KM กับการอ่านบล็อกอย่างตั้งใจ (Deep reading)


หนึ่งทักษะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการจัดการความรู้ คือ การฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ใช้ตนเองเป็นที่ตั้ง (Deep listening)

เวลาเข้ากลุ่มแล้วพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทักษะ Deep listening เป็นทักษะที่ยากอยู่แล้ว ต้องฝึกอย่างมากค่ะ ดิฉันเองก็พยายามฝึกอยู่อย่างมากค่ะ

หนึ่งปีที่ได้รับรู้เรื่องราวของการจัดการความรู้จาก สคส. และ เรื่องเล่าใน GotoKnow รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการจัดการความรู้ ดิฉันมีข้อสังเกตว่า

คนที่ยังไม่รู้จักกับการจัดการความรู้ หรือ คนที่กำลังศึกษาเรื่องการจัดการความรู้ และเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถอยู่เต็มตัวเมื่อต้องมาใช้ Deep listening จะมีอาการขัดใจค่ะ เพราะตั้งตนเป็นหลักยึด ไม่พยายามฟังเหตุผลหรือสถานการณ์รอบๆ เรื่องเล่าที่ผู้เล่ากำลังเล่าอยู่ ยิ่งประสบการณ์มาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งตั้งแง่กับสิ่งที่ฟังหากสิ่งนั้นเป็นเรื่องในบริบทที่ตนเป็นผู้รู้

ส่วนคนที่ไม่มีความรู้ และไม่ใฝ่รู้ ก็แย่เข้าไปอีกค่ะ คือ ความตั้งใจฟังจะน้อยมาก เพราะด้วยข้อจำกัดของมนุษย์เราในเรื่องความตั้งใจ (Attention) ที่มีอยู่อย่างจำกัด บวกกับความสนใจ (Interest) ในเรื่องเล่าที่มีอยู่น้อยเช่นกัน คนเหล่านี้ก็คือกลุ่มคนที่นั่งคุยเรื่องสับเพเหระ ในขณะที่ผู้พูดกำลังถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ

ที่แย่กว่านี้มีอีกค่ะ ซึ่งดิฉันก็เป็นเองด้วยค่ะในบางครั้ง (เวลาเหนื่อยหรืออารมณ์ไม่ดี) และจากประสบการณ์ในการดูแลชุมชน GotoKnow ทำให้เข้าใจว่า ทักษะ Deep listening  ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับอ่านบล็อกน่าจะเรียกว่า Deep reading เป็นทักษะที่ยากกว่าฟังค่ะ

การอ่านบล็อกอย่างตั้งใจ (Deep reading) สำคัญมากๆ ค่ะ หลายๆ ท่านเขียนบล็อกดีทีเดียว แต่ผู้อ่านมักจะอ่านไม่ละเอียด เรียกได้ว่า อ่านผ่านๆ หรือ skim และ scan นั่นแหละค่ะ แล้วก็จับเอาประเด็นที่กระทบใจตนเองมาเป็นประเด็นใหญ่ ว่าแล้วก็แสดงความคิดเห็นอย่างถึงพริกถึงขิงโดยเอาความรู้สึกนึกคิดเหตุผลตนเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งก็นำไปสู่การเข้าใจผิดค่ะ เพราะผู้อ่านไม่พยายามอ่านเนื้อหาให้หมด ไม่พยายามอ่านอย่างตั้งใจ นั่นเอง

และสุดท้ายนักเขียนดีๆ ก็ลาจากไปเพราะความเซ็ง แล้วก็คงจะนั่งบ่นกับตนเองว่า "ก็เขียนอธิบายไว้ให้แล้วนี่นะ ทำไมถึงไม่อ่านกัน เอาแต่จะว่ากันท่าเดียว" :(

 

หมายเลขบันทึก: 57322เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ  ดร.จันทวรรณ

  • เป็นบันทึกที่ดีมากค่ะ 
  • เขียนแทนใจครูอ้อยด้วยค่ะ 
  • อ่านๆไม่ละเอียด ก็ไม่ว่ากัน  ไม่เป็นไร  รอคนอ่านที่ดีก็ถมไปค่ะ 
  • ถือว่าเราโชคไม่ดีก็ได้ค่ะ

ขอบคุณครูอ้อยค่ะที่ร่วมเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คงต้องช่วยกันบอกกล่าวเรื่อง การอ่านอย่างตั้งใจและไม่นำตนเองเป็นที่ตั้ง ค่ะ จะได้รับคมสมองแบบแจ่มแจ๋ว และ happy กันทั้งผู้รับและผู้ให้ค่ะ :)

  • ต้องขออนุญาตย้อนเรียนถามว่า  นำตนเองเป็นที่ตั้ง  หมายถึง  แบบไหน ใช่ที่ครูอ้อยทำหรือเปล่าคะ
ในวงของผู้ให้การปรึกษา ซึ่งเรามักจะใช้ทักษะการฟังเป็นหลัก...ก็จะพบว่าการฟังเป็นสิ่งที่ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลยโดยเฉพาะการฟังอย่างตั้งใจและเป็นแบบReflective  listeningเป็นสิ่งที่ต้องฝึกและปรับใจให้เป็นกลาง....ส่วนตัวเองก็รู้สึกเห็นด้วยกับอจ.ค่ะในประเด็นที่อจ.ได้พูดถึงเกี่ยวกับการอ่านบล็อกอย่างตั้งใจและจับนัยยะของสิ่งที่อยู่แฝงด้านในของบริบทข้อความ..เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งสมาธิและการตระหนักรู้ในอารมณ์ของตนเหมือนๆกับการฟังอย่างตั้งใจเลยทีเดียว...เฮ้อ!อจ.คะ..เผลอตอบตามมุมและความคุ้นชินของตัวเองอีกแล้ว...

แล้วถ้าเป็นพวกสมาธิสั้นอย่างแป้นล่ะคะ เพราะถ้ามันยาวมากๆก็แบบว่าขี้เกียจอ่านอะค่ะ เป็นพวกไม่ค่อยใฝ่รู้ 55555 (ว้าแย่จัง) อย่างงี้ต้องลองฝึกฝนดู ขอบคุณนะคร้าบ เป็นคำแนะนำที่ดีทีเดียว

ขอบคุณค่ะ ปกติเป็นคนที่ชอบอ่านมาก อะไรก็ได้อ่านหมด แล้วก็ชอบเขียนด้วยค่ะ แต่บางครั้งก็อดที่จะนึกไม่ได้ว่า คนอ่านจะรำคาญ หรือ เบื่อขี้เกียจอ่านหรือป่าวเวลาเราเขียน เพราะเราไม่ได้มีความรู้ถึงขนาดจะบอกหรือสอนใครได้ มีแต่ประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กับหลาย ๆ ท่าน เพียงแต่อยู่ในสถานที่ที่ต่างกันเท่านั้นเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท