เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการอบรมทางไกล : e-Training


การวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และพัฒนาระบบ server เพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เป็นแนวทางที่หน่วยงานขนาดเล็ก สามารถทำได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

   หลังจากใช้ความพยายามอยู่ค่อนข้างนาน สำหรับความพยายามวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการอบรมทางไกลผ่านเครือข่าย Internet โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2549  จนมาถึงปัจจุบันนี้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้ทดลองดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยเปิดการอบรมหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทาง Internet เมื่อเดือน เมษายน 2550  เป็นการอบรมสำหรับบุคลากร กศน. ซึ่งในขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม ประมาณ 1,300 คน

  • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยตั้ง Server ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อต่อด้วย Lease line ความเร็ว 512 Kbps
  • ระบบ e-Training ใช้ Open Sourse ของ PostNUKE  ที่พัฒนาโดย NECTEC ชื่อ Learnsquare ซึ่งมีบบ LMS และ CMS ช่วยในการจัดการเนื้อหา และจัดการด้านการเรียนการสอน โดยใช้ โปรแกรม Apache เป็น Webserver และ MySQL เป็นฐานข้อมูล
  • รูปแบบการฝึกอบรม ดำเนินการเป็นรุ่นแรก ในลักษณะการทดลองใช้ระบบ และเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บุคลากร มีความคุ้นเคยกับการฝึกอบรมผ่านทาง Internet จึงบังคับว่า บุคลากร กศน. ทุกท่าน ต้องเข้ารับการฝึกอบรมผ่านทางเครือข่าย Internet
  • กระบวนการฝึกอบรม
    • ขึ้นทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม (สมัครสมาชิก) ผ่านทาง website e-Training ของ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทาง อินเตอร์เน็ต โดยเลือกว่า จะเข้ารับการอบรมในรุ่นใด ตามความเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งปัจจุบันเปิดการอบรมแล้ว จำนวน 35 รุ่น
    • เข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด ในรุ่นที่ตนเองสมัคร โดยเรียนจากเนื้อหาที่เป็นสื่อ Interactive Multimedia และทำกิจกรรมในแต่ละบทเรียน จนครบทุกบทเรียน
    • เมื่อเรียนจบแล้ว แจ้งมายังวิทยากรประจำวิชา เพื่อปฏิบัติกิจกรรมหลังเรียน โดยวิทยากรประจำวิชา จะตรวจสอบข้อมูลบันทึกการเข้าเรียนว่า ได้เข้าเรียนครบหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็จะแจ้งผ่านทาง e-mail; ว่า ยังเรียนไม่ครบ แต่ถ้าครบแล้ว ก็จะส่งสมุดกิจกรรมไปให้ปฏิบัติ
    • ทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ส่งกลับมายัง ศนอ. เพื่อขอประเมินจบหลักสูตร โดยต้องมีผู้บังคับบัญชา ลงนามรับรองการปฏิบัติกิจกรรม
    • ประเมินผล และตรวจสอบหลักฐานว่าครบตามเงื่อนไขการจบหลักสูตรหรือไม่ เมื่อครบแล้ว ก็เสนอผู้บริหารเพื่ออนุมัติการจบหลักสูตร และมอบวุฒิบัติ

   หลังจากที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว ปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการอบรมครบทุกระบวนการแล้ว จำนวน 1 ท่าน และเรียบจบแล้วอยู่ระหว่างการทำกิจกรรและรอการประเมินเพื่อจบหลักสูตร อีกประมาณ 200 ท่าน

ผู้ปฏิบัติงาน e-Training ของ ศนอ. มีใครบ้าง

     เพื่อแนะนำให้ท่านรู้จักผู้ปฏิบัติงาน ด้าน e-Training ของ ศนอ. มากขึ้น จึงขอแนะนำให้รู้จักกัน ดังนี้ครับ

นางอรัญญา บัวงาม

ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
ปฏิบัติงานในกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
รับผิดชอบโครงการ การอบรมทางไกลหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทางอินเตอร์เน็ต
    รับผิดชอบ บริหารโครงการ และทำหน้าที่นายทะเบียนผู้เข้าอบรมติดต่อประสานงานด้านเอกสาร และตรวจสอบประเมินผลเพื่อขออนุมัติการจบหลักสูตรสำหรับผู้เข้าศึกษาครบตามเงื่อนไข


 

นายศรีเชาวน์ วิหคโต

ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
ปฏิบัติงาน ในงานสารสนเทศและการสื่อสาร ศนอ.
รับผิดชอบดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และพัฒนาระบบ e-Training
    คอยตรวจสอบระบบ e-Training ให้สามารถใช้งานได้ ปรับระบบ โดยเขียนโปรแกรม เพิ่ม Option การทำงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับผู้เข้าอบรม ปรับหน้า website e-Training พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้เข้าอบรม กรณีลืม Usernane และ Password ที่สำคัญคือ คอยดูแลระบบ ไม่ให้ระบบล่ม

 

นางแสงจันทร์ เขจรศาสตร์

ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
ปฏิบัติงานในงานสารสนเทศและการสื่อสาร ศนอ.
รับผิดชอบ วิทยากรประจำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทางอินเตอร์เน็ต
     ภารกิจที่ปฏิบัติ คือ ตื่นแต่เช้า เปิด e-mail แล้วตอบคำถามต่างๆ ทาง e-Mail แต่ละวัน มีเกือบ 100 ฉบับ และยังต้องตอบ Private mail จากระบบ e-Training อีก ต่อจากนั้น ก็จะตรวจสอบการเข้าเรียนจากระบบบันทึกการเข้าเรียน สำหรับผู้ที่แจ้งขอจบเข้ามาว่า เข้าเรียนจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบว่า ผู้แจ้งเข้ามาเข้าเรียนครบ ก็จะส่งหลักฐานบันทึกการเข้าเรียน ส่งต่อให้ อาจารย์อรัญญา พร้อมทั้งส่งสมุดกิจกรรมให้ผู้เข้าอบรม และนอกจากนั้น เมื่อมีผู้สมัครเข้ามาใหม่ ก็ต้องเปิดให้มีการฝึกอบรม โดยกำหนดตารางการอบรมในรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อให้ผู้สมัครเข้ามาใหม่ ได้ลงทะเบียนเรียน
     เวลาทั้งวัน จึงอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งทำหน้าที่เป็นวิทยากรประจำวิชา และโครงการอื่นๆ อีกมากมาย



หมายเลขบันทึก: 100412เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แก้ปัญหาระบบ e-Training

   หลังจากที่เมื่อวานพยายามแก้ปัญหาเรื่องผู้เรียนไม่สามารถเข้าเรียนได้ เนื้องจากที่การลบ ฐานข้อมูลโดยไม่ทราบวาเหตุ และใช้เวลาแก้ไข แต่ก็ไม่สำเร็จ
   การแก้ไขที่ทำในวันนี้ จึงดำเนินการดังนี้

  1. สร้างเนื้อหาบทเรียนขึ้นมาใหม่ จากเนื้อหาที่ได้ Backup เอาไว้ (ยังโชคดีที่ได้ Backup เอาไว้ในเครื่อง NoteBook ที่เตรียมไปออกรายการสายใย กศน. ทาง e-TV และยังไม่ได้ลบออก ไม่เช่นนั้นก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร)
  2. ประกาศหน้า website ให้ผู้เข้ารับการอบรม มาลงทะเบียนเรียนใหม่ โดเริมเปิดตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย. เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ยังเรียนไม่จบมาลงทะเบียนใหม่ ส่วนผู้ที่จบแล้ว ก็แจ้งผลการจบมาได้เลย
  3. สร้างบทเรียนเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 1 บท สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนโดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียน
  4. แจ้งเรื่องราว ข่าว ต่างๆ ผ่านทางหน้า Homepage
  5. แจ้งข่าว ทาง Webboared ให้ผู้เข้าอบรม สามารถแจ้งจบหลักสูตรผ่านมาทาง Webboard ได้

ปรึกษากับคณะทำงานถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไข ได้ข้อสรุปดังนี้

  • ปัญหาการตรวจสอบบันทึกการเข้าเรียน เพราะผู้เข้าอบรมไม่สามารถตรวจสอบได้ ครูผู้สอนเท่านั้นที่ตรวจสอบได้ จึงทำให้ ครูต้องมีหน้าที่คอยรับ Mail ที่แจ้งการจบเข้ามา แล้วตรวจสอบ ว่าเขาจบจริงไหม ถ้าไม่จบก็ตอบกลับไปว่า ยังไม่ได้ศึกษาบทใด ทำให้เสียเวลา จึงควรแก้โปรแกรม ให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบการเข้าเรียนของตยเองว่าครบแล้วหรือยัง
       มีประเด็นน่าคิดดังนี้ 
       ประการแรก ถ้าผู้เรียนไม่ทราบแม้กระทั่งว่า ตนเองเรียนบทใดบ้างแล้ว ก็แสดงว่า ผู้นั้นไม่ได้เรียนจริง แต่เพียงคลิกผ่านเท่านั้น แต่ถ้าเรียนจริงอย่างสนใจ จะต้องมีการจดบ้าง ทำกิจกรรมต่างๆ บ้าง เป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่รู้ว่า ตยเองเรียนบทใดไปบ้าง
        ประการที่ 2 ถ้าให้ผู้เข้าอบรมสามารถตรวจสอบบันทึกเวลาการเข้าเรียนเอง ครูผู้สอบก็จะไม่ได้เอาใจใส่เรื่องนี้ ไม่รู้ว่า ผู้เข้าอบรมคนใด ศึกษาเรื่องใดไปแล้วบ้าง การจะให้ทำกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละบทเรียน ก็จะทำไม่ได้ หรือการคอยติดตามผลผู้เรียน ก็จะละเลยไป  ทำให้กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนห่างเหินกันมากไป
        จึงมีประเด็นน่าคิดว่า ควรทำอย่างไร
  • ปัญหาการต้องรอให้ถึงเวลาที่เปิดการอบรมในแต่ละรุ่นจึงจะได้เรียน แทนที่ลงทะเบียนแล้วจะได้เรียนทันที ซึ่งโปรแกรมได้กำหนดไว้อย่างนั้น ซึ่งขัดกับหลักธรรมชาติที่เมื่อสมัครปุ๊บ ก็อยากเรียนปั๊บ ควรแก้ไขหรือไม่ ซึ่งมองได้ 2 ด้าน คือ
       ด้านที่ 1 หลักการตอบสนองความต้องการ ก็ควรแก้โปรแกรมให้ผู้ลงทะเบียนสามารถเรียนได้ทันที
       ด้านที่ 2 โดยธรรมดาแล้ว การอบรมทั่งไป ก็ไม่ได้หมายความว่า สมัครแล้วได้เรียนทันที ก็มีการสมัครตามความต้องการว่าจะเรียนรุ่นไหมเหมือนกัน โดยเลือกตามความเหมาะสมของแต่ละคน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท