KM 6. ผู้ประสานงานคุณภาพโรงพยาบาลกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ศักยภาพ


ผู้คน..อันมีความสำคัญกว่ารูปแบบหรือเป้าหมายที่เรามุ่งหวังแคบๆ

         เรื่องเล่าเล็กๆ จากคนทำงานเล็กๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง กับอีกหนึ่งในวิธีการจัดการความรู้ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบจาก เวทีการประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือนแบบเดิมๆ  

          img228/23/kapook37248vz1.gif

         นานมาแล้ว  วาระการประชุมประจำเดือนจะมีรูปแบบตายตัวคือ มี ท่านผู้อำนวยการ รพ. มานั่งแจ้งข้อมูล ที่อยากจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบตามวาระ.. ตามด้วยหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานต่างๆ กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ จะมีก็จะไปอยู่ในกิจกรรมหรือวันอื่นๆ ซึ่งทำให้วันประชุมเจ้าหน้าที่ดูน่าเบื่อ คนไม่ค่อยสนใจฟัง ยิ่งปีไหนที่ ผอ.เป็นคนพูดและบริหารการประชุมไม่เก่ง  ยิ่งแล้วใหญ่..เสียดายสาระดีๆ ที่ต้องแจ้งให้ทราบ...              

           2 ปีก่อน ผอ.รพ.ยังอายุน้อย ชอบเล่นกีต้าร์ ร้องเพลง ฉันเลยเริ่มคิดใหม่ โดยปี   พ.ศ.2548-49 ปรับวาระการประชุมเป็นสถานีคุณภาพ มีทีมงานนำเสนอ โดย ผอ.เป็นประธานสถานีแจ้งสิ่งที่ได้รับจากจังหวัดและอำเภอให้ทราบ ทีมคุณภาพ  มีการถ่ายทำภาพ  หรือวีดีโอจากหน่วยงานต่างๆ นำเสนอผลงาน CQI หรือนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมมากขึ้น สนุกสนานมากขึ้น บางครั้งสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เราเข้าถึงยากด้วยการติดต่อให้มาเล่นมิวสิควีดีโอ โดยบางคนก็เป็นคนร้องเพลง บางคนก็มาเป็นพระเอก นางเอก หรือตัวละครในวีดีโอ แล้วนำมาฉายในวันประชุมหรือวันที่มีกิจกรรมการอบรม สำคัญๆ ซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้มีส่วนร่วมในงานกับเรามากขึ้น (เริ่มจากเพลง) สุดท้ายที่ปรับปรุง คือให้ทุกหน่วยงานหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือนโดย นำเสนอผลการพัฒนางานของตนเองเช่น CQI หรือนวัตกรรม ในแต่ละครั้ง  

โดยกระบวนการคือ

·       งานคุณภาพแจ้งวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงเพื่อการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันเนื่องจากทุกคนมีศักยภาพสูงอยู่แล้ว เราเชื่อมั่นในศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมของทุกท่าน

·       งานคุณภาพจัดตารางหรือโปรแกรมการนำเสนอสำหรับเจ้าภาพเพื่อการดำเนินรายการ ที่เป็นสาระ และแนวทางการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยกำหนดให้นำเสนอวิชาการหรือการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานเจ้าภาพร่วมด้วยทุกหน่วย โดยหัวข้อประกอบด้วย

            o     เรื่องแจ้งให้ทราบจากจังหวัด/อำเภอโดย ผอ.

            o     เรื่องติดตามต่อเนื่อง (ตามรอยยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ )และนำเสนอวิชาการ หรือ CQI ของหน่วยงานเจ้าภาพ สอดแทรกในยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากร

             o     มอบหมายให้ทีมที่มีบุคลากรระดับปฏิบัติการ ที่มีแววเป็นผู้ดำเนินรายการหรือการนำเสนอได้ดี เริ่มก่อนฝ่ายอื่นๆ สัก 2 ฝ่าย เพื่อเป็นแบบอย่างๆ และกลุ่มหลังต่อยอดความคิด รวมทั้งมีเวลาเตรียมตัวของผู้ที่ยังไม่เคยทำ

           ผลลัพธ์

           o     เจ้าหน้าที่มีสิ่งใหม่ๆ มานำเสนอการพัฒนางานจากปัญหาที่ต้องแก้ไขและให้เป็นไปตามการบริการที่มีคุณภาพ ทุกเดือน ที่ผ่านมาใน  4 เดือนคือ

              o     ภาพรวมทุกคนพึงพอใจ มีความสุข มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม มีการแสดงรูปแบบการประชุมที่แตกต่าง อาทิเช่น การนำมุขตลก มาสอดแทรกในการประชุม ,การเปิดตัวการประชุมที่น่าสนใจด้วย เพลง หรือประเด็นน่าสนใจอื่นๆ

              o     ผู้ที่ไม่เคยจับ Comp. เลยก็สามารถใช้เพื่อการนำเสนอผลงานๆได้

              o     บางครั้งเราต้องถึงกับ อึ้ง ..ไม่น่าเชื่อว่าเขาคนนั้น..จะทำได้..ขนาดนี้ สรุปง่ายๆก็คือ ผลดีเกินคาด ที่คิดไว้มากมาย...

พี่เลี้ยงทำอะไร

        ·       คอยสอบถามก่อนถึงคิวทำเพื่อป้องกันการลืม,และเป็นการกระตุ้น

           ·       การชื่นชมในที่ประชุมถึงการตื่นตัว หรือความกระตือรือล้นของเขาที่แตกต่างในการจัดทำตั้งแต่ครั้งแรกและทุกครั้งสร้างความสุข และพลังในการที่จะทำในกลุ่มถัดไป และทำให้กลุ่มหลังๆพัฒนามากขึ้น และมีความสนุกที่จะต้องทำ

        ·       คอยให้ข้อเสนอแนะถ้าเขาคิดไม่ออกว่าจะนำเสนออะไรดี (ส่วนใหญ่พวกเราจะติดแต่การทำ ...แต่บันทึก สรุป และนำเสนอไม่เป็น ..และไม่รู้ว่านั่น..คือการพัฒนาคุณภาพการบริการ)

         ฉันได้ข้อคิดเห็นสุดท้ายกับตัวเองว่า...เมื่อทะลายกำแพงแห่งรูปแบบของตนเอง พร้อมปลดปล่อยความรักและเมตตา  มอบศรัทธาแก่ ผู้คนอันมีความสำคัญกว่ารูปแบบหรือเป้าหมายที่เรามุ่งหวังแคบๆ ด้วยความไม่รู้ ซึ่งบางครั้งเป็นกำแพงขวางกั้นพลังศักยภาพของผู้คน เมื่อนั้น รอยยิ้มและความสุขจะบังเกิดและเป็นตัวเชื่อม..เรา..เข้าหากัน ..พลันเราจะพบกับเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าคือการมีความสุขกับขณะปัจจุบันการทำงาน 

 img292/3359/kapook34702st3.gif

หมายเลขบันทึก: 100253เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
P


P
สวัสดีครับ พชรวรัตถ์ (อ่านอย่างไรดีครับ)
ขอบคุณมากนะครับ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน จะเห็นว่า เจ้าของบันทึกหาย แต่มีแพนด้าที่น่ารักช่วยปั่นให้นะครับ ยุ่งๆ หน่อยครับ ช่วงนี้ ว่างๆ เชิญคุณมาช่วยปั่นบ้างนะครับ หากเจอข้อความดีๆ เกี่ยวกับแนวคิด หรือผลึกทางการศึกษา นะครับ ในส่วนใดก็ได้ครับ ทั้ง กาย ใจ และปัญญา ครับ
ขอบคุณมากนะครับ
P
sasinanda
สวัสดีค่ะ
อ่านแล้ว รู้สึกว่า การประชุมที่เปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง ก้ไม่น่าเบื่อนะคะ แต่บางที จะใช้เวลามากไปไหมคะ
 สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda คิดถึงนะคะ·       ใช้เวลาเพิ่มขึ้นในที่ประชุมเจ้าหน้าที่เดิมค่ะ แต่เมื่อเราไม่มีเวลาที่จะรวมทุกคนหรือมีเวทีสำหรับในภาพรวมสำหรับทุกคนในวันอื่น เราก็เลือกที่จะทำ เพราะ 1 วันที่รวมกันนั้น มีคุณค่าต่อการสร้างความสัมพันธภาพในภาพรวม ซึ่งในองค์กรใหญ่ๆ คงมองเห็นยาก แต่องค์กรเล็กๆ อย่างเรามองเห็นง่าย และต้องรักษาไว้ เพื่อเอาไว้ชดเชยจุดอ่อนที่องค์กรเล็กๆมีแต่องค์กรใหญ่ๆ ไม่มี คือคนน้อย และ 1 คนทำหลายอย่างมาก จนแยกหมวกไม่ถูก โดยเฉพาะราชการที่มีนโยบายมาก เปลี่ยนบ่อย คนต้องออกไปอบรม รับนโยบายบ่อย หลายเรื่องจนแทบไม่มีเวลาทำงาน ยิ่งคนน้อยก็ยิ่งหาช้างเผือกเด่นๆ รุ่นต่อๆไปมาเป็นตัวขับเคลื่อนงานสำคัญๆ ได้ยาก มิหนำซ้ำเรายังมีข้อจำกัดมากมายมหาศาล...ที่มีแรงเสียดทานต่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง·       ต้องบริหารจัดการเวลาดีๆ  ทั้งนี้สิ่งที่นำมาสอดแทรกแบบสร้างสรรค์ หรือเพื่อจัดการความรู้ก็จะมีการตระเตรียมให้เข้ากับปัญหาที่พบเจอในองค์กรขณะนั้นๆ หรือเข้ากับบรรยากาศที่ควรเฉลิมฉลองขณะนั้นๆ  เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด·       หลายครั้งที่เราเร่งรีบด้วยชั่วโมงการประชุมที่เร่งรัด ลืมดูคนและเข้าถึงใจคน จะเห็นความแตกต่างของบรรยากาศอย่างชัดเจน และกลับมาชลอเวลาเพื่อความสุข เพื่อการเข้าถึงใจคน เพื่อการมีส่วนร่วม  เพราะขืนทำไปก็จะรู้ว่าสาระที่ยัดเยียดให้นั้นบางครั้งไม่ได้อะไรเลยกับคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่ระดับทีมนำองค์กรที่มีไฟในการก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาอยู่แล้ว เราต้องการการเป็นเจ้าของ กับการมีส่วนร่วม และผู้ปฏิบัติเหล่านี้แหละ คือกำลังสำคัญของเรา เพราะ ระดับทีมนำเพียงไม่กี่คนกำลังจะหมดแรงจากการขับเคลื่อนองค์กรที่มีข้อจำกัดหลายๆ ด้านอย่างองค์กรของเราค่ะ... ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยมเยือนและให้ความคิดเห็นไว้ด้วย ถ้ามีสิ่งใดที่จะแนะนำ คนทำงานตัวเล็กๆแนวทางการทำงานแบบลูกทุ่งๆ คนนี้ (ตามประสาคนบ้านนอก...แถวชายขอบอยุธยาค่ะ)...น้องแหวว... ยินดีน้อมรับอย่างยิ่งค่ะ

ขออภัยนะคะพี่ sasinanda

ตอนนี้ยังงงๆ อยู่เลยค่ะ ด้วยความที่ยังเป็นมือใหม่ในการจัดการ blog เวลาพิมพ์แล้ว copy มาใส่ในบันทึกเนี่ย พอบันทึกเสร็จมันก็มาต่อกันยาว...เป็นพรืดแบบเนี้ย..งงๆ อยู่ ...และก็สงสารคนอ่านจังค่ะ...

สวัสดีค่ะ น้องพชรวรัตถ์ ขอปรบมือให้กับความคิดที่สร้างสรรคค่ะ  เยี่ยมจริงๆ

ซา-หวัด-ดี ค่ะป้า_แดง

ดีใจจังเจอป้าแดงอีกแล้ว...

  • ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจกัน..
  • บ้านแพรกเป็นอำเภอเล็กและ รพ.ก็เล็ก ๆ มีข้อจำกัดมาก บางครั้งมีข่าวว่าจะต้องถูกปิดเพระฤทธิ์ 30 บาท บุคลากรเสียขวัญหมดเลย..หรือข่าวว่าจะต้องรวมกับ รพ.ข้างเคียง เพราะ ผอ.เปลี่ยนบ่อย บางครั้งหาหมอมาอยู่ยาก..มาก..ก... เนื่องจากอยู่ชายขอบจังหวัด (แต่คนไข้มากค่ะเพราะมาจากเขตจังหวัดข้างเคียงถึง 3 จังหวัด / 3 รอยต่อคือลพบุรี-สระบุรี-อ่างทอง ) เงินก็ไม่มีต้องหาเงินทั้งจากการบริจาคและผ้าป่า...เจ้าหน้าที่เหนื่อยค่ะ เราจึงต้องสร้างขวัญ-กำลังใจให้บุคลากรบ่อยๆ เจอวิทยายุทธ์ อะไรก็ต้องนำมาทำเพราะคนก็จะเบื่อง่ายกับสิ่งเดิมๆ อยู่แล้ว...กิจกรรมแนว OD ต่างๆ ต้องประยุคมาใช้ได้ทุกๆ วาระ.. 
  • ปีหน้า แหววก็ต้องคิดว่าในส่วนนี้เนี่ย..จะปรับเปลี่ยนอย่างไรดี..? ป้าแดงมีข้อคิดเห็นหรืออยากแนะนำ แหววยินดีนะคะ บางทีแหววก็เริ่มจะคิดอะไรไม่ค่อยออกเหมือนกันค่ะ...
  • เดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ต้องจัดงานใหญ่อีก 1 งานคือ เทศกาล Rally CQI  (Banprak KM-CQI Rally Festival) ที่ต้องการให้ทุกหน่วยงานใน รพ.แสดงผลงานการพัฒนาคุณภาพ (CQI)  ณ หน่วยงาน และผู้เข้าร่วมเรียนรู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทุกคนของ รพ.บ้านแพรกและเครือข่ายบริการสุขภาพ เข้าไปเรียนรู้ในหน่วยงาน โดยใช้หลักการของกลุ่ม กิจกรรมแบบ Rally  ทำมาเป็นปี ที่ 2 ค่ะแต่จะปรับปรุงให้ดีกว่าปีที่แล้วขึ้นไปอีก และเชิญเจ้าหน้าที่ รพ. จาก 16 อำเภอ มาเข้ากลุ่ม Rally และร่วมแลกเปลี่ยนกันด้วย (จัดวันที่ 19-22 มิ.ย.นี้เองค่ะ) เสร็จงานแล้วจะมาลงบันทึกให้แลกเปลี่ยนกันนะคะ....
  • แล้วเจอกันใหม่นะคะ ป้า_แดง..บ๊าย..บาย...ค่ะ

 ระดับทีมนำเพียงไม่กี่คนกำลังจะหมดแรงจากการขับเคลื่อนองค์กรที่มีข้อจำกัดหลายๆ ด้านอย่างองค์กรของเราค่ะ... 

สวัสดีค่ะ

 คนหนึ่งมีหมวกหลายใบไปก็ไม่ดีนะคะ อย่างมากไม่ควรเกิน 2 เพราะไม่รู้จะทำอะไก่อนหลัง เวลาก็มีคนละ 24 ช.ม.เท่าๆกัน และคนเรา จะทำแต่งานอย่างเดียวไม่ได้ ครอบครัวมี พ่อแม่มี ที่ต้องเอาใจใส่

สรุป คือ คงต้องทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่เร่งมาก คงจะเหนื่อยมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ sasinanda

  • ตอบช้าไปหน่อยนะคะ...เพราะมัวแต่ไปยุ่งอยู่กับงาน นี่ก็..แว๊บมาเล็กน้อย ช่วงนี้ยุ่งมากๆ จนเครียด ชีวิตเสียสมดุลซะแล้ว..
  • ขอบคุณนะคะ ...รู้สึกถึงกำลังใจจาก พี่ sasinanda ค่ะ
  • ชีวิตการทำงานของแหวว สลับไปสลับมาระหว่าง ปล่อยวาง (ทำได้เท่าที่ทำ) กับการเร่ง..ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับสิ่งอื่น ผู้อื่น และองค์กร มากๆ ...บางครั้งต้องอดทนมากๆเลยค่ะ ...อนิจจัง..ของธรรมชาติ..

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ...แหววจะคอยเตือนตัวเองเพื่อสุขภาวะ ที่จะได้มาเยี่ยมเยือนเราบ่อยๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท