทั้งนี้ให้น้ำหนักแก่นักวิจัยในพื้นที่ ในฐานะคุณกิจในการกำหนดเป้าหมายส่วนนี้ขึ้นให้มากที่สุด

          4. จัดเวทีเพื่อเชื่อมโยงคุณกิจ (นักปฏิบัติ/นักวิจัยในพื้นที่) กับคุณเอื้อ (นักวิจัยหลัก) เชื่อมโยงคุณกิจกับคุณกิจในแต่ละพื้นที่ให้เกิดการ ลปรร.กัน การนำ Best Practics มาขายให้กันและกันในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ส่วนรูปแบบจะใช้การนำเสนอแล้วให้ช่วยกันเลือกร่วมกันจากทีมงาน

          5. จัดเวทีเพื่อเชื่อมโยงให้คุณกิจในพื้นที่ได้พบปะกับคุณกิจต่างศาสตร์ที่มีแนวทางการดำเนินงานคล้าย ๆ กัน หรือแบบเดียวกัน ศาสตร์เดียวกัน นอกพื้นที่

          6. พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ หรือ Community of Practice: CoP ของนักพัฒนาสุขภาพชุมชน สร้างให้เกิดเป็นขุมความรู้ เน้นที่เป็นความรู้จากการปฏิบัติ ด้วยการจัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเก็บรวบรวมเป็นขุมความรู้ ตลอดจนการเชื่อมต่อกับการจัดการความรู้ภายนอก เพื่อให้คึกคัก และสร้างเป็นพลังความรู้ต่อไป โดยช่วงแรก ๆ จะใช้ Blog ก่อน และสร้างความคึกคักขึ้นใน Blog

     ในตอนต่อไปจะได้สรุปเป็นความเห็นผมเองว่า [ปีหน้า KM Forum 3 น่าจะออกมาในลักษณะใด] แต่อย่าลืมนะครับ 1 เสียงใน 1,000 คนที่ไปร่วมงาน ลองเขียนมาเล่ากันบ้างก็น่าจะดีนะครับ

หมายเลขบันทึก: 10049เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท