บทเรียนจาก ITRI เบื้องหลังความสำเร็จของไต้หวัน (3)


การรู้จักลูกค้าของเราเท่านั้นไม่พอ เราต้องรู้จักไปถึงลูกค้าของลูกค้าด้วย

Dr. Kao ผู้อาวุโสซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้นักวิจัยใน ITRI เป็นคนที่มีบุคลิกยิ้มแย้ม ละมุนละไม คล้าย ๆ กับท่านอาจารย์ (รัฐมนตรี) ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ถ้ามีการโหวตก็คงเป็นคนหนึ่งที่น่าจะได้รับคะแนนสูงสุดในบรรดาวิทยากร เขาผู้นี้ได้ให้คำถามเชิงปรัชญาที่ลึกกว่าและเป็นสากลกว่า NSDB ด้วย นั่นคือให้เรา...

1.   “Know who you are.”

2.   “Know what others want from you.”

สองคำถามนี้ องค์กรวิจัยเชิงอุตสาหกรรมควรจะต้องตอบตัวเองให้ได้โดยเร็ว

ข้อคิดหนึ่งก็คือ การรู้จักลูกค้าของเราเท่านั้นไม่พอ เราต้องรู้จักไปถึงลูกค้าของลูกค้าด้วย หรือบางทีก็ต้องรู้จักแม่ของลูกค้า เมียของลูกค้า เป็นต้น (เช่นกรณีผ้าอ้อมเด็ก คนซื้อไม่ใช่คนใช้) กลไก NSDB จะช่วยให้เราเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการเข้าไปดูความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

กลไกเสริมในเรื่องนี้ที่จำเป็นต้องมีคือ market intelligence, industry analysis มิฉะนั้นผู้วิจัยจะทำการบ้านไม่ถูกว่า จะเอาอะไรไปคุยกับลูกค้า หรือแนะนำลูกค้าอย่างไร ในจังหวะเวลาไหน

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะมีประโยชน์หากนำมาใช้กับองค์กรวิจัยของไทยได้ คือการต้องมี Control Gate ในแต่ละขั้นตอนของการบริหารโครงการ/โปรแกรม เมื่อผ่าน gate ที่ 1 จึงจะไปถึง gate ที่ 2 ฯลฯ 

นอกจาก Control Gate แล้ว ยังต้องกำหนดให้มี Decision Check Point (DCP) เืพื่อให้แน่ใจว่าเกิดการตัดสินใจเมื่อต้องตัดสินใจ

จะว่าไป ทั้งสองกลไกนี้เป็นส่วนหนึ่งของ technology roadmap (TRM) อยู่แล้ว

(มีต่อ)  

หมายเลขบันทึก: 60456เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท