Disclipline (2)


ตามหาวินัยกันต่อ

วิธีการกำหนดวินัย

การกำหนดวินัยในการทำงานนั้น นายจ้างอาจกำหนดไว้ล่วงหน้าหรือกำหนดขึ้นภายหลังก็ได้

            1.การกำหนดไว้ล่วงหน้า หมายถึง กรณีที่นายจ้างได้กำหนดวินัยในการทำงานไว้แต่แรกเมื่อเริ่มก่อตั้งสถานประกอบกิการนั้น

2.การกำหนดขึ้นภายหลัง หมายถึง กรณีที่นายจ้างเห็นว่าความประพฤติหรือการกระทำใดที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานประกอบกิจการนั้นมาแล้วเพื่อป้องกันมิให้พฤติกรรมหรือการกระทำนั้นเกิดขึ้นซ้ำอีก นายจ้างก็จะกำหนดข้อห้ามและข้อต้องปฏิบัติเป็นวินัยในการทำงานเพิ่มขึ้น

ประเภทของวินัย

            วินัยในการทำงานอาจแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ  คือ วินัยพื้นฐาน วินัยเฉพาะตำแหน่ง และวินัยเฉพาะกิจการ

          1. วินัยพื้นฐาน หมายถึง ข้อควรประพฤติหรือข้อควรละเว้น สำหรับลูกจ้างที่ดีทั่วไปซึ่งวินัยประเภทนี้ใช้ได้กับสถานประกอบกิจการทุกประเภท เช่น การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคีในหมู่คณะ การเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

        2. วินัยเฉพาะตำแหน่ง หมายถึง ข้อควรประพฤติหรือข้อควรละเว้นซึ่งกำหนดไว้เป็นพิเศษสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้ที่หนึ่งโดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่อื่น

       3. วินัยเฉพาะกิจการ ข้อควรประพฤติหรือข้อควรละเว้นสำหรับลูกจ้างเฉพาะกิจการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากกิจการอื่น

หมายเลขบันทึก: 123098เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท