แอบดูงานเด็กเด็ก ที่ชลพฤกษ์ (6) เด็กเล็กที่พะเยา


ที่พะเยา นี่ก็จะเป็นลักษณะของการดำเนินงานตั้งต้นด้วยการตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

 

หมออ้อย เล่าให้ฟังค่ะ ว่า ที่พะเยาทำงานอะไรในเรื่องของเด็กเล็ก

  • ปีแรกเน้นเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลเพื่อไปพัฒนาเชิงคุณภาพ ปี 51
  • งานเชิงคุณภาพเราต้องการภาพการทำงานของเครือข่ายในระดับจังหวัดในแต่ละพื้นที่เป็นยังไง จะสร้างและผลักดันการดำเนินงานระดับจังหวัดได้อย่างไร
  • เชิงปริมาณ บูรณาการกับงานที่ทำอยู่ เพราะว่าโครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ เป็นงานที่ฝ่ายทันตฯ รับผิดชอบ เป็นตัวประสานหลัก ทั้ง ฝ่ายทันตฯ สสจ. และ ฝ่ายทันตฯ รพช.
  • เราเขียนโครงการ support คือ โครงการพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ มาทำควบคู่กันไป
  • ในเชิงคุณภาพ เราต้องการรู้ว่า ขณะนี้ในระดับจังหวัด สิ่งที่ทำคือ ดูว่า ตอนนี้ สสจ. มีใครทำอะไรในศูนย์เด็กบ้าง และทำอย่างไร ก็เริ่มจากคนใกล้ตัว
  • พี่ในฝ่าย สัมภาษณ์พี่แวว ฝ่ายทันตฯ ... สิ่งที่ดำเนินการมาโดยตลอด คือ สนับสนุนงบฯ ผู้ดูแลเด็ก ที่นี่ได้รับการอบรมเรื่องทันตสุขภาพค่อนข้างเยอะ เขาจึงมีพื้นฐานตรงนี้อยู่มาก
  • พี่แหม่มรับผิดชอบงานเด็กก่อนวัยเรียน เขาดูแลหญิงมีครรภ์ และเด็กใน WBC deal กับ อสม. เป็นหลัก
  • น้องจากพัฒนาสังคมฯ ดูแลเฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน ของ อปท. ไม่ได้ดูแล จะสนับสนุน และตรวจเยี่ยม ตอนนี้ศูนย์เด็ก อยู่ อบต. แล้ว การสนับสนุนจริงจัง จึงค่อนข้างน้อย สิ่งที่เขาทำอยู่ สนับสนุนการทำงานชมรมผู้ดูแลเด็กระดับจังหวัด สนับสนุนวิชาการ การเขียนโครงการ
  • มีท้องถิ่นจังหวัดเป็นตัวประสานงาน มีหน้าที่สนับสนุน กำกับการทำงานของ อปท. ให้สามารถทำแผนฯ ตามภารกิจตามกฎหมายเท่านั้น
  • ส่วนของ อปท. เราทราบมาก่อนว่า สิ่งที่เขาสนับสนุน คือ งบประมาณ อาหารเด็ก แต่ทำมากน้อยแตกต่างกัน
  • ทำความเข้าใจลักษณะของ อปท. ซึ่งประกอบด้วย อบจ. เทศบาล ทั้งหมดมีความเป็นเอกเทศ ไม่ข้องเกี่ยวกับในเรื่องของการกำกับดูแล มีอำนาจในการจัดการท้องถิ่น ตามกฎหมายกำหนด ก็ทำมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เขาเห็นความสำคัญมั๊ย
  • พอรู้ว่ามีใคร อยู่ที่ไหนแล้ว ก็อยากให้คนที่ทำงานกับศูนย์เด็ก ได้รู้ด้วย ก็จัดประชุมแลกเปลี่ยนกัน และดึงท้องถิ่นเข้ามาช่วยด้วย
  • เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของการทำงาน ในภาพรวมของศูนย์เด็ก และเข้าใจด้วยว่า ใคร ทำอะไร ก็ทำให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น เป็นเครือข่ายผู้บริหาร สร้างความเข้าใจ และความรู้สึกที่ดีต่อกัน
  • ภาพรวมของเครือข่ายที่เราได้จากการสัมภาษณ์ครั้งแรก ทำให้เราเข้าใจเครือข่ายมากขึ้น
  • องค์กรเอกชนที่เข้ามามีส่วนในการสนับสนุนก็จะมีเยอะแยะมากมาย แต่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เช่น ช่วยเหลือกลุ่มเด็กดอย กลุ่มเด็กติดเชื้อ เป็นต้น มีกองทุนพระเทพฯ เป็นกองทุนที่เก็บจากเด็กวันละ 1 บาท
  • ตอนนี้เราเข้าใจกันมากขึ้น
  • การสนับสนุนจาก อปท. เป็นสิ่งที่สำคัญในลำดับต่อไป เช่น หลังคา มุ้งลวด แต่จะทำยังไงให้ อปท. สนับสนุนเขา
  • เรามองว่า น่าจะมีเครือข่ายบางประการ ช่วยให้เขาสนับสนุน เขาอาจมีองค์ความรู้ไม่พอ
  • ทำให้มาคิดว่า น่าจะมีหน่วยงานกลางที่จะมาประสานให้เขามีความรู้เท่าๆ กัน เครือข่าย หรือทีมงานตรงนี้น่าจะมีส่วนของการย่อยข้อมูลข่าวสารอะไร ก่อนจะลงไปสู่ผู้ปฏิบัติ ช่วยให้การทำงานของศูนย์เด็กเป็นไปอย่างราบรื่น และมีทิศทางเหมือนกันทั้งจังหวัด เราก็อยากทำเป็นเรื่องเป็นราว
  • ที่ประชุมก็เลยกำหนดเครือข่ายศูนย์เด็กเล็กขึ้นมา มีวัตถุประสงค์คือ เป็นเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อให้มีการสนับสนุนเด็กอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการร่วมกัน มีกรรมการมาร่วมกันหลายหน่วยงานมาก

ที่พะเยา นี่ก็จะเป็นลักษณะของการดำเนินงานตั้งต้นด้วยการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 123100เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
หมออ้อยเล่าเรื่องเครือข่าย อปท. ได้ถูกใจผู้เข้าร่วมสัมมนามากค่ะ  ทำให้หลายคนเข้าใจ และรู้จักตัวตน โครงสร้างของ อปท.มากขึ้น  ต้องถือว่าตอบโจทย์ การศึกษาเรื่อง Network Mapping  ได้ดีมากค่ะ
  • ต้องบอกว่าหมออ้อย ดึงเทคนิคการตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้ได้ดีมากเลยนะคะ เจ๊ แตงโม
  • งานนี้ พัฒนา ก้าวไกลแน่นอนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท