การต่อต้าน Knowledge Sharing
ความก้าวหน้าขององค์กรเป็นที่ปราถนาของทุกคน เพราะหมายถึงประชาชนในองค์กรจะได้รับสิ่งดีๆตามมาด้วย ทำอย่างไรจึงเราจะประสบความสำเร็จดังกล่าว ถ้ามองให้ดีก็อาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเสียทีเดียว ทุกๆองค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ต้องสร้างยุทธวิธี สร้างคน สร้างวัฒนธรรมและรูปแบบของตนเองขึ้นมาใช้ ต้องลองปฏิบัติ ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้ จนค้นพบสิ่งที่ต้องการ นี่คือรูปแบบของการสร้าง สิ่งที่ต้องทำต่อไปอีก คือการคงอยู่ การรักษาสืบทอดให้มีสิ่งเหล่านั้นไว้ตลอดไป หลายๆองค์กรมีวิธีที่จะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้เอาไว้ไม่ให้สูญหายไปกับบุคคล เพราะหากไม่รักษาความรู้ หรือทักษะเหล่านั้นเอาไว้ จะเกิดผลกระทบอย่างมากสูญเสียเวลาในการย้อนกลับอีก แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกคนในองค์กรจะยอมรับกับการพัฒนาในรูปแบบนี้ไปเสียทุกคน บางคนแสดงออกให้เห็นว่าไม่ยอมรับหรืออาการต่อต้านอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ความไม่ลงรอยกันของคน ต่างคนต่างคิดไปคนละทาง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น การขาดความมั่นใจในถานะผู้ถ่ายทอด ความลังเลและกังวลกับผลที่จะตามมา การไม่ยอมรับและประเมินผู้อื่นให้ต่ำกว่า นอกจากนี้ที่เห็นกันบ่อยๆก็คือ กลัวเสียหน้าเสียศักดิ์ศรี โดยเฉพาะในรายที่มีอาวุโสกว่า
แนวทางแก้ไข คือเน้นการจัดทีมงานในบางงานให้ทุกดนมีส่วนรับผิดชอบ มีการกระจายไปสร้างกลุ่มงานใหม่ในเวลาที่เหมาะสมสลับกันไป มีกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน ความขัดแย้งก็จะลดลง ในถานะผู้ถ่ายทอดต้องพยายามมองโลกในแง่ดี การถ่ายทอดความรู้เป็นเรื่องดีเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ มองให้เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนให้การยอมรับ ในเรื่องประสบการณ์ด้านการงานผู้ที่ผ่านงานมามากหลายด้านหลายปี ก็ควรจะลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้มาใหม่ดูบ้างอาจได้จะประโยชน์บางส่วน เกิดเป็นแนวความรู้ใหม่ ขึ้นมาทดแทนส่วนที่ล้าหลังได้ และที่จะขาดเสียมิได้คือ นโยบายในด้านนี้ต้องชัดเจน ส่งเสริมการกระทำจากระดับล่าง ทำแล้วผลดีจะเป็นอย่างไร ยกย่องผู้ดำเนินการ และตัวผู้บริหารเองให้การสนับสนุน เป็นผู้ประสานงานทุกโอกาส รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา ความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายจะช่วยผลักดันวงล้อ แห่งการเรียนรู้ให้อยู่คู่กับองค์กรตลอดไป...