วิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


วิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

         ผมเป็นกรรมการ Board of Trustee ของโครงการ RCSD ของสังคมศาสตร์ มช. มา 2 – 3 ปีแล้ว   แต่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมน้อยครั้ง   การประชุมครั้งที่แล้วจัดที่เวียดนาม  เมื่อเดือน เม.ย.48   ผมก็ไปร่วมประชุมไม่ได้อีก   เมื่อได้รับรายงานการประชุมครั้งที่แล้วจึงเกิดความคิดว่าผมน่าจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการ RCSD ได้โดยการบันทึกความคิดลงบล็อก


          RCSD ย่อมาจาก Regional Center for Social Science and Sustainable Development   ผู้สนใจหารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ http://rcrd.soc.cmu.ac.th/


          โครงการ RCSD  เป็นกิจกรรมหรือหน่วยงานที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับภูมิภาค “upper mainland Southeast Asia” เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย,   วงการวิชาการสังคมศาสตร์ไทย,   มช. และคณะสังคมศาสตร์ มช.


          เป็นโครงการสร้างศาสตร์ด้านสังคม   และด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยส่งเสริมการเข้าไปทำกิจกรรมในสังคม/ชุมชน


          เป็นโครงการสร้างสัมพันธภาพทางวิชาการขึ้นในอนุภูมิภาค   โดยมีกิจกรรม “สร้างความรู้” (วิจัย) ที่มีคุณภาพสูง


          ผมติดใจคำว่า sustainable development หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน   ว่ามีความหมายว่าอย่างไรได้บ้าง   ผมคิดว่ามีหลายความหมายมาก   แล้วแต่ว่าจะมองจากบริบทใด   ผมมองว่า RCSD น่าจะหาทางทำความเข้าใจ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” จากบริบทที่จะก่อผลกระทบสูง  เช่น  จากบริบทของ
·       คนส่วนใหญ่
·       การสร้างจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) เนื่องจากผมคิดว่าจิตสำนึกที่เรายึดถือกันอยู่นี้   ไม่นำไปสู่การ   พัฒนาที่ยั่งยืน
·       สังคมฐานความรู้
·       การเรียนรู้ตลอดชีวิต
·       การจัดการ “ปัญญาของสังคม/ชุมชน”


        มองจากมุมของผม   ซึ่งกำลังส่งเสริม KM อยู่   น่าจะมีมุมมองของการนำเอา KM ไปหนุนเสริมให้เกิด sustainable development 


                                                                                       วิจารณ์  พานิช
                                                                                        22 มิ.ย.48

คำสำคัญ (Tags): #sustainable#development
หมายเลขบันทึก: 1190เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2005 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมไ้ด้ยินคำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน มานาน แต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก
ว่าหมายถึงอะไรแน่ๆ ชัดๆ

ที่รู้แน่ๆ คือ การพัฒนาในอดีต ไม่ยั่งยืน  โดยเฉพาะพัฒนาแล้วทำลายป่าไม้
และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ (น้ำ, อากาศ, น้ำมัน, ฯลฯ) ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป
โลกคงไม่น่าอยู่ หรืออาจถึงขั้นอยู่ไม่ได้ทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้ไม่ยั่งยืน ก็เพราะกลไกที่การหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยไป
กระทบ ทำลาย ผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยไม่มีใครทำหน้าที่เป็นเจ้าของ
มาคอยห้ามปราม  เช่น ปล่อยมลภาวะลงน้ำ ที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วม แต่ใคร
จะมาเป็นตัวแทนเป็นเจ้าของได้?  พอทำอย่างนี้มากๆ เข้า  ของทุกอย่างที่เป็น
ของส่วนรวม ก็จะเสื่อมสลายหมด  เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

ทางแก้ ก็คงมีหลายทาง เช่น หากลไกสร้างความรับผิดชอบ ใครทำใครจ่าย
มีกลไกเชิงสังคม มาคอยห้ามในกรณีที่ไม่สามารถมีวิธีรับผิดชอบได้
สุดท้ายก็คือให้ ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้บริโภคสินค้า ได้ตระหนักว่า ตนมีส่วนร่วม
สร้างปัญหานั้นอยู่ อย่างอ้อมๆ  ก็จะลดการใช้สินค้าที่สร้างปัญหาลง (ถ้ามีจิตใจ
สาธารณะอยู่บ้าง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท