007: ขอชื่นชมการบันทึกความปวดของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์


คณะแพทยศาสตร์ มอ. ได้พัฒนาระบบ IT มาใช้ในการบริการรักษาพยาบาล รวมทั้งมีการบันทึกความปวดได้เป็นอย่างดี ทำให้การดูแลผู้ป่วยดีขึ้นและสะดวกขึ้น
เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมบรรยายเรื่องการระงับปวดหลังผ่าตัด ที่ มอ. หลังเลิกประชุมผมมีเวลาเล็กน้อยจึงขอให้ อ. ลักษมี (อ. เป็นหัวหน้าหน่วยระงับปวด) พาไป round ward ด้วย เพราะได้ข่าวว่าระบบ IT ที่ มอ. เยี่ยมมาก  สิ่งที่ผมพบเห็นก็คือการสั่งยา และการบันทึกข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการบันทึกความปวดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมประทับใจมาก เพราะ  มอ. เป็น ร.พ. ของรัฐ (ถ้าเป็น ร.พ. เอกชน ผมจะไม่แปลกใจเลย)  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะนโยบายในการบริหารที่ดีนั่นเอง (มีระบบ IT ที่ดี ผู้บริหารเองก็สะดวกสบายไปด้วย)  ปกติแล้ว การผลักดันให้มีการบันทึกความปวดในฟอร์มปรอท ตามที่หลายโรงพยาบาลทำอยู่นั้น (รวมทั้ง ร.พ. ศรีนครินทร์ด้วย) ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากอยู่แล้ว แต่ที่ มอ. สามารถนำระบบ IT มาประยุกต์ใช้ จนสามารถทำการบันทึกระดับความปวดในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้มีความสะดวกต่อการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก การรักษาอาการปวดก็เหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ คือต้องมีการประเมินและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประเมินและบันทึกความปวดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เรียกว่าเป็นบันไดก้าวแรกในการพัฒนาด้านการดูแลเรื่องความปวดก็ว่าได้  เพราะการบันทึกจะทำให้อาการปวดของผู้ป่วยได้รับมองเห็นอย่างชัดเจนขึ้นจากเดิมที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
คำสำคัญ (Tags): #ความปวด#pain
หมายเลขบันทึก: 57640เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ข้อดีของ IT ครับอาจารย์หมอ
  • ผมชอบอ่านหมอชาวบ้าน ของคุณหมอประเวศตอนนี้ใครจะไปรู้ว่าหมอชาวบ้านมาอยู่ใน gotoknow แล้ว
  • ขอบคุณมากครับที่ animation มีประโยชน์กับอาจารย์หมอ
  • ใช่ ครับ IT มีประโยชน์มาก (หากใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์ด้วย)
  • ผมเห็นที่ต่างประเทศแล้วก็ได้แต่ฝันว่า ร.พ.ที่ผมทำงานอยู่คงจะมีใช้บ้าง แต่ดูท่าแล้วคงจะยาก
  • เรื่อง knowledge transfer ระหว่างผู้ให้ความรู้ กับ ผู้รับความรู้ นั้นเป็นเรื่องยาว ก่อนเริ่มเขียน blog ผมได้ลองสำรวจใน gotoknow ว่ามีใครเขียนเรื่องความปวดบ้าง ก็พบว่ามีน้อยมาก แสดงว่าผมมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีผู้อ่านเลย แต่มองมีมุมหนึ่งก็คืออาจจะมีคนอ่านแต่เป็นเพราะไม่มีใครเขียนก็ได้ สุดท้ายผมก็ตัดสินใจ...เขียน
  • ต้องขอบคุณ อ. ขจิต และทุกท่านที่แวะมาให้กำลังใจ

 

มาขอบคุณและชื่นใจในคำชม แทนชาวสงขลานครินทร์ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

  • ของดีต้องช่วย ปชส อยู่แล้ว
  • ขอบคุณเช่นเดียวกันที่แวะมาทักทาย
  • ที่บำราศฯเราก็กำลังพัฒนาและผลักดันให้มีการบันทึกความปวดในฟอร์มปรอทให้เป็นสัญญาณชีพที่ 5 ค่ะขณะนี้มีหอผู้ป่วยนำร่องอยู่ 2 ที่ ในครั้งหน้าคงมีเรื่องมาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์อีกครั้งค่ะ 
  • การบันทึกความปวดให้มองเห็นได้ เป็นบันไดก้าวแรกเท่านั้น
  • ลองทำดู แล้วจะเห็นว่ามีเรื่องราวอีกมากที่จะ พัฒนาการดูแลผู้ป่วย
  • รอฟังและ แลกเปลี่ยน ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท