เวที ลปรร.นักส่งเสริมฯ เดือน พ.ค. 50 (สายที่1)


        14 พฤษภาคม  2550  วันประชุม-สัมมนานักส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ของสายที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง,ไทรงาม,ลานกระบือ.กิ่ง อ.โกสัมพีนคร และสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย(เจ้าภาพ) 

          ในปี 2550 นี้ ได้กำหนดการสัมมนาเดือนเว้นเดือน  ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2   สำหรับรูปแบบของการสัมมนา ก็ได้ใช้รูปแบบของการสัมมนาเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา  ในการสัมมนาของสายที่ 1 ครั้งนี้ มีกิจกรรมและบรรยากาศเป็นอย่างไรบ้างเชิญติดตามอ่านได้เลยครับ

     กิจกรรมที่ 1  การชี้แจงข้อราชการและงานที่เร่งด่วน

         เริ่มต้นในช่วงเช้า   เป็นการชี้แจงข้อราชการต่างๆ จากทุกกลุ่มฝ่าย ซึ่งก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ ไม่สามารถตัดออกได้ทั้งหมด

  
บรรยากาศของการชี้แจงข้อราชการต่างๆ

 


     กิจกรรมที่ 2 การ ลปรร.เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร

          ในวันนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตร ของนักวิชาการ  2 เรื่อง คือ

  • การเพิ่มผลผลผลิตมันสำปะหลัง  โดยคุณประยงค์  จินดารัตน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัด
  • การเลี้ยงจิ้งหรีด   จากประสบการณ์ตรงของคุณประสิทธิ์  อุทธา  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอพรานกระต่าย

 


     กิจกรรมที่ 3 การแบ่งกลุ่มระดมความคิดในการทำงานร่วมกัน

          ในวันนี้นักส่งเสริมการเกษตรที่ร่วมสัมมนา ได้มีการแบ่งกลุ่มตามอำเภอ  เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหาแนวทางในการทำงานร่วมกัน ใน 4 ประเด็น คือ

  1. ระดับความก้าวหน้าในการบูรณาการโครงการวิสาหกิจชุมชน,อาหารปลอดภัย และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของแต่ละอำเภอ
  2. ปัญหาและอุปสรรค  และการแก้ไขปัญหา จาการทำงานจากข้อ 1
  3. ข้อเสนอแนะในการทำงานเชิงบูรณาการ และการนำ KM มาปรับใช้ในงานมีอะไรบ้าง
  4. แนวทางในการพัฒนามันสำปะหลังของแต่ละอำเภอ ให้ได้ผลผลิตไร่ละ 5 ตัน จะทำอย่างไร (หลังจากได้เรียนรู้การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแล้ว)   

     กิจกรรมที่ 4 การศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

          ช่วงบ่ายเป็นการศึกษาดูงานในพื้นที่ เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ที่ทำการกำนันตำบลพรานกระต่าย  เพื่อเรียนรู้ความเป็นมา  และกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร  และการดำเนินชีวิต/ทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง    เป็นงานที่ชาวบ้านได้ดำเนินการเอง และจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้  มีเกษตรกรและผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้และศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ซึ่งแต่ละอำเภอจะต้องกลับไปดำเนินการต่อไป


นักวิชาการฯ เข้าไปเรียนรู้จากเกษตรกร


ดูงานจากการปฏิบัติจริงและประสบความสำเร็จ


บ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาไหล


บ่อเลี้ยงปลาไหล

          แปลงเรียนรู้ในครั้งนี้ เป็นแปลงของเกษตรกร ที่ได้นำแนวทางการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้  มีกิจกรรมมากมาย เช่น การเพาะเห็ด  การเลี้ยงปลาหมอ  การเลี้ยงปลาไหล  การเลี้ยงไก่ชน การปลูกผัก  ฯลฯ  สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 500 บาท 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก 

หมายเลขบันทึก: 96597เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และประสบความสำเร็จ นี้ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีในตำรา และทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานได้มากครับ
  • รายงานละเอียดดีมากครับ
  • มายินดีกับความก้าวหน้าของเกษตรกรตัวจริงครับ
  • เดี๋ยวนี้ "ความรู้จากการปฏิบัติ" รุดหน้าไปมากเลย

เรียน คุณบอย สหเวช และอาจารย์ beeman

  • การเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติของเกษตรกรนั้น มีมากมายจริงๆ เลยนะครับ
  • เวที่ที่เราจัดขึ้น เป็นการสื่อให้นักวิชาการได้เห็นกระบวนการเรียนรู้ และตัวความรู้ที่มีทั้งชัดแจ้งและฝังลึก  เพื่อที่จะได้นำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร  
  • ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองมากนะครับที่แวะมา ลปรร. และให้กำลังใจ
  • ขอบคุณที่ นำมาให้อ่าน 
  • ของจังหวัดผมจะดำเนินการ วันที่ 18 นี้
  • จะบันทึกมา ลปรร.ดูครับ

เรียน พี่ชัยพรหนุ่มเมืองร้อยเกาะ

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.
  • จะรออ่านบันทึกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท